Sunday, April 29, 2012

สุดท้าย Samsung ก็ก้าวแซง Nokia ขึ้น เบอร์1 ของโลกมือถือ



หลังจากที่ Nokia ครองแชมป์  เบอร์ 1 ของโลกือถือ มา 14 ปี ในปี่  Q 1  2012   ส่วนแบ่งการตลาดของ Samsung 25.4 % มีมากกว่า Nokia ที่  22.5 %  (ตาราง)

และยอดขาย Smartphone  ในตารางถัดไปทุกเจ้าเติบโตติดลบหมด เทียบกับปี 2011 เบอร์ 1 คือ Apple  เบอร์ 2 Samsung  และตามด้วย Nokia  (ตารางถัดไป)


 Global Handset Vendor Shipments and Market Share in Q1 2012 
           
Global Handset Shipments
(Millions of Units)       Q1 '11         Q1 '12
Samsung 68.9 93.5
Nokia 108.5 82.7
Apple 18.6 35.1
Others       160.4     156.7
Total               356.4     368.0

Global Handset Vendor
Marketshare %         Q1 '11     Q1 '12
Samsung 19.3% 25.4%
Nokia 30.4% 22.5%
Apple 5.2% 9.5%
Others       45.0%     42.6%
Total            100.0%     100.0%

Global Handset Shipments
Growth Year-over-Year % 19.4% 3.3%

 *อ้างจาก  http://tinyurl.com/ck93xsu.



Global Smartphone Supplier  Unit Shipments in Millions - Q1 2012 With Comparison To Q4 2011 - IHS iSuppli April 2012


Wednesday, April 25, 2012

คำตอบใหม่ใน “เจนเนอเรชั่นเฟซบุ๊ค (Facebook Generation)”




การศึกษาในทางธุรกิจและการตลาดจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า  พลังกระแสของโซเชียลมีเดีย  หรือ โซเชียลเน็ตเวิร์ก แรงจัดมาก ๆ และมีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยที่ธุรกิจจะเพิกเฉยและไม่ให้ความสนใจนั้นอาจจะทำให้ธุรกิจตกเทรนด์โลกไปเลยก็ได้  
                                                                                                                                                                                                                               
                         ผู้เขียนเห็นบริษัทประกันรายหนึ่ง ลงทุนสร้างกิจกรรมทางการตลาดให้คนมาถ่ายรูปและบอกถึงการส่งความสุขให้กับทุกๆ คน ที่เซ็นทรัลเวิลด์ สิ่งที่เป็นคำถามเชิงกลยุทธการตลาด คือ  โจทย์ที่ต้องการคำตอบคืออะไร  

  ในยุคเจนเนอเรชั่นเฟซบุ๊ค โซเชียลมีเดียได้เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในวิธีที่มนุษย์ ติดต่อหรือ เชื่อมโยงสื่อสารกัน  เรียนรู้ และร่วมมือต่อกัน ซึ่งทำให้เกิดเป็น “วาระใหม่ที่ทำให้ผู้นำธุรกิจในทุก ๆ ที่กระหายต้องการ “ สิ่งต่อไปนี้  
                          -ขับเคลื่อนธุรกิจจากตั้งรับไปเป็นเชิงรุก
                          -การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือ บริการ ให้เป็นสินค้าโภคภัณฑ์
                          -ต่อสู้กับความเป็นราชการในองค์กร
                          -สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับลูกค้า
                          -ยุยงส่งเสริมการรังสรรค์สิ่งที่ไม่ธรรมดา
                          -นำองค์กรไปสู่ศีลธรรมในอีกระดับ
                           -ดำเนินการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนแปลง
                          -สร้างบริษัทที่ ฟิตจริง ๆ กับอนาคต

                         นั่นคือสิ่งที่ ผู้นำธุรกิจต้องการ คำตอบและโซลูชันใหม่ของ การบริหารจัดการ กลยุทธธุกิจและการตลาด ซึ่งคงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
                         ผู้เขียนคิดว่า Gary Hamel ได้ให้คำตอบไว้ในหนังสือเล่มใหม่ “What Matters Now” (เพิ่งวางตลาด มกราคม 2555 นี้เอง) มีคำตอบที่น่าสนใจครับ                  
                          อยากยกตัวอย่างให้เห็น เกี่ยวกับ “ลำดับขั้นในโซ่ประสบการณ์ของลูกค้า” ที่เปลี่ยนใหม่เพื่อให้ได้คำตอบแก่ธุรกิจดังนี้
                          Discovering : ลูกค้ามีวิธีการอย่างไรที่จะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ บริการของเรา  และอะไรที่ทำให้เกิดการตระหนัก และแพร่ขยายไปได้อย่างรวดเร็ว
                         Learning : ลูกค้ารู้จักผลิตภัณฑ์หรือ บริการของเราและคู่แข่งได้อย่างไร  ที่ไหนที่ลูกค้าจะไปเพื่อการเรียนรู้และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ
                         Buying : ลูกค้าทำการ(สั่ง)ซื้อหรือ ทำรายการ กับบริษัทของเรา  อะไรคือพลวัตของกระบวนการซื้อ
                         Acquiring : ลูกค้านำสินค้าไปได้ (ขนส่ง) อย่างไร   การขนส่งเช่นไรที่ลูกค้าทำจากบริษัท หรือ ร้านค้าไปยังบ้านของลูกค้า    
                        Using: ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการในชีวิตประจำวันอย่างไร  อะไรที่ลูกค้าทำจนได้ประโยชน์สูงสุดจากผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ       
                        ส่วนคำตอบใหม่ เป็นเรื่องของคุณค่า (Values)  นวัตกรรม (Innovation) การปรับตัว (Adaptability) ความหลงใหล (Passion) และอุดมคติ (Ideology)   ท่านใดอยากรู้เร็วก็หาซื้ออ่านได้ หรือ เจอกันฉบับหน้าจะเก็บคำตอบมาให้ครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Monday, April 16, 2012

Scenario Based Strategy




        ผู้เขียน นึกถึง การบรรยายที่ผ่าน ๆ มา  บางครั้งในเรื่อง กลยุทธ ได้รับเชิญให้บรรยาย
- 3 ชั่วโมงบ้าง เพราะผู้จัดหรือบริษัทมีเวลาเท่านี้
- บางครั้งมีเวลา 1 วัน อยากเรียนเรื่องการจัดการเชิงกลยุทธแนวใหม่ พร้อมฝึกปฏิบัติ
-บางครั้ง มีเวลาเต็มที่ 2-3 วัน ขอให้เสร็จแล้วได้ Action plan ออกมาเลย
-บางครั้ง บอกว่า เรื่องนี้ เวลา 3 ชม. น้อยไป อย่าสอนเลยดีกว่าเพราะต้องพูดเป็นวัน ๆ

         สารพัดครับ ในทัศนะของผู้เขียนซึ่งทำเรื่อง "จัดการเชิงกลยุทธแนวใหม่"  ถามผมว่าเวลาีมีความสำคัญไหม ถ้าตอบจริงๆ หากต้องการได้ผลสูงเวลามีความสำคัญมาก ครับ
         ขณะเดียวกันเวลาของบริษัทที่ให้พนักงาน หรือผู้บริหารมาอบรมก็สำคัญเช่นกัน
         จึงไม่ได้อยู่ที่เวลามากหรือน้อยไป
         วิทยากรระดับมืออาชีพแล้ว เวลาเท่าไหร่ก็เท่านั้น ขอให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้เป็นสำคัญ
         ...คงต้องปรับเนื้อหาให้เหมาะสม
         เช่นกันครับในเรื่อง Scenario planning หากบรรยาย 3 ชม. ก็เป็นแนวคิด และตัวอย่างของการปฏิบัติจริงในธุรกิจ แต่หากต้องการ ฝึกปฏิบัติก็ทำได้ แต่ต้องบอกล่วงหน้า แต่ผลได้เป็นการเห็นกระบวนการทำ ไม่ได้ผลต่อเนื่องจนชำนาญ
         แต่ถ้ามีเวลา 1 วัน ก็น่าสนใจครับ
          -ได้เรียนรู้แนวคิด ที่มา และ การเริ่มต้นทำ  "ทัศนภาพ(Scenarios)"
          -ได้ทดลองขั้นตอนการทำ วิเคราะห์แนวโน้ม ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอน
          - และนำไปสู่ Scenario 2x2 Matrix
         ส่วนการจะปรับ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ คงได้เพียงการแนะนำ เนื่องจากเวลาไม่พอ ที่จะดำเนินการ

        เห็นไหมครับ ทำได้ทั้งนั้น อยู่ที่ มีเวลาให้เท่าไหร่ ผลที่อยากได้ก็เต็มที่ตาม          เวลา แต่ไ่ม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ .. อันนี้เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของผู้เขียน

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com