Tuesday, November 22, 2011

Scenario Analysis



    การจัดการกลยุทธแนวใหม่ (New Strategic Management) ผู้เขียนคิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
    -สิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ได้กลายเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้หรือวิเคราะห์ได้ยากขึ้นด้วยเครื่องมือทางกลยุทธแบบเดิม ๆ
    -ผู้บริหารธุรกิจในปัจจุบันยังต้องการหรือ แสวงหาเครื่องทางกลยุทธใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง บางครั้งทำให้เครื่องมือทางกลยุทธที่ใช้อยู่ดำเนินไปไม่บรรลุถึงความสำเร็จอย่างแท้จริง
    -ข้อจำกัดของ นักกลยุทธในปัจจุบัน ไม่ได้ศึกษาเชิงลึกในเครื่องมือทางกลยุทธที่ใช้อยู่อย่างดีพอ   อีกทั้งการวิจัยศึกษาเพื่อนำเครื่องมือใหม่ ๆ ทางกลยุทธมาทดสอบก็อย่างมีการทำกันน้อย

   การวิเคราะห์ทัศนภาพ หรือ Scenario Analysis เป็นเครื่องมือหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ ผู้บริหารธุรกิจ หรือนักกลยุทธในปัจจุบัน ยังรู้จักน้อย หรือ ไม่คุ้นเคยกับการนำมาใช้ อีกทั้งหาตัวอย่างศึกษาไมได้ง่ายนักในประเทศไทย
  ผู้เขียนได้นำมาใช้หลายปีแล้วในการวิเคราะห์และทบทวนการจัดทำแผนกลยุทธธุรกิจ  หรือ การประเมินสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมซึ่งไม่แน่นอนและสับสนวุ่นวาย เพราะผลที่ได้ทำให้
  -การวางวิสัยทัศน์ ภารกิจขององค์กรได้ดีกว่าเดิม รวมถึงการทบทวน วิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กรเดินไปถูกทางหรือไม่
  -สามารถนำไปสู่ผลสรุป ในด้าน จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค ที่เรียกว่า SWOT ได้อย่างถูกต้องมากกว่า (ใช้เป็นข้อสรุป - SWOT Summaries) การวิเคราะห์ SWOT แบบที่นิยมทำกัน (ใช้ SWOT Analysis เป็นเครื่องมือ )
-หากใช้ โมเดลธุรกิจเข้ามาช่วยประเมินกลยุทธ จะทำให้การจัดทำแผนกลยุทธธุรกิจมีความสมบูรณ์สูงมาก

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องราว ที่อยู่ในกระแสใหม่ของ "การจัดการเชิงกลยุทธ"  ซึ่งผู้เขียนเสนอไว้ในส่วนแรก ของ "การจัดการกลยุทธแนวใหม่"


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Wednesday, November 16, 2011

New Thailand จะเดินได้ยังไง


New Thailand จะเดินได้ไม่ยาก หากเริ่มแบบนี้
1.ต้องมีคนไม่ฝักใฝ่การเมืองเข้ามาทำงาน หากเป็นนักการเมือง เห็นชัดว่า "เล่นการเมืองจนประเทศวิกฤต"
2. เรียนรู้บทเรียนจากน้ำท่วม  ว่ารัฐบาลนี้บริหารผิดพลาดอย่างไร
3. นำพระราชดำรัส หรือ สิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งไว้เกี่ยวกับน้ำ-น้ำท่วมมาศึกษา
4.เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ มองทัศนภาพ (Scenarios) ทั้งเลวร้าย  พอไหว  ไปได้ดี
 5.กลยุทธต้องสอดคล้องกับทัศนภาพ และบทเรียนที่ผ่านมา ไปใช่เริ่มด้วยเงิน ๆๆๆๆๆ
 แต่ลองศึกษากลยุทธของ เนเธอร์แลนด์  (การมี 100 คลองในเมืองอัมสเตอร์ดัม) และสิงคโปร์ในการจัดการน้ำ (ที่อ่าวมารีนา)

ทั้งหมดนี้ต้องตอบได้ว่า น้ำจะไม่ท่วมประเทศอีก หรือ ถ้าน้ำท่วมจะจัดการอย่างไร  แค่ฟื้นฟูประเทศเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากไม่ป้องกัน New Thailand ก็ไม่มีประโยชน์

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
บันทึกแห่งผู้นำ
17 พ.ย. 54

Tuesday, November 15, 2011

ความเป็นผู้นำระดับประเทศ



        ความจริง เรื่องของผู้นำ ไม่ใช่เรื่องใหม่ และก็มีคนเขียนกันมากแต่บางครั้งไม่ตรงกับสภาพความเป็นไปของปัจจุบัน หรือมีเหตุวิกฤตการณ์ขึ้นมาอาจใช้ไม่ได้ผล
     
        เหตุการณ์ของบ้านเมืองเรื่องน้ำท่วม
        จากเหตุการณ์"มหาอุกภัย และอาเพศ วิกฤตของประเทศไทย ปี 2554" ในช่วง ก.ย.-พ.ย. เป็นสิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นและไม่สมควรจะหายนะเช่นนี้....ถ้าผู้บริหารบ้านเมือง มีความเป็นผู้นำที่มีความสามารถพอ
        เหตุการณ์ "ประชุมฟอก...น้ำเสีย-น้ำเลวให้เป็นน้ำขุ่นใส ของ ครม.ชุดมหาอุทกภัย และอาเพศฯ ไทย" ที่บอกว่า คนระดับ หัวหน้ารัฐบาล ไม่รู้เรื่อง

         ทั้ง 2 เหตุการณ์ทำให้นึกถึง เรื่องของ"ความเป็นผู้นำระดับประเทศ"

        ความเป็นผู้นำ หรือ Leadership เราไม่มีทฤษฎีที่เป็นของไทยเองซึ่งจะใช้อธิบายได้ จึงต้องเรียนรู้และยืมของฝรั่งมาใช้และอธิบายกัน
     
        อย่างแรก     มีเรือดี พายดีไม่ขี่ข้าม ไปเอาเรือรั่วน้ำมาข้ามขี่

        ผู้นำในการจัดการและแก้ปัญหาเรื่อง น้ำท่วมและอาเพศของประเทศ  พบว่า
        
          -ไม่มีความเป็นผู้นำในการตัดสินใจแก้ปัญหาระดับชาติได้  
         คนเป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐมาก่อน แต่ไม่น่าเชื่อว่าทำงานไม่เป็น แก้ปัญหาการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำไม่ได้   การรื้อผนังกั้นน้ำ  การไม่รู้ว่า พื้นที่ใดควรรักษาหรือพื้นที่ใดควรให้น้ำท่วม  หรือแก้กระทั่งของบริจาคก็ มีปัญหาความไม่โปร่งใส  ฯลฯ
        
            -การสื่อสารให้ คนเข้าใจ ไม่สามารถทำได้ ทั้งผู้นำสูงสุดของประเทส และ ผู้นำเฉพาะกิจในการแก้ปัญหา

          -ใช้คนไม่ตรงกับงาน เราไม่รู้ว่าคนที่รับผิดชอบ มีความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาหรือไม่ เช่น
           1) รู้จักภูมิประเทศ และสภาพแม่น้ำลำคลอง  และ ปากแม่น้ำดีเพียงพอหรือไม่
           2) ความสามารถในการควบคุมและระบายน้ำโดยเฉพาะ การเปิด-ปิดประตูน้ำ ระบายน้ำจากเขื่อน และ ประตูน้ำในคลองต่าง ๆ จนกระทั่งถึงอ่าวไทย
           3) ความสามารถในการเจรจาต่อรองเมื่อเกิดการขัดแย้ง ระหว่างผู้เสียประโยชน์จากน้ำท่วม และ การรักษาพื้นที่สำคัญ กับความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

           ซึ่่งตรงกับคำไทยที่ว่า "มีเรือดี พายดีไม่ขี่ข้าม ไปเอาเรือรั่วน้ำมาข้ามขี่"   แต่สิ่งที่เราพบ คือ ความเป็นผู้นำของทหาร หรือ กองทัพสามารถรับมือและจัดการปัญหาผู้ประสบภัยได้ดีกว่าหน่วยงานของรัฐทั้งหมด

        อย่างที่สอง   ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่ผู้เดียว
        บางคนอาจจะบอกว่า  เป็นคำพูดของผู้นำแบบเผ็จการ  แต่ผมมีข้อคิดให้ถกเถียงทางปัญญา
       ... ผู้นำย่อมต้องรับผิดชอบทุกอย่าง ทั้งการกระทำและคำพูดในสิ่งที่ตนเองได้พูด ได้ทำ  หรือไม่ว่าบรรดาเหล่าบริวาร  ข้าทาส สมุน ลูกกะจ๊อกคนใดทำในขณะที่ท่านเป็นผู้นำอยู่ จะมาบอกว่าไม่รู้ ไม่เห็น ไม่อยู่ คงทำไม่ได้พูดไม่ได้  อย่างนี้ต้องกลับไปอ่านตำราการบริหารใหม่ ยกเว้นว่าโง่ อาจไม่เข้าใจ ก็ถามคนที่รู้มากกว่า แต่อย่าไปถามโจรคงได้คำตอบที่ผิดศีลธรรม
         .....ผู้นำต้องไม่ภามว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นผิดกฎหมายหรือไม่  หรือ บอกว่าไม่เห็นมีใครว่าเลย เขาก็ทำกันอย่างนี้
               เพราะผู้นำที่มีความสามารถต้อง ทำและรับผิดชอบอยู่บนหลักการของการมีศีลธรรมอันดีงาม ไม่ทำในสิ่งที่คนปกติทั่วไปเขาไม่ปฏิบัติกัน
               อย่างนี้ถึงจะเป็นผู้นำที่สง่างาม

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com