Sunday, May 10, 2009

การศึกษาแบบ Stupid Choice

ความจริงเรื่องของการศึกษาโดยเฉพาะในยุคปฏิรูปการศึกษา  เราทุกคนต่างสนใจกันทั้งนั้น  ทั้งนี้เพราะว่าเป็นสิ่งใกล้ตัว  อาทิ         
  - อาจจะมีลูก-หลาน-พี่-น้อง เรียนหนังสืออยู่       
  - อาจจะมีเพื่อนเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่       
  - ได้มีโอกาสเข้าไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนหนังสือในสถาบันการศึกษา       
 กระแสความสนใจของประชาชนอย่างพวกเราไม่ได้สนใจหรอบครับว่า  ใครจะเป็น เสนาบดีว่าการด้านการศึกษา  แต่สิ่งที่สนใจมากกว่านั้นคือ         
 (1)  ทำไมคนส่วนใหญ่จึงคิดว่า  การปฏิรูปการศึกษาที่ไปได้ล่าช้าหรือไม่ค่อยประสบความสำเร็จเป็นเพราะครูหรืออาจารย์ที่สอน  หรือวิธีการสอนของครู        
 (2)  ผู้เขียนอยากให้มองในมิติด้านอื่นของการปฏิรูปการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา เช่น          
  มี พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่      
  มีองค์กรทางการศึกษาเกิดขึ้นใหม่ตามกฏหมายการศึกษา      
  และความสำเร็จสุดท้ายคือ การวางกลยุทธทางการตลาดโดยเฉพาะ
หยิบยกการประชาสัมพันธ์โรงเรียนบางโรงเรียนที่เชื่อและทำตามหลักสูตรที่มีการปฏิรูปใหม่   
  
  
 แต่ยังไม่มีใครหยิบประเด็นต่อไปนี้มาพูดหรือหาทางแก้ไข  หรืออาจจะพูดไม่ดังเท่ากับ สื่อและเอกสารที่เผยแพร่ออกมาจากองค์กรที่ทำหน้าที่ด้านการปฏิรูปการศึกษา   จึงเกิดปัญหาทางการศึกษาในประเด็นต่อไปนี้  
 วิธีคิดของนักการศึกษาหรือผู้ที่ไปทำวิจัยการศึกษามาทั่วโลกแล้วนำผลการวิจัย เหล่านั้นมาปฏิรูปการศึกษา  ซึ่งอาจจะเกิดสิ่งต่อไปนี้   
  - เหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่  ทั้งนี้สิ่งที่เกิดปัญหาและเห็นได้ชัดคือ  วิธีการเรียน การสอนตามหลักสูตรปฏิรูปต่อไปนี้   

ตัวอย่าง การแก้สมการของนักเรียนยุคปฏิรูป
 โจทย์ ถ้า X + 3  =  8 ; X จะมีค่าเป็นเท่าใด 
  ก.  X  =  0
  ข.  X  =  3
  ค.  X  =  5
  ง.  X  =  -5
 วิธีคิดของเด็กยุคปฏิวัติ  (เพื่อนผู้เขียนซึ่งเป็นอาจารย์โรงเรียนมัธยมโรงเรียน 
 ประจำจังหวัดแห่งหนึ่งเรียกว่า "Stupid Choice") 
       จะใช้วิธีการคิดโดยการนำคำตอบแต่ละข้อเข้าไปแทนค่า X ในสมการ 
       ดังนั้นจึงเป็นการแก้สมการแบบ "กล่อง"                    
        ถ้า                 X    + 3  =  8     คำตอบในข้อ ค. ที่เอา 5 เข้าไป แทน  X
 ก็จะได้คำตอบที่ 5 + 3  =  8 
 ปัญหาที่เกิดขึ้นจะโทษครูผู้สอน หรืออาจารย์ที่สอนก็ไม่ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหามาจาก   
โรงเรียนให้นักเรียนมีชั่วโมงเรียนมากเกินไป เช่น วันละ 7-8 ชั่วโมง 
       เมื่อนักเรียนมีชั่วโมงเรียนมากในแต่ละวันทำให้ครูผู้สอนไม่มีเวลาใกล้ชิดกับ นักเรียน  จึงให้การบ้าน (Homework) มากๆ เพื่อให้เด็กเกิดทักษะ  
      แต่นักเรียนทำไม่ได้เพราะยังไม่เข้าใจจากขั้นเรียนจึงไปเรียนพิเศษ  ซึ่งอาจจะเป็นอาจารย์/ครูที่สอนมาเปิดสอนกวดวิชา  
      ดังนั้นอาจารย์/ครูที่ "วิก" หรือ "โรงเรียนกวดวิชา"  จะสอนวิธีคิดแบบ "Stupid Choice" ให้กับเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีตัดตัวเลือกที่ผิดออกไป  และได้คำตอบที่ถูก จากตัวเลือกที่เป็นไปได้  
 ผลคือ  สามารถทำข้อสอบหรือโจทย์ได้เร็วขึ้น  นักเรียนชอบเพราะเป็นวิธีคิดที่รวดเร็ว 


 ทั้งหมดนี้เป็นการสนองตอบใคร  คำตอบที่ไม่ต้องไปวิจัยเชิงลึกคือ 
      เด็กนักเรียนสามารถเรียนโดยไม่ต้องมีหลักการหรือแนวคิดในเรื่องนี้  แต่ทำข้อสอบได้โดยวิธีคิดแบบ "Stupid Choice"       สนองตอบผู้ปกครองหรือพ่อแม่ที่คาดหวังว่าลูกต้องกวดวิชาแล้วมีเทคนิคพิเศษ ทำข้อสอบได้คะแนนดีๆ เมื่อไปสอบแข่งขันหรือเอ็นทรานซ์จะสอบเข้าได้  

 นี่ล่ะครับ!  สิ่งใหม่ที่เกิดในระบบปฏิรูปการศึกษา  เป็นการเรียนเพื่อทำข้อสอบให้ได้และเรียนต่อ  แต่จะรู้จริงมากน้อยแค่ไหนไม่รู้  

    สำหรับการศึกษาในมิติใหม่  เราไม่ต้องการให้เด็กเพียงแค่มุ่งเรียนต่อ  แต่เราต้องการ มากกว่านั้นคือ การมีวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ คิดเชิงอนาคตที่จะก้าวสู่การเป็นนักนวัตกร มีความซาบซึ้งเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมและโดยเฉพาะความแตกฉานในพุทธศาสนาจนสามารถ   นำหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ในพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการทำงานจนเห็นได้อย่างทะลุแจ้งแทงตลอดถึงธรรมชาติของสรรพสิ่ง  เข้าใจตัวตนในตนเองจะได้ไม่หลงไปกับ      
การโฆษณาชวนเชื่อในลัทธิและนิกายหรือไสยศาสตร์ที่แวดล้อมในทุกสัมผัส
    


 สุดท้ายแล้วเราคงได้เห็นความเป็นไทย และคนไทยธุรกิจไทยจะได้ล่องลอยไปตามฝันสู่ความสำเร็จในเวทีโลกตามที่รัฐบาลได้พยายามวาดฝันเอาไว้  โดยที่เราท่านสามารถชักหน้าได้ถึงหลัง      

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants

No comments: