Thursday, March 8, 2007

Research-To-Go

"The Thinking About Research"
ข้อคิดสำคัญในการทำวิจัย
โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

1 Be inclusive with your thinking
อย่าพยายามเลิกความคิดอย่างรวดเร็ว
สร้างความคิดและพยายาม
หาความแตกต่างของResearch Project / Research Topic ที่ท่านสามารถวิเคราะห์ได้
ทำให้ท่านเห็นว่าโชคดีในความคิดที่มีและหัวข้อวิจัย
ทำเดี๋ยวนี้ อย่าทำทีหลัง...พยายามและสร้างความคิดริเริ่ม

2.เขียนความคิดออกมาถ้าท่านไม่เขียนความคิดออกมาท่านจะเสียโอกาส
เพราะความคิดอาจจะเปลี่ยนไปและจะรู้สึกว่าไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหน
จงนั่งลงและพิจารณาความคิดที่เขียนออกมาแต่ละความคิด

3.พยายามอย่าคิดในสิ่งที่คนอื่นมีอิทธิพลกับท่าน หรือ
คาดหวังจากท่านท่านจะเปลี่ยนหัวข้อไปจนกระทั่งเป็นหัวข้อที่ท่านสนใจจริง ๆ
(ไม่ใช่ความสนใจของเพื่อน ผู้บริหาร อาจารย์)
จงเลือกหัวข้อที่ท่านสนใจจริง ๆ

4.จงตั้งเป้าหมายในการวิจัยอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง
-การวิจัยครั้งนี้จะทำให้ท่านสำเร็จตามเงื่อนไขของหลักสูตร
-ความจริงที่ยิ่งใหญ่ การกำหนดกระบวนการวิจัยอาจจะเป็นสิ่งสำคัญ กว่าผลได้ของการวิจัย
-ความคิดที่เป็นอันแรกและทั้งทมด ของโครงการวิจัย ควรจะเป็นประสบการณ์การเรียนสำหรับท่าน

5. ถ้าหัวข้อนี้ต้องทำวิจัย 10 ปี ท่านต้องถามตัวเองว่ามีเวลาขนาดนั้นหรือไม่ ?
สร้างResearch/Dissertation roadmap ขึ้นมา
แม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งแรกในความคิดของท่าน แต่ก็ไม่สายเกินไปที่จะทำ

6.สิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ ลงมือเขียนงานวิจัยได้แล้ว
(ร่างความสนใจในหัวข้อ เช่น ปรากฎการณ์ คำถามในการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย เอาเท่านี้ก่อนครับ )

Dr.Danai Thieanphut



Dissertation Roadmap

Stage 1 Thinking about it
Stage 2 Preparing the proposal
Stage 3 Conducting the research
Stage 4 Writing the research paper
Stage 5 Sharing the research outcomes with others
Stage 6 Revising the research paper

ประสบการณ์ในการจัดทำโครงร่าง Dissertation /Thesis Roadmap
เป้าหมายของทุกคนในการเข้ามาสู่การศึกษาระดับการจัดการดุษฎีบัณฑิต
คือภายใน 3 ปีจะต้องก้าวออกไปจากรั้ว "ม.ราชภัฎสวนดุสิต"
พร้อมปริญญา Doctor of Management -Major Business Management

จากวันแรกในเดือน พค.47 จนถึง กย. 47ผมคิดว่า
เราได้มีการพุดคุยอย่างไม่เป็นทางการในเรื่อง Dissertation
จนกระทั่งมีรูปแบบที่เป็นทางการมาพอประมาณ(แม้ว่าเพื่อน DM2/2 บางท่านยังมีความกังวลอยู่)
ในวันที่ 11 กย 47 เราได้มีการสรุปในกลุ่ม
ถึง ประเด็นการศึกษา/ความสนใจในการจัดทำ Dissertation Roadmap
ที่ลงตัวมากที่สุดโดยโครงสร้างการจัดทำ Dissertation Roadmap ในกลุ่มน่าจะเป็นดังนี้
1.กลุ่มความสนใจด้าน HR/Knowledge OrganizationAreas:
Human Resource
Human Capital
Knowledge Capital
Intellectual Capital
Career Development +OD/HRD
HR Scorecard
2.กลุ่ทความสนใจด้าน MarketingAreas:
Mkt Strategy
Mkt Mixed
Brand Building
Products Strategy & Development
Below the line Mkt
Distribution Channel
CRM / IMC /TIM
Mkting Research
3.กลุ่มความสนใจด้าน A/C -F/NAreas:
3D Bugeting
ABC/EVA/ROI
Venture Capital
Financial Engineering
Risk Mgt
4.กลุ่มความสนใจด้าน การจัดการ & ธุรกิจAreas:
Competitiveness of Nation /Business
Theory of Innovation
Business Strategy-BSC / Blue Ocean
Change Management
Process Control
Productivity
e-Business
Core Competency

สิ่งที่เราจะเดินต่อไปเมื่อรู้ว่ามีกลุ่มความสนใจแล้วคือการเตรียมตัวเตรียมใจในอนาคตที่จะมาถึงคือ
Step 1:เลือก Area ที่จะเข้าไปศึกษาวิธีการเลือก
1) เป็นเรื่องที่เราสนใจมาก ๆ และเชื่อว่าเราจะ "Go Ahead" ได้ตลอด 3 ปี
2)เป็นสิ่ง/เรื่อง หรือ ขอบเขตที่เรามีพื้นฐานในด้านต่อไปนี้ เช่น-การทำงาน/ธุรกิจ-การศึกษาทั้ง ป.ตรี ป.โท
3)พอจะรู้ แหล่งข้อมูล หรือ ใครเชี่ยวชาญ
Step 2: เมื่อได้ Area แล้วจงลงลึก " In Depth" ในเรื่องนั้นวิธีการที่จะลงลึก
1) บทความประจำภาคเรียนให้เขียนลงในเรื่องที่สนใจ
2)พยายามอ่าน/เขียนโดยศึกษาจาก-Theory-Research/Dissertation
3)เราจะพบเรื่องที่จะทำวิจัยได้ไม่ยากนัก
Step 3 : "All for One , One for All
"ผมเชื่อว่าทุกคนไม่อยากบอกว่าตนเองทำเรื่องอะไรเพราะกลัวถูกแย่งชิงหัวข้อ Dissertationความจริง !!!
1) ถ้าเราคิดว่า เราเป็นเพื่อนกันจริงขอให้ยึดหลักข้างตน การร่วมกันศึกษาจะประหยัดเวลา ยกเว้นว่าคนละเรื่องกันจริง ๆ
2) การที่ใครบอกว่าจะทำเรื่องอะไรเท่ากับลงทะเบียนในความคิดของทุกคนแล้ว
3) การแลกเปลี่ยนเรื่องที่จะทำจะมีประโยชน์ดังนี้
@ เพื่อน ๆ ที่คิดจะทำเรื่องเดียวกันจะได้คุยกันว่าซ้ำหรือไม่ จะได้ไม่เสียเวลา
@ ความสนใจจริง ๆ ที่แท้แล้วเป็นลักษณะ " Breadth" ถ้ายังไม่มีการศึกษาอย่างเป็นระบบ
@ องค์ความรู้ทั้ง 4 กลุ่มที่เราจะพิจารณามีขอบเขตมากพอสำหรับทุกคนครับ
There are many areas of Dissertation:
-Theoretical areas
-Methodology & Content areas
-Practical areas
ดังนั้น อย่าไปกลัวเลยครับว่าเรื่องจะซ้ำกัน หรือ บอกเพื่อนไม่ได้
Step 4 : บูรณาการความคิด จงจำไว้ว่า ต้องเป็นเรื่องที่ท่านสนใจอยากทำ (สนใจคือมีพื้นฐานทางความรู้ หรือ ประสบการณ์ )
ไม่ใช่เรื่องที่คนอื่นอยากทำโดยให้ท่านทำ แม้จะเป็นไปได้แต่ท่านต้องสนใจจริง ๆเมื่อก้าวเข้ามาแล้วต้องมุ่งมั่นที่จะก้าวเดินต่อไป
เขียนบทความในทิศทางของ Dissertation เท่านั้นครับ
อย่าวอกแวก !!!ท้อได้ แต่อย่าหมดกำลังใจ ครับบบบบบบบบบบบบ
เมื่อใดที่ท่านหมดกำลังใจ ขอให้นึกว่ายังมีผมอยู่อีกคนที่คอยช่วย และให้กำลังใจกับทุกท่าน
แต่สุดท้าย "Dissertation" ท่านเท่านั้นละครับที่จะเป็นผู้เขียนความรู้ใหม่ใน "Business Management"

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants

Instant KM By Dr.Danai T.




เจาะกึ๋น KM ในเมืองไทย โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

กระแสของ KM หรือ Knowledge Management (การจัดการความรู้) ในบ้านเราดูจะเป็นเครื่องมือการจัดการที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วและสิ่งที่เกิดไปพร้อมๆ กันคือ กระจายไปบนความสับสนพอสมควร

มีส่วนราชการหลายแห่งได้เชิญให้ผู้เขียนไปบรรยายในเรื่องของ KM ติดต่อกันในช่วง 2-3 เดือน ผู้เขียนเลยถามว่าทำไมจึงสนใจกันมากขึ้นส่วนราชการที่ติดต่อมาได้ให้เหตุผลว่า เพราะจะต้องจัดทำแผนเรื่อง KM ส่งให้ส่วนกลางเพราะกำหนดให้ต้องส่งมิฉะนั้นตัวชี้วัดจะไม่ผ่านเพราะเขียนไว้ว่าจะทำในเรื่อง KM

มีคำถามเชิงสับสนมายังผู้เขียนว่า ระหว่าง KM กับ L/O (Learning Organization) หรือองค์การแห่งการเรียนรู้ ซึ่งในตอนหลังค่อยพบว่าเริ่มเข้าใจถูกต้องว่าอะไรต้องมีมาก่อนอะไร

ในช่วงที่มีน้ำท่วมถล่มบ้านเรือนในจังหวัดอุตรดิตถ์ทำให้ผู้เขียนนึกถึงว่าแต่ละจังหวัดต้องทำแผน KM แล้วอดนึกไม่ได้ว่า “ที่ป่าวประกาศว่ามีแผน KM มีภูมิปัญญาท้องถิ่น....ฯลฯ” สิ่งเหล่านี้บอกผลลัพธ์ที่ชัดเจนของเรื่อง KM ว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จ


KM ในภาคตำรา
ผู้เขียนเห็นว่าก่อนที่จะไปถึงเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ KM ซึ่งมีพัฒนากันหลายเวอร์ชั่นนี้ อยากสรุปนำให้เห็นถึงสิ่งที่โลกธุรกิจมีความเข้าใจเกี่ยวกับ KM นี้อย่างไรบ้าง
จากการสำรวจของ European Top 200 Companies (2000) พบว่า
1.KM ที่เข้าใจกันนั้นหมายถึงสิ่งต่อไปนี้
เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์การ ซึ่งสนับสนุนการแลกเปลี่ยนของสารสนเทศ ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างพนักงานและหน่วยงาน
เป็นวิธีที่บริษัทเน้นจริงจัง: ผลรวมของกระบวนทำงานที่กำหนดการสร้าง การกระจายและประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายองค์การ
2.โดยสรุปแล้ว KM หรือ การจัดการความรู้คือ
สิ่งที่สร้างนิยามขึ้นกันเองของธุรกิจ โดยให้นิยามว่า“ผลรวมของกระบวนทำงานที่สนับสนุนต่อการสร้าง การประเมิน การกระจายและการประยุกต์ความรู้เพื่อที่จะได้บรรลุเป้าหมายที่ได้นิยามไว้แล้ว”

3.ผู้เขียนจึงนำความรู้ดังกล่าวมาสรุปต่อยอดไว้ว่า
ความรู้เป็นกระบวนการด้านพลวัตของคนที่พิสูจน์ความเชื่อส่วนตนจาก “ความจริง”ความรู้ในองค์การหรือคนนี้จะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ แต่โดยทั่วๆ ไปจะมีอยู่ 2 ลักษณะโดยมีทั้งนิยามแน่ชัด (Explicit) และโดยปริยาย (Tacit) "เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงความรู้โดยปริยาย (Tacit Knowledge) บริษัทก็จะมีการปรับความรู้โดยนิยามแน่ชัด (Explicit Knowledge)Robert Buckman, CEO BUCKMAN LABS (1998)
ถ้าจะอ้างถึง Nonaka และ Takeushi (1995) ได้เปิดแนวคิดของ ความรู้ทั้ง 2 ลักษณะผ่านทางหนังสือ The Knowledge Creating Company ได้ให้ความหมายของความรู้ทั้ง 2 ลักษณะนี้ไว้ว่า
ความรู้โดยนิยามแน่ชัด (Explicit Knowledge) สามารถพูดได้อย่างชัดเจนในภาษาที่เป็นทางการ รวมถึงข้อความ ไวยากรณ์ ลักษณะตัวแบบคณิตศาสตร์ คุณลักษณะเฉพาะ คู่มือและอื่นๆ“ความรู้ชนิดนี้สามารถส่งถ่ายข้ามไปยังแต่ละบุคคลอย่างมีรูปแบบและง่ายๆ”
ความรู้โดยปริยาย (Tacit Knowledge) เป็นสิ่งที่มีภาษาเป็นทางการหรือรูปแบบ เป็นความรู้ส่วนบุคคลที่ฝังตรึงในประสบการณ์ของแต่ละบุคคล และเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความเชื่อของแต่ละคน มุมมองและระบบคุณค่า

การจัดการความรู้หรือ KM ตามที่ Nonaka และ Takeushi ให้นิยามไว้ดังนี้“การจัดการความรู้เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง การเผยแพร่ความรู้อย่างกว้างขวางโดยตลอดทั้งองค์การและการนำไปสู่ผลิตภัณฑ์/บริการ เทคโนโลยีและระบบใหม่อย่างรวดเร็วบางครั้งเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ”
และในการสร้างความรู้จะมีอยู่ 2 มิติดังภาพ

จากมิติของระดับความรู้ที่มีอยู่ในภาพ ความรู้จะถูกสร้างจากบุคคลเท่านั้น องค์การไม่สามารถสร้างความรู้โดยปราศจากบุคคล องค์การสนับสนุนการสร้างสรรค์ของบุคคลหรือจัดให้มีเนื้อหาเพื่อบุคคลจะได้นำไปสร้างความรู้ การสร้างความรู้ในองค์การควรจะมีความเข้าใจในกระบวนการที่เรียกว่า การขยายระดับความรู้ของบุคคลในองค์การ และการตกผลึกความรู้จะเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายความรู้ขององค์การ กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นภายในองค์การ เช่น ในรูปแบบของ “ชุมชนของการปฏิบัติ" ซึ่งเป็นการข้ามระดับหรือขอบเขตระหว่างกันหรือข้ามภายในองค์การ

สำหรับมิติด้านทฤษฎีความรู้นั้น โนนากะและทาเคอูชิ นำมาจากไมเคิล โพแลนยี (Polanyi’s 1996, อ้างจาก Nonaka & Takeuchi, 1995) ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่าง ความรู้โดยปริยาย (Tacit Knowledge) และความรู้โดยนิยามแน่ชัด (Explicit Knowledge) โดย โพแลนยี เห็นว่า มนุษย์จะได้มาซึ่งความรู้จากการสร้างและจัดการอย่างแข็งขันด้วยประสบการณ์ของตนเอง ความรู้จึงสามารถแสดงออกในรูป คำและจำนวน ซึ่งเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยขององค์ความรู้ (Body of Knowledge) ที่มีอยู่

ดังนั้นการสร้างความรู้จึงเป็นลักษณะของบันไดความรู้ขององค์การระหว่างความรู้โดยปริยาย และความรู้โดยนิยามแน่ชัด ผ่านวิธีการใน 4 วิธีคือ สังคมปะกิต (Socialization: S) การนำความรู้สู่ภายนอก (Externalization: E) การรวมเข้าด้วยกัน (Combination: C) และการรวมระหว่างกันโดยผ่านการเรียนรู้ (Internalization: I) ซึ่งมักจะเรียกกันว่า ตัวแบบทานากะเอสอีซีไอ (Tanaka’s SECI Model)

โดยรวมผู้เขียนให้ความหมายของการจัดการความรู้หรือKMว่าเป็นเครื่องมือ เทคนิคและกลยุทธที่รวบกระบวนการขององค์การ สารสนเทศ เทคโนโลยี กลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์การให้สามารถสนับสนุนการจัดการ และการเปลี่ยนแปลงความรู้และการเรียนรู้ของคนเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การปัญหาสำคัญของการใช้ KM ในเมืองไทยที่ผู้เขียนพบ จะมี

ความเข้าใจใน Tacit และ Explicit ไม่แน่ใจว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่

ที่ Nonaka และ Takeuchi บอกว่า Tacit Knowledge“เป็นสิ่งที่สามารถรู้มากกว่าที่เราจะสามารถบอกได้” (We can know more than we cal tell)” โดยอ้างมาจาก Polanyi (1983) เป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือไม่

มีงานวิจัยของ Tsoukas (2001) อธิบายว่า Tacit Knowledge ไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็น Explicit Knowledge และจะจัดการได้

นี่คือ สิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงภายหลังจากแนวคิดเรื่องนี้แพร่ขยายมากขึ้น ไว้คราวหน้าผู้เขียนจะเจาะกึ๋น KM ในเมืองไทยให้ลึกกว่านี้ครับ