Saturday, November 24, 2012

Tesco ประสบความสำเร็จอย่างมากในเอเซีย โดยเฉพาะ ไทย และ เกาหลี



          Tesco-Lotus ในประเทศไทย น่าสนใจและชวนศึกษามากว่า ใช้กลยุทธอะไรจึงประสบความสำเร็จ ในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษ ที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย



                      (*รูปจาก  http://www.tescolotus.net/new/tesco_format.php)

           หลังจากเครือซีพีนำ Tesco เข้ามาลงทุนในไทย (เมื่อคราววิกฤต เครือซีพี) ได้ขายหุ้นโลตัส 75% ให้กับเทสโก้ ยักษ์ค้าปลีกจากอังกฤษ เมื่อปี 2541 ในปีถัดมา เทสโก้ ได้ขยายสาขาในไทย จำนวน 24 แห่ง มียอดขายรวม 21,740 ล้านบาท
           จากนั้นจำนวนสาขาและยอดขายของเทสโก้ ก็ไต่อันดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปี 2543 มียอดขาย 33,340 ล้านบาท, ปี 2544 มียอดขาย 45,087 ล้านบาท, ปี 2545 ยอดขาย 54,340 ล้านบาท, ปี 2546 ยอดขาย 64,695 ล้านบาท และปี 2547 ยอดขาย 72,736 ล้านบาท
            ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทสโก้ ได้ทุ่มทุนปีละประมาณ 5,000 - 7,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อขยายสาขาให้ได้ตามเป้าหมาย ส่งผลให้เทสโก้ สามารถครองส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นประมาณ 39%
             ปี 2554 Tesco-lotus มีมากกว่า 900 สาขา ยอดขายกว่า 1.37 ล้านบาท
             และ ปี 2555 มีสาขา 1,092 สาขา  ยอดขายคงนับไม่ถ้วน  เครือซีพีเองก็คง พุดอะไรไม่ออกที่เห็น Tesco-lotus เติบโตไม่ 7-11 เป็นแรงเงา

            ส่วน Tesco ที่อังกฤษ อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก ยอดขาย ณ เดือน เมย. 2012  อยู่ที่ 99.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  จำนวน กว่า 6500 สาขา ดำเนินงานใน 14 ประเทศทั่วโลก

           สิ่งที่เป็นความสำเร็จ ในกลยุทธนั้น อยู่ที่  Business Model...(ค่อยมาว่าต่อวันหลังครับ)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Wednesday, October 31, 2012

CSR 2.0 แนวคิดใหม่ของ ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ


       เรื่องราว ทางการตลาดที่น่าสนใจ เรื่องหนึ่งคือ CSR แต่ปัจจุบันกำลังมีแนวโน้มใหม่คือ CSR 2.0 ลองอ่านดูครับว่าแนวคิดเป็นอย่างไร จะใช้กับธุรกิจในเมืองไทยได้หรือไม่

               



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Tuesday, October 9, 2012

Marketing 3.0 : การตลาด 3.0 รวมเล่มแล้ว


         จากบทความเกี่ยวกับการตลาด 3.0 ที่ผู้เขียน ถอดรหัสของ ปรมาจารย์คอทเลอร์ ออกมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เรื่องนี้ีมีการพูดกันในต่างประเทศ

         จนกระทั่ง ผู้เขียนไป บรรยายให้กับสถานศึกษา หลายแห่งที่สนใจเปิดแนวคิดใหม่ทางการตลาด 3.0 ให้กับ นศ. สถาบันต่าง ๆ ได้ฟังแนวคิดพร้อมตัวอย่าง
          
         ถึงเวลาแล้ว ที่ควรนำเนื้อหามาร้อยเรียงใหม่ เป็นรูปเล่ม ที่อัดแน่นด้วย 3 เรื่องราวของปรมาจารย์ คอทเลอร์ ซึ่งเป็นที่มาของ
...........หนังสือ "3 ไอเดียปรมาจารย์คอทเลอร์เขย่าการตลาดโลก ที่ช่วยให้ท่านที่ อ่านหนังสือ ทั้ง 3 เล่มที่กล่าวมานี้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
                 ตอนที่ 1  Chaotics (การตลาดจัดการความสับสนวุ่นวาย)
                 ตอนที่ 2  Marketing 3.0 (จิตวิญญาณการตลาด 3.0)
                 ตอนที่ 3  Winning at Innovation (ชัยชนะที่นวัตกรรม)
                 บทสรุป  บทเรียนนวัตกรรมระดับโลก
                 ท้ายเล่ม  3 ไอเดียปรมาจารย์คอทเลอร์เขย่าการตลาดโลก


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com
 

Monday, September 17, 2012

Facebook Generation (2) -สิ่งที่เป็นสาระสำคัญตอนนี้


 ได้เล่าเรื่องราวของ โลกธุรกิจยุคหม่ที่เป็น "ยุคของ Facebook" และก็ยังติดผู้อ่านไว้ว่า มีอะไรเป็นสาระสำคัญบ้าง  และมีผู้ติดตามว่าเมื่อไหร่จะนำมาลงให้อ่านกัน (ขอบคุณที่มาเตือนผู้เขียน)

อ่านได้  โหลด ได้ครับ..."สิ่งที่เป็นสาระสำคัญตอนนี้"




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการและที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Wednesday, September 12, 2012

ให้สัมภาษณ์นิตยสาร S+M ... "วัวสีม่วง Purple Cow" -Remarkable Marketing

อ่าน  "วัวสีม่วง Purple Cow" -Remarkable Marketing"                                                            บทสัมภาษณ์ ดร.ดนัย เทียนพุฒได้ในเล่มนี้ครับ





ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการและที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com



Monday, August 6, 2012

ทิศทางอุตสาหกรรมไทย 2020 : มองไกลเกินอาเซียน



ในวันที่ 1 ส.ค.55ที่ผ่านมาผู้เขียนได้รับเชิญจากสถาบันพระปกเกล้าให้ไปร่วมเสวนาเรื่อง "ทิศทางอุตสาหกรรมไทย 2020" ในหลักสูตร การบริหารสำหรับนักบริหารระดับกลาง กระทรวงอุตสาหกรรม
รุ่นที่ 23-24

รูปที่ 1 : การค่าดการณ์ทิศทางอุตสาหกรรมไทยสู่  2020



รูปที่ 2   ทิศทางอุตสาหกรรมไทยในระดับโลก   ระดับภูมิภาค และประเทศ ปี 2020


รูปที่ 3   Thailand Industries 2020 : Industry Roadmap



บรรยากาศออกรสชาดมาก เพราะผุ้เข้าอบรมให้ความสนใจและ ติดตามตลอดการเสวนา  ประธานรุ่น(คุณธนบูรณ์  เซ่งง่าย) ขอเอกสารประกอบการบรรยาย และเผอิญผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับให้กับ นสพ. In Marketing พอดีจึงสรุปเป็นบทความ 2 ตอน จบ คลิกอ่านได้เลยครับ 




อ่าน 1) ทิศทางอุตสาหกรรมไทย 2020 : องไกลเกินอาเซียน



 2) ทิศทางอุตสาหกรรมไทย 2020 : มองไกลเกินอาเซียน (2)


     ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Sunday, April 29, 2012

สุดท้าย Samsung ก็ก้าวแซง Nokia ขึ้น เบอร์1 ของโลกมือถือ



หลังจากที่ Nokia ครองแชมป์  เบอร์ 1 ของโลกือถือ มา 14 ปี ในปี่  Q 1  2012   ส่วนแบ่งการตลาดของ Samsung 25.4 % มีมากกว่า Nokia ที่  22.5 %  (ตาราง)

และยอดขาย Smartphone  ในตารางถัดไปทุกเจ้าเติบโตติดลบหมด เทียบกับปี 2011 เบอร์ 1 คือ Apple  เบอร์ 2 Samsung  และตามด้วย Nokia  (ตารางถัดไป)


 Global Handset Vendor Shipments and Market Share in Q1 2012 
           
Global Handset Shipments
(Millions of Units)       Q1 '11         Q1 '12
Samsung 68.9 93.5
Nokia 108.5 82.7
Apple 18.6 35.1
Others       160.4     156.7
Total               356.4     368.0

Global Handset Vendor
Marketshare %         Q1 '11     Q1 '12
Samsung 19.3% 25.4%
Nokia 30.4% 22.5%
Apple 5.2% 9.5%
Others       45.0%     42.6%
Total            100.0%     100.0%

Global Handset Shipments
Growth Year-over-Year % 19.4% 3.3%

 *อ้างจาก  http://tinyurl.com/ck93xsu.



Global Smartphone Supplier  Unit Shipments in Millions - Q1 2012 With Comparison To Q4 2011 - IHS iSuppli April 2012


Wednesday, April 25, 2012

คำตอบใหม่ใน “เจนเนอเรชั่นเฟซบุ๊ค (Facebook Generation)”




การศึกษาในทางธุรกิจและการตลาดจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า  พลังกระแสของโซเชียลมีเดีย  หรือ โซเชียลเน็ตเวิร์ก แรงจัดมาก ๆ และมีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยที่ธุรกิจจะเพิกเฉยและไม่ให้ความสนใจนั้นอาจจะทำให้ธุรกิจตกเทรนด์โลกไปเลยก็ได้  
                                                                                                                                                                                                                               
                         ผู้เขียนเห็นบริษัทประกันรายหนึ่ง ลงทุนสร้างกิจกรรมทางการตลาดให้คนมาถ่ายรูปและบอกถึงการส่งความสุขให้กับทุกๆ คน ที่เซ็นทรัลเวิลด์ สิ่งที่เป็นคำถามเชิงกลยุทธการตลาด คือ  โจทย์ที่ต้องการคำตอบคืออะไร  

  ในยุคเจนเนอเรชั่นเฟซบุ๊ค โซเชียลมีเดียได้เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในวิธีที่มนุษย์ ติดต่อหรือ เชื่อมโยงสื่อสารกัน  เรียนรู้ และร่วมมือต่อกัน ซึ่งทำให้เกิดเป็น “วาระใหม่ที่ทำให้ผู้นำธุรกิจในทุก ๆ ที่กระหายต้องการ “ สิ่งต่อไปนี้  
                          -ขับเคลื่อนธุรกิจจากตั้งรับไปเป็นเชิงรุก
                          -การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือ บริการ ให้เป็นสินค้าโภคภัณฑ์
                          -ต่อสู้กับความเป็นราชการในองค์กร
                          -สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับลูกค้า
                          -ยุยงส่งเสริมการรังสรรค์สิ่งที่ไม่ธรรมดา
                          -นำองค์กรไปสู่ศีลธรรมในอีกระดับ
                           -ดำเนินการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนแปลง
                          -สร้างบริษัทที่ ฟิตจริง ๆ กับอนาคต

                         นั่นคือสิ่งที่ ผู้นำธุรกิจต้องการ คำตอบและโซลูชันใหม่ของ การบริหารจัดการ กลยุทธธุกิจและการตลาด ซึ่งคงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
                         ผู้เขียนคิดว่า Gary Hamel ได้ให้คำตอบไว้ในหนังสือเล่มใหม่ “What Matters Now” (เพิ่งวางตลาด มกราคม 2555 นี้เอง) มีคำตอบที่น่าสนใจครับ                  
                          อยากยกตัวอย่างให้เห็น เกี่ยวกับ “ลำดับขั้นในโซ่ประสบการณ์ของลูกค้า” ที่เปลี่ยนใหม่เพื่อให้ได้คำตอบแก่ธุรกิจดังนี้
                          Discovering : ลูกค้ามีวิธีการอย่างไรที่จะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ บริการของเรา  และอะไรที่ทำให้เกิดการตระหนัก และแพร่ขยายไปได้อย่างรวดเร็ว
                         Learning : ลูกค้ารู้จักผลิตภัณฑ์หรือ บริการของเราและคู่แข่งได้อย่างไร  ที่ไหนที่ลูกค้าจะไปเพื่อการเรียนรู้และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ
                         Buying : ลูกค้าทำการ(สั่ง)ซื้อหรือ ทำรายการ กับบริษัทของเรา  อะไรคือพลวัตของกระบวนการซื้อ
                         Acquiring : ลูกค้านำสินค้าไปได้ (ขนส่ง) อย่างไร   การขนส่งเช่นไรที่ลูกค้าทำจากบริษัท หรือ ร้านค้าไปยังบ้านของลูกค้า    
                        Using: ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการในชีวิตประจำวันอย่างไร  อะไรที่ลูกค้าทำจนได้ประโยชน์สูงสุดจากผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ       
                        ส่วนคำตอบใหม่ เป็นเรื่องของคุณค่า (Values)  นวัตกรรม (Innovation) การปรับตัว (Adaptability) ความหลงใหล (Passion) และอุดมคติ (Ideology)   ท่านใดอยากรู้เร็วก็หาซื้ออ่านได้ หรือ เจอกันฉบับหน้าจะเก็บคำตอบมาให้ครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Monday, April 16, 2012

Scenario Based Strategy




        ผู้เขียน นึกถึง การบรรยายที่ผ่าน ๆ มา  บางครั้งในเรื่อง กลยุทธ ได้รับเชิญให้บรรยาย
- 3 ชั่วโมงบ้าง เพราะผู้จัดหรือบริษัทมีเวลาเท่านี้
- บางครั้งมีเวลา 1 วัน อยากเรียนเรื่องการจัดการเชิงกลยุทธแนวใหม่ พร้อมฝึกปฏิบัติ
-บางครั้ง มีเวลาเต็มที่ 2-3 วัน ขอให้เสร็จแล้วได้ Action plan ออกมาเลย
-บางครั้ง บอกว่า เรื่องนี้ เวลา 3 ชม. น้อยไป อย่าสอนเลยดีกว่าเพราะต้องพูดเป็นวัน ๆ

         สารพัดครับ ในทัศนะของผู้เขียนซึ่งทำเรื่อง "จัดการเชิงกลยุทธแนวใหม่"  ถามผมว่าเวลาีมีความสำคัญไหม ถ้าตอบจริงๆ หากต้องการได้ผลสูงเวลามีความสำคัญมาก ครับ
         ขณะเดียวกันเวลาของบริษัทที่ให้พนักงาน หรือผู้บริหารมาอบรมก็สำคัญเช่นกัน
         จึงไม่ได้อยู่ที่เวลามากหรือน้อยไป
         วิทยากรระดับมืออาชีพแล้ว เวลาเท่าไหร่ก็เท่านั้น ขอให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้เป็นสำคัญ
         ...คงต้องปรับเนื้อหาให้เหมาะสม
         เช่นกันครับในเรื่อง Scenario planning หากบรรยาย 3 ชม. ก็เป็นแนวคิด และตัวอย่างของการปฏิบัติจริงในธุรกิจ แต่หากต้องการ ฝึกปฏิบัติก็ทำได้ แต่ต้องบอกล่วงหน้า แต่ผลได้เป็นการเห็นกระบวนการทำ ไม่ได้ผลต่อเนื่องจนชำนาญ
         แต่ถ้ามีเวลา 1 วัน ก็น่าสนใจครับ
          -ได้เรียนรู้แนวคิด ที่มา และ การเริ่มต้นทำ  "ทัศนภาพ(Scenarios)"
          -ได้ทดลองขั้นตอนการทำ วิเคราะห์แนวโน้ม ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอน
          - และนำไปสู่ Scenario 2x2 Matrix
         ส่วนการจะปรับ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ คงได้เพียงการแนะนำ เนื่องจากเวลาไม่พอ ที่จะดำเนินการ

        เห็นไหมครับ ทำได้ทั้งนั้น อยู่ที่ มีเวลาให้เท่าไหร่ ผลที่อยากได้ก็เต็มที่ตาม          เวลา แต่ไ่ม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ .. อันนี้เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของผู้เขียน

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Sunday, March 18, 2012

สิ่งที่เป็นสาระสำคัญตอนนี้ ...ของธุรกิจ


เรื่องราวตอนนี้ เป็นข้อเขียนที่ลงให้กับ นสพ. Global Business สรุปสาระสำคัญจากหนังสือ ของ Gary Hamel เล่มล่าสุด "What Matters Now: How to Win in a World of Relentless Change, Ferocious Competition, and Unstoppable Innovation" 




วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com


Saturday, March 3, 2012

การวางพื้นที่กลยุทธของ Tesco Lotus




หลังจากที่สัญญาว่าจะเล่าเรื่องราวของกลยุทธ ให้มันส์ เลยขอเริ่มจาก "เทสโก้ โลตัส"  ถือเป็นห้างต่างชาติในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จสูงรายหนึ่ง

"การวางพื้นที่กลยุทธของเทสโก้ โลตัส"  อ่านข้อเขียนได้ครับ พร้อมรูปประกอบ








วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com


Friday, March 2, 2012

ร่ายยาวเรื่องกลยุทธ โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ



   ถ้าจำไม่ผิด ก่อนปี 2540 ผู้เขียนได้เขียนบทความ หลายเรื่องและสืบเนื่องเกี่ยวกับ  "กลยุทธ (Strategy)" พอปี 2540 หนังสือเล่มแรกที่เกี่ยวกับกลยุทธของผู้เขียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยให้ ชื่อว่า "วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ (Strategic Profile)"  เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ

    หลังจากนั้น ไม่นาน   หนังสือชุดดัชนีวัดผลสำเร็จธุรกิจ (KPIs) และ การประเิมินองค์กรแบบสมดุล (BSC)  หรือ พูดง่าย ๆ ว่า  BSC & KPIs  เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในรูปเอกสาร และมีการกล่าวขวัญถึง จึ่งนำไปสู่การพิมพ์ครั้งแรก ปี 2542   และพิมพ์ต่อเนื่อง มาเป็น  ภาคที่ 1 โมเดล KPIs เพื่อ Benchmarking   ภาคที่ 2 BSC เวอร์ชั่น 3.0  ภาคที่ 3 คิดเชิงกลยุทธ  ในปี 2547

หลังจากนั้น ยังมีอีกเล่มคือ   4 กลยุทธขั้นสูง Balanced Scorecard  และทิ้งท้ายในปี 2549 ด้วย ดัชนีวัดองค์กรที่มุ่งการตลาด (Marketing KPIs)

  พอช่วงหลัง ๆ วิธีการอบรมในบ้านเรา ไ่ม่จำเป็นต้องมีเอกสาร  มีแค่ เอกสาร Power point ประกอบการบรรยายก็พอ  ทำให้ผู้เขียนไม่ได้ หยิบหนังสือเหล่านี้มาปรับปรุง ยังคงเดินหน้า ลงลึกในการเป็นที่ปรึกษาและบรรยายอย่างต่อเนื่องให้กับธุรกิจ พร้อมกับการกลับเข้ารั้วมหา'ลัยไปเติมความรู้ใหม่ ๆ ในระดับปริญญาเอก

ขณะเดียวกันก็มีผู้สนใจสอบถามและติดตามมาอย่างต่อเนื่องเช่นกันว่า ไม่ปรับปรุงใหม่หรือ หรือ ไม่เขียนเกี่ยวกับกลยุทธออกมาอีกบ้าง  คงได้แต่ดีใจครับที่มีคนติดตามและถามถึง

แต่จริง ๆ แล้ว แทบไม่ีมีเวลา เพราะ งานด้านการวิจัยในมหา'ลัย ที่ผู้เขียนเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ ตั้งแต่ ปี 2551 ทำให้เดินหน้าไปเน้นด้านอื่น พอได้หยิบจับบ้างแต่ก็ไม่ได้ลงมือเขียน คิด ๆ ขีด ๆ ไว้เป็นแนวทางอยู่บ้าง อย่างเก่งก็ว่าบนบล็อก หรือ เป็นบทความลงใน  นสพ.  หรือ แม๊กกาซีน.... เผลอแป๊บเดียว  15 ปี เข้าไปนั่น

ประสบการณ์ทั้งการเป็นที่ปรึกษาทางกลยุทธ  การบรรยายสอน In-House ด้านจัดทำกลยุทธ  และ การสอนทั้งปริญญาโท -เอก  น่าจะพอที่ตกผลึก ออกมาเป็นเรื่องราวทางกลยุทธ ที่สามารถเร้าใจ และชวนติดตามได้มากทีเดียวครับ

ร่ายยาวเรื่องราวทางกลยุทธ ....ได้เวลาที่จะเปิดม่านบนเวทีธุรกิจ นับแต่ นาทีนี้  ติดตามได้พร้อมรับประกันความมันส์

  ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Monday, January 30, 2012

Nokia ยังจะรักษาแชมป์ ได้อีกนานแค่ไหนในปี 2012


     ปรากฎยอดขาย มือถือ และ สมาร์ทโฟนในปี 2011  โดยการวิเคราะห์ของ Strategy analytics  โนเกีย ยังคงมียอดขายอันดับ 1 ตามด้วย ซัมซุง และ แอปเปิล ทั้ง 2 ตลาด

Global Handset Vendor Shipments and Market Share in Q4 2011 1

Global Handset Vendor Shipments and Market Share in Q4 2011

1 Numbers are rounded.
(http://www.strategyanalytics.com/default.aspx?mod=pressreleaseviewer&a0=5169)




ยังไงคงไม่สามารถกระพริบตาได้ น่าจับตามองระหว่าง ซัมซุง และแอปเปิล ที่จะช่วงชิงกันอย่างไร และมีคดีความกันอยู่ทั่วโลก


 ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Tuesday, January 24, 2012

กลยุทธการตลาด และธุรกิจ ปี 2012


ผู้เขียนมอง ปี 2012 เป็นปีที่ยากกว่าปีที่ผ่านมาเพราะ  มีความไ่ม่แน่นอนเกิดขึ้นมากกว่าอดีต โดยเฉพาะประเทศไทย ยิ่งไม่ีความแน่นอน ในเรื่อง "มหาภัยน้ำท่วม"  "ครม. ชุดปัจจุบัน ปี 2555  ที่ ไม่แน่ใจว่าจะนำพาประเทศไปรอดไหม หรือ แข่งกับชาวโลกได้อย่างไร"  เพราะโลกนี้แข่งขันด้วยคนที่เก่งและความสามารถสูง ขณะที่คนนำและกำหนดนโยบาย ไม่ได้มีอะไรเข้าตากรรมการเอาเสียเลย

อ่านข้อเขียนเรื่อง  "ก้าวสู่ยุคการจัดการความไม่แน่นอน" ดีกว่า





ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com



Monday, January 16, 2012

Ultrabook : อนาคตของ Notebook และอนาคตของอินเทล



ผู้ผลิต พีซี กำลังเดินทาง  สู่เส้นทางมรณะ เพราะผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม  และการคาดการณืของนักวิเคราะห์ต่างบอกว่า อีกไม่นานเกินรอ ธุรกิจพีซีต้องจบชีวิตลงอย่างแน่นอน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการปรับตัวและไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี คือ
รุ่นพีอย่างโกดักทีอย่าว่าแต่ปรับตัวเลยเปลี่ยนธุรกิจก้ยังไม่ทัน  แม้ว่าจะหันมาทำตลาดกล้องแล้วก็ตาม พวกสมาร์ทโฟน ก้ยังตามมาหลอนหลอก ...จึงต้องถึงกาลอวสาน อีกไม่นานนัก เพราะอยู่ในภาวะล้มละลาย.
   

การดิ้นรนของอินเทลน่าสนใจ  ...อินเทลปิ๊งไอเดีย “อัลตร้าบุ๊ก” โน้ตบุ๊กรุ่นบางเฉียบและน้ำหนักเบา

อัลตร้าบุ๊ก นิยามใหม่ของพีซี
อินเทลเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพีซีด้วยการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ด้านการประมวลผลอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดคือการสร้างสรรค์อุปกรณ์กลุ่มใหม่โดยใช้ชื่อว่า อัลตร้าบุ๊ก เพื่อสร้างสุดยอดประสบการณ์ในการประมวลผลคอมพิวเตอร์อย่างไร้ที่ติภายใต้ดีไซน์ที่บางเฉียบเรียบหรู
ภายใต้การพัฒนาบนพื้นฐานตามความต้องการของผู้บริโภคและการเอื้อต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้ ทำให้อัลตร้าบุ๊กได้รับความสนใจอย่างมากตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา โดยภายในปีนี้ จะมีการจัดส่งอัลตร้าบุ๊กที่มีดีไซน์บางเฉียบ ตอบสนองได้รวดเร็วและปลอดภัยเป็นพิเศษออกสู่ตลาด
  (อ้างจาก http://www.ryt9.com/s/prg/1319690)




Ultrabook กับ ทัชแพดโปร่งแสงของ Nikiski จะมีลักษณะเป็นชิ้นแก้วใส โดยมีฟังก์ชันการทำงาน 2 หน้าที่ด้วยกันคือ เป็น"ทัชแพด"สำหรับโน้ตบุ๊ค Windows 7 ในขณะที่สามารถแปลงร่างเป็น"หน้าจอสัมผัส"ภายนอกเมื่อปิดหน้าจอโน้ตบุ๊ค
(http://www.arip.co.th/news.php?id=414737)

 พร้อมทั้งเดินหน้าผลิตชิปประมวลผลแบบกินไฟน้อย เพื่อรองรับโน้ตบุ๊กประเภทนี้ ขณะที่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ก็เห็นดีเห็นงามกับนวัตกรรมนี้



 ป.ล.Ultrabook คือ รูปแบบ Notebook ที่คาดว่าจะเป็น notebook รูปแบบใหม่ในอนาคตนั่นเอง   



(http://www.arip.co.th/news.php?id=414343)

ซึ่งจุดเน้น  ของ Ultrabook มีความบางเบามากเป็นพิเศษ  โดยใช้ SSD เป็นตัวเก็บข้อมูลทำให้โหลดและเซฟงานได้เร็วมาก โดยมาตฐานของอินเทลระบุความหนาไว้ที่ ไม่เกิน 21 มม. ต้องมีระยะเวลาของแบตเตอรี่อย่างน้อย 5-8 ชม.  ถ้าใช้โหมดแสตนบายจะต้องเปิดได้ภายในเวลา  2 วินาที และมีระบบความปลอดภัยดีเยี่ยม และราคาไม่เกิน 1,000 USD ซึ่ง Ultra book นั้นก็มีลักษณะคล้ายกับ Macbook Air
โดย Ultrabook นั้นสามารถทำได้ทุกอย่างที่ tablet ทำได้ (รวมถึงสัมผัสหน้าจอ) แต่ Ultrabook นั้นจะมีคีย์บอร์ดด้วย
asus ux21 frontNetbook ส่วนใหญ่จะมีสินค้าระดับล่างถึงกลาง ปัจจุบัน Ultrabook จะมาจับตลาดกลุ่มกลางและกลุ่มบน โดยมีสมรรถนะที่ดีกว่า netbook
โดยในอนาคตนั้น Intel คาดว่า 40% ของโน้ตบุ๊คที่วางจำหน่ายในปี 2012 จะเข้าข่าย Ultrabook

(http://goo.gl/D863O)


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


Sunday, January 15, 2012

การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับธุรกิจ




 ผู้เขียนจำได้ว่า  Porter พูดไว้นานแล้วว่า การแข่งขันของประเทศ เมื่อผ่านยุคของ ผลิตภาพ (Productivity)  ก็จะเข้าสู่ยุคของ ความรู้ หรือ เศรษฐกิจความรู้  ขณะที่ผู้เขียนเริ่มเห็นว่าในช่วง 20 กว่าปีมานี้ เรื่อง นวัตกรรม ธุรกิจในสหรัฐ และยุโรป ต่างให้ความสนใจกันโดยมีมาโดยตลอด
  และได้ขยายขอบเขต หนีออกจาก R&D ที่เป็น วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ไปสู่มิติอื่น ๆ ของความรู้

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การมองที่ Stage-Gate Model ซึ่ง Cooper เสนอไว้นานแล้ว (เพิ่งปรับโมเดลใหม่ เมื่อปีที่แล้ว)   ขณะที่ Kotler  บอกว่า ทศวรรษใหม่นี้ "ชัยชนะอยู่ที่นวัตกรรม"  หรือ "ชัยชนะที่นวัตกรรม"  และล่าสุด Gary Hamel ในปีนี้ ก็มาด้วยคำตอบใหม่ ที่  คุณค่า  นวัตกรรม การปรับตัว ความหลงใหลและ อุคมคติ  

เมื่อผู้เขียนได้ สอนเกี่ยวกับ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการพัฒนาเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมและแบบทดสอบคิดสร้างสรรค์  ผ่านการทดสอบมานานพอสมควร 
ในปี 2011 ได้พัฒนา The SIAM Innovation Model   พร้อมกับเขียน เล่มใหม่ต่อจาก โลดแล่นไอเดียในธุรกิจและนวัตกรรม  คือ  


พร้อมกับการเปิดตะลุย และรับเชิญบรรยายในเรื่องนี้ ภายใต้ชื่อ  InnoCreative Management - การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์

 และที่เพิ่งผ่านไปเมื่่อวันที่ 12 ม.ค.55 โดยจัดหลักสูตร การจัดการนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ สำหรับธุรกิจ  ร่วมกับ ฝ่ายส่งเสริมการค้าและการลงทุน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไปเป็นที่เรียบร้อย






วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com