Saturday, December 14, 2013

Digital Marketing Trends 2014 (1)



พอใกล้ปลายปีต่อปีใหม่  คำถามหรือหัวข้อสนทนาในแวดวงธุรกิจคงหนีไม่พ้นว่า  ปี2014 ที่กำลังจะมาถึงมีทิศทางเป็นอย่างไร

                        ผู้เขียนมีงานรับเชิญบรรยายจากโครงการหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มรภ.ภูเก็ต ให้ไปบรรยายเรื่อง “Modern Marketing Concept” และ “ประเด็นหัวข้อการวิจัยทางการตลาด”  ช่วงหลังปีใหม่  กับเพิ่งให้สัมภาษณ์นิตยสาร Marketing Plus ไปตอนปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเกี่ยวกับแนวโน้มและการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกไซส์เอส
                        เรามาดูทิศทางของ  Digital Marketing Trends 2014  กันครับ



 ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

สมรภูมิค้าปลีก ไซส์เล็ก จับทิศทางกลยุทธโดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

 
       ผู้เขียนเพิ่งให้สัมภาษณ์ นิตยสาร MarketPlus ฉบับเดือน พ.ย.56  ในเรื่อง"สมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีก ขนาดเล็ก ...ดุเดือด เผ็ด มันส์ ตามสไตล์ ครับ













ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com


Friday, December 13, 2013

Marketing Segmentation Wow! By Dr.Danai Thieanphut

             สิ่งที่ธุรกิจเห็นกันมากในทางการตลาดคือ บริษัทวิจัยตลาดมักพยายามนำเสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับ พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behaviors) แต่ถ้าธุรกิจจะได้ประโยชน์จริงๆ ต้องพิจารณาหรือนำมาสู่ “การกำหนดส่วนของตลาด” (Market Segmentation)  เพราะหากสามารถกำหนดส่วนของตลาดได้ถูกต้อง  การใช้ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ได้ตรงกับส่วนของตลาดจะทำให้ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการประสบความสำเร็จตามที่นักการตลาดวางกลยุทธไว้

ทำไมจึงต้องกำหนดส่วนของตลาด

                 ผู้เขียนชอบที่คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย พูดว่า  มีหลายบริษัทที่เคยยิ่งใหญ่แต่ก็ล้มหายไปด้วยเหตุผลการก้าวไม่ทันโลก  และมีข้อผิดพลาด 3 ประการคือ (1) อ่านความต้องการของตลาดผิด หรือไม่ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต้องคิดอะไรใหม่ๆ จมอยู่กับความสำเร็จเก่าๆ  (2) ต้องอ่านตลาดถูก  แต่ก็คิดไม่ออกว่าจะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างไรไม่สามารถที่จะปั้นของใหม่ขึ้นมาในสมอง  สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ  (3) ต่อให้รู้ว่าตลาดต้องการอะไร  ตอนผลิตควบคุมคุณภาพและต้นทุนไม่ได้ด้วยเหตุอะไรก็ตาม  ถึงจุดหนึ่งก็ไม่สามารถแข่งได้ (นสพ.ประชาชาติธุรกิจ, พฤ-อา. 21-24 ก.พ. 51; หน้า 19)
ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งทั้งหมดนี้กำลังพูดถึงเรื่องของ STP
S  หมายถึง Segmentation หรือ Marketing Segmentation เป็นการกำหนดส่วนของการตลาดที่จะอ่านให้ได้ว่า  ลูกค้านั้นมีความต้องการ (Need) และอยากได้ (Want) ที่จะบรรยายโฉมหน้าส่วนของตลาด
T  หมายถึง Tarket  Market ธุรกิจหรือนักการตลาดจะเลือกตลาดเป้าหมายใดในส่วนของตลาดที่น่าสนใจ  เพราะไม่มีใครที่จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคทุกคนในทุกตลาดได้  จึงต้องเลือกที่จะบอกว่าตรงไหนที่บริษัทสามารถทำได้ดีที่สุด 
P  หมายถึง Market Positioning เป็นการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ในตลาดเพื่อที่จะได้ใช้ส่วนผสมทางการตลาด (4’Ps) ที่สอดคล้องหรือตรงกับความต้องการของตลาดที่เลือกไว้แล้ว
สรุปคือ ลูกค้าในตลาดนั้นไม่เหมือนกัน  มีความแตกต่างกัน ชอบไม่เหมือนกัน ชีวิตความเป็นอยู่หรือไลฟ์สไตล์ที่ไม่เหมือนกันทำให้ธุรกิจอยากรู้ว่า  รูปแบบส่วนของตลาดเป็นอย่างไร (Pattern of Market Segmentation) เช่น มีความชอบเหมือนกัน แพร่กระจาย  ทุกคนชอบใช้มือถือตามแต่ละแบรนด์ที่จะจูงใจ  ซึ่งบางคนชอบแบรนด์แรกแต่บางคนชอบอีกแบรนด์ เป็นความชอบที่กระจายไปทั่วตลาด และสุดท้ายเป็นความชอบที่จัดเป็นกลุ่มตามธรรมชาติ เช่น สินค้าของกลุ่มไฮโซหรือ Celeb ซึ่งต้องการสินค้าที่บ่งบอกถึงสถานะและความเป็นตัวตนที่เฉพาะกลุ่ม
ดังนั้นหากไม่มีการกำหนดส่วนของตลาด ธุรกิจหรือนักการตลาดก็ไม่สามารถออกแบบและส่งมอบคุณค่าที่โดนใจลูกค้าได้


เมื่อธนาคารทำ Segmentation



ในธุรกิจการแข่งขันต้องยอมรับว่า ธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่ใช้เครื่องมือและกลยุทธทางการตลาดที่สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ มานานแล้ว
ระยะหลังๆ จะเห็นว่า ธนาคารต่างๆ พยายามนำแนวคิดของ “ค้าปลีก” (Retailing) เข้ามาใช้สูงมากขึ้น
ธนาคารกสิกรไทยมีการปรับเปลี่ยนตัวเองมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงปี’47 จะเริ่มเห็นการทำ Market Segmentation ที่ชัดมากขึ้น เช่น การแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มลูกค้า Transaction เป็นลูกค้าที่ใช้เพียงบริการฝากถอนโอนเงิน กลุ่มลูกค้า Middle Class คือกลุ่มคนทำงานที่ทำมากกว่ากลุ่มแรก ต้องการสินเชื่อบ้าน บัตรเครดิต การชำระค่าบริการต่างๆ และความสะดวกสบายที่มากขึ้นและกลุ่มลูกค้า Platinum ที่ต้องการความเป็นพิเศษและสิทธิต่างๆที่เงื่อนไขของแบงก์จัดให้ได้ เช่น สถานที่เฉพาะ คำแนะนำในการเพิ่มทรัพย์สินให้มีมูลค่า  กิจกรรมที่บอกให้รู้ว่าธนาคารยังนึกถึงอยู่
เราจึงได้เห็น Coffee Banking แห่งแรกในประเทศไทยที่มี Starbucks (สิงคโปร์มีมาก่อนเราครับ!!)
หรือการที่ธนาคารพยายามกำหนดส่วนของตลาดตามรายได้ลูกค้า (Income) และตามไลฟ์สไตล์ (Family Lifestyle) เช่น ในวัยเรียน (บัตรเดบิต) มหา’ลัย (โอนเงิน) ปริญญาโท (สินเชื่อเพื่อการศึกษา) ทำงาน (สินเชื่อที่อยู่อาศัย) ฯลฯ
พอปี’51 ธนาคารกสิกรไทยได้ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นคือ  การแบ่งลูกค้าเป็น 7 กลุ่มหรือ “7 Segments” ดังนี้
- กลุ่มลูกค้าสหบรรษัทธนกิจ (Multi-Corporate Business : MB)
- กลุ่มลูกค้าบรรษัทธนกิจ (Large Corporate Business : CB)
- กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลาง (Medium Business : ME)
- กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อม (Small & Micro Busi-ness : SM)
- กลุ่มลูกค้าบุคคลพิเศษ (Signature : SI)
- กลุ่มลูกค้าระดับกลาง (Middle Income  : MI)
- กลุ่มลูกค้าบุคคลบุคคลทั่วไป (Mass : MA)
ถ้าวิเคราะห์เพื่อการศึกษาสำหรับธุรกิจ  นักศึกษา MBA, DM (Doctor of Ma-nagement), DBA หรือผู้ที่สนใจทางการตลาดสรุปให้เห็นถึง การกำหนดส่วนของตลาดธนาคารที่กล่าวถึงได้ดังรูป


ซึ่งลักษณะนี้ทางการจัดการตลาดจะเรียกว่า Multi-MM to Multi Segments

สรุปความท้าทายทางการตลาด

                 คำถามที่น่าสนใจต่อการนำไปสู่ความท้าทายทางการตลาด
ประการแรก  การกำหนดส่วนของตลาดในลักษณะ Multi-MM to Multi Seg-ments เป็นการอ่านโจทย์ความต้องการของตลาดได้ถูกหรือเปล่า เพราะว่า
- ธนาคารควรจะต้องมีข้อพิจารณาในเรื่องของ “Location” หรือสถานที่ตั้ง เช่น กรณีของธนาคารที่มีลักษณะเป็น Branch ซึ่งอาจจะตั้งอยู่ในสถานที่ซึ่งเป็น Shopping Mall หรือ Super Center  สถานที่ตั้งซึ่งเป็น High-Status Districts และสถานที่ตั้งซึ่งเป็น Tier 2, 3 City.
ทำให้ส่วนของตลาดหนีไม่พ้นที่จะถูกอิทธิพล  การกำหนดส่วนของตลาดที่ศูนย์การค้าหรือซูเปอร์เซ็นเตอร์กำหนดไว้แล้วไปโดยอัตโนมัติ  สิ่งที่ทำได้คงเป็นเพียงกำหนดส่วนย่อยของตลาด (Sub Segments)
คำถามต่อมาคือ
- การดูแลด้านความแตกต่างในผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะตามรายได้ลูกค้าในแต่ละกลุ่มนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายและทรัพยากร  เพื่อทำการขายในทุกช่องทางและการโปรโมทแบรนด์โดยใช้แพ็คเกจที่แตกต่างกัน  ซึ่งในที่สุดแล้วจะสามารถให้คุณค่าเชิงประโยชน์ต่อลูกค้าและต้นทุนที่ลดลงของลูกค้าในระยะยาวได้หรือไม่  หรือเป็นเพียงการลดต้นทุนธนาคารเท่านั้น
- ธนาคารคู่แข่งสามารถใช้ประโยชน์ของการกำหนดส่วนของตลาดเพื่อการแข่งขันโดยนิยามในเทอมของคุณค่า (Values) และทัศนคติ (Attitude) น่าจะทำให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงกว่า
เพราะอนาคตเป็นเรื่องของ Self-Marketing คือ รูปแบบของตลาดที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคแต่ละคนเป็นผู้บอกหรือกำหนด “รูปแบบของผลิตภัณฑ์และแบรนด์” ตามไลฟ์สไตล์ของตน
ขณะที่ลูกค้าองค์กร (Corporate Business) จะมีตัวแปรด้านส่วนของตลาด เช่น การดำเนินธุรกิจ วิธีการซื้อ-ขาย/ให้บริการและปัจจัยด้านสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน
สุดท้าย  ส่วนของตลาดตอบคำถามต่อไปนี้ได้จริงหรือไม่  
ธุรกิจสามารถทำกำไรจากส่วนของการตลาดที่กำหนดได้จริงหรือไม่ หากไม่สามารถวัดได้ถึงขนาด อำนาจซื้อและคุณลักษณะของส่วนของตลาดก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจ
มีความแตกต่างในส่วนของตลาดและตอบสนองด้วยส่วนผสมของตลาดที่แตกต่างได้หรือไม่ ถ้าไม่ก็อาจไม่จำเป็นต้องแตกส่วนของตลาด
สามารถเข้าถึงและดูแลจากทรัพยากรที่มีอยู่ด้วยโปรแกรมทางการตลาด โดยเฉพาะการสื่อสารทางการตลาดเพื่อให้ลูกค้ามีธุรกิจเป็นแบรนด์ในใจตลอดไปได้มากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นกรณีศึกษาทางการตลาดที่ท้าทายอย่างแท้จริงในเรื่อง การกำหนดส่วนของตลาดครับ!!!

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com


นักท่องเที่ยว 3 ชาติ ถล่ม พัทยา จีน รัสเซีย อินเดียกว่า 70 %



ในบรรดา นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มาพัทยา มีมากถึง 70 กว่า % คือ จีน (20 กว่า %) รัสเซีย และอินเดีย นักท่องเที่ยวจีน ชอบไปมากที่สุดคือเกาะล้าน(เพราะคนจีนในแผ่นดินไม่เคยเห็นทะเล) วัน ๆ หนึ่ง หากเหตุการณ์บ้านเมืองปกติ มีถึงวันละเป็นหมื่น ๆ คน เช้าไปเกาะล้าน ทานอาหารเสร็จ หรือ ขึ้นบกมาทานอาหาร และที่ชอบมาก ๆ คือ มาตลาดน้ำ 4 ภาค ...ผมไปดูมาแม้จะขายของทั่ว ๆ ไป แต่ก็มีไอเดีย ผสมบ้าง ที่สำคัญ บางอย่างน่าดีใจ คนจีน ซื้อของ Made in China จากบ้านเรากลับบ้าน















การตลาด "โก๋แก่" ด้วย 2PM 









ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Thursday, December 5, 2013

ยูนิโคล่ เปิดร้าน ร่วมกับ Big camera และทำการตลาดที่น่าสนใจ



                ตอนปลายเดือนสิงหาคม 2556  ได้มีโอกาสกลับไปเยือนญี่ปุ่นอีกครั้ง สำหรับประเทศที่พัฒนามาก เลยได้มีโอกาสไปดูร้านเสื้อผ้าดังระดับโลกแฟชั่นของญีปุ่น และเปิดในเมืองไทยแล้วด้วย UNI QLO  ผมได้บันทึก วีดีโอ     "การทำการตลาดซื้อสินค้าราคาพิเศษในเวลาและชั้นที่กำหนด"

1209121000_image06.png


UNIQLO and BIC CAMERA to Open New 'BICQLO' Store in Shinjuku Shinjuku East Exit Store Aims to Become New Hotspot in the Area Doors Will Open on September 27 2012

1209121000_image02.png
          Shinjuku as a New Hotspot for Visitors in Japan and Abroad
Visitors from all over Japan, as well as the world, flock to Shinjuku. UNIQLO is opening a store inside a home appliances store, in an area of Japan that is well-known for home and electrical appliances stores. UNIQLO wishes to make the BICQLO store a new hotspot in Shinjuku, by offering customers many fun surprises and promotions, in the hope that it can contribute toward the revitalize Japan.  (http://www.fastretailing.com/eng/group/news/1209121000.html)

         เป็นรูปภาพที่ผมบันทึกไว้และ เห็น VDO Ads น่าสนใจในการโฆษณาการตลาดแบบแจกของแถมและซื้อได้ราคาถูกเพาะบางชั้นในช่วงเวลาที่กำหนด มีคนสนใจกันมากเพราะซื้อได้ในราคาพิเศษจริง



             วันที่ไป กำลังเปิด ร้านใหม่อีกที่  ณ  Shinjuku  และ Collection.ใหม่พอดี มีโฆษณา การส่งเสริมการขายแบบเยอะ ๆๆ ทำตลาดได้น่าสนใจดีครับ
 

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505