Thursday, December 30, 2010

การตลาดประเทศไทย 2554

 

เห็นตัวเลขการตลาดท่องเที่ยวประเทศไทย ปี 2554 แล้วน่าตี่นเต้นมา

.... สำหรับในปี 2554 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หากไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใดมากระทบแล้ว ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไปในปี 2554 โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยประมาณ 16.33 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และก่อให้เกิดรายได้ด้านการท่องเที่ยวเข้าประเทศคิดเป็นมูลค่าประมาณ 555,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 .....(จาก K SME Analysis ) 
     แม้ว่าขัอมูลดังกล่าวจะเป็นการวิเคราะห์ ของธ.กสิกรไทยแต่มาจากตัวเลขของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ที่ประมาณการ จากกระทรวงท่องเที่ยว (จากการท่องเที่ยวแห่งประเทสไทยนั่นเอง)
....นายชุมพล ศิลปอาชา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่าขณะนี้ได้รับรายงานตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยในปี 2552 มาแล้ว โดยรวมทุกด่านมีชาวต่าง
ชาติเดินทางเข้ามารวม 14,094,631 ล้านคนสร้างรายได้เข้าประเทศรวม 527,000ล้านบาท .....(จาก
http://www.oknation.net/blog/SIAM1932/2010/01/09/entry-1)

ผู้อ่านคิดว่าตัวเลชดังกล่าวมีความเป็นจริงได้แค่ไหนมากน้อยเท่าไหร่
 1.ข้อมูลจากรับบาลที่เพิ่งบอกเมื่อต้นปี 2553 ว่า  วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบ 2554 มีวงเงิน 2.07 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2553 และเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน
  - รายจ่ายเพื่อการลงทุน 3.41 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 16.5% ของงบประมาณรวม และเพิ่มขึ้นจากปีงบ 2553 จำนวน 1.27 แสนล้านบาท (http://www.moneychannel.co.th/Menu6/HardTopics/tabid/109/newsid569/106784/Default.aspx)

   หากดู รายได้จากการท่องเที่ยว แต่ละปีไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท มากกว่ารายจ่ายเพื่อการลงทุนของประเทศทั้งปี เกื่อบเท่าตัว นั่นหมายความว่า การลงทุนในประเทศต้องมากกว่าที่รัฐบาลทำในด้าน
เศรษฐกิจ และเศรษฐกิจต้องดีกว่าปัจจุบันแน่นอน


 2. เราจะพบว่าคนไทยซึ่งได้เปลี่ยนแนวทางการท่องเที่ยวจาก เชียงใหม่ ไปที่อื่นซึ่งดีกว่าน่าสนใจกว่าและ ยังมีอะไรที่ไม่ได้เที่ยวอีกเยอะ เช่น ปากช่อง เขาใหญ่ วังน้ำเขียว น่าน แพร่  เพชรบูรณ์(เขาค้อ)
เลย (เชียงคาน) ในปีใหม่ปีนี้ 2554 จึงมีคนมากันมาก และที่สำคัญทางอีสาน อากาศตามยอดเขาหนาวสุด ๆ ได้บรรยากาศจริง ๆ

(บ้านน้ำเพียงดิน เขาค้อ) 
                                        

3.สิ่งที่น่าเสียดายและกำลังเกิดคือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าว ดำเนินรอยตาม วิธีการเดิม ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จแล้ว
  เช่น การสร้างรีสอร์ท ต่าง ๆ เกิดขึ้นโดยไม่มีการควบคุมจาก ระดับท้องถิ่นเพราะคิดแต่รายได้อย่างเดียว
        การจัดร้านค้าชาวเขาขายของที่ระลึก และวิถีชาวเขา ตามจุดท่องเที่ยวต่าง กรณีของเขาค้อ หินร่องกล้า หรือ แหล่งท่องเที่ยวของ จ. เพชรบูรณ์ ทั้งหมด สินค้าที่ขายพวกของที่ระลึก ไม่มีความแตกต่าง พอซื้อที่แรก ไปทีจุดอื่น ๆ หรือ พอไปอีกที่ก็ซ้ำกัน (เชียงใหม่เป็นกรณีศึกษาที่ดีถึงความล้มเหลวในการลงทุนและการตลาด ของที่ระลึก เพราะเหมือนกันหมดจึงตายในที่สุด)
       ทำให้คิดว่าอาจมีนายทุนกลุ่มหนึ่ง จัดจ้างชาวเขามาขายของตามจุดต่าง ๆ และส่งสิ้นค้าให้  ทำให้ชาวเขาถูกจัดฉากขายของที่ระลึก และวิถีชาวเขา ซึ่งได้รับแต่ค่าจ้าง ไม่ใช่ของจริง


ดังนั้นหากต้องการทำการตลาดท่องเที่ยวจริง คงต้องคิดใหม่ ไม่ใช้วิธีเดิม ๆ
   เช่่น  # การท่องเที่ยวฯ ต้องคิดกลยุทธในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดท่องเที่ยวจาก นักท่องเที่ยวในประเทศต่าง ๆ มากกว่าการเพิ่มงบประมาณจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่ม
          # และวิธีการทำงานเพียงการจ้างบริษัทท้องถิ่นทำการตลาดให้ประเทศไทย เพื่อให้คนของเขามาประเทศเรา ใครเขาจะทำให้ได้จริง ๆ  หรือ การใช้เงินจ้าง นสพ. (มาเที่ยวแล้วเขียนเชียร์ประเทศไทย)
ให้เขียนถึงประเทศไทย กับ การที่สื่อระดับโลกออกข่าว ด้านลบของประเทศโดยเฉพาะการเมือง และอาชญากรรม กับประเทศเพื่อนบ้านตีประเทศไทยด้านลบ งบการท่องเที่ยว 6 พันกว่าล้านก็สูญเปล่า
          # และการทำตลาดท่องเที่ยวในประเทศอยากให้ผู้ประกอบการอย่าเดินตามรอย เชียงใหม่  พัทยา ภูเก็ต (ยังพอไปได้แต่เป็นด้านอสังหาริมทรัพย์มากกว่าท่องเที่ยว)  เพราะหมดจุดขายไปนานแล้ว

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
โทร 029301133

Saturday, December 25, 2010

มองทิศทางธุรกิจปี 2012 โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ



นักธุรกิจและการตลาด ชอบมองและคาดการณ์ เหตุการณ์ปีต่อปี ขณะที่ผู้เขียน ชอบมองอะไรที่มากกว่า จึงคาดการณ์ธุรกิจในปี 2012 เสียให้รู้แล้วรู้รอด เชิญติดตามอ่านและโหลดได้ดร.ดนัย เืทียนพุฒ มองทิศทางธุรกิจปี 2012

Tuesday, December 21, 2010

ปีใหม่ กลยุทธใหม่ 2011 : ดร.ดนัย เทียนพุฒ



คราวที่ ดร.ดนัย ไปบรรยายหลักสูตร ประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สำหรับปี 2553  ในหัวข้อ เกี่ยวกับมิติใหม่ของกลยุทธธุรกิจกับการบริหารคน ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้น กลยุทธธุรกิจและทำไมถึงต้องมาบริหารคน

มีประเด็นที่ ผู้เขียนได้หยิบยกการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ ธุรกิจของ Sony  Samsung LG และ Apple  ในตลาด Handset
...มีบางคนบอกว่าเคยฟังเรื่อง โซนี่มาหลายครั้งจากวิทยากรท่านอื่น... ก็ของเดิม ๆๆ นั่นแหละ-ผู้เขียน

สำหรับผู้เขียนแล้ว คนละประเด็น เพราะ ได้พูดถึงการปรับตัวของโซนี่ เมื่อต้องต่อสู้กับ Apple และ Samsung พร้อมถึงการใช้ นวัตกรรม ในกลยุทธ Make.Belief (อ่านว่า เมคดอทบีลีฟ) ซึ่งเป็นกลยุทธใหม่ของโซนี่ในปี 2553  (จะไปฟังได้ไง..555 )

กลยุทธใหม่ ---> Faster Up to Date 
เรื่องราวที่เคยรู้ ที่เคยได้ยิน นึกว่าจะเหมือนเดิม ในโลกธุรกิจปัจจุบันนี้  "ไม่ใช่แล้ว"  โลกใบนี้เร็วกว่าเดิม แข่งขันสูงกว่าเดิม  ฬครที่บอกว่าสร้างมูลค่าแล้ว ไม่มีการแข่งขันไม่ใช่ครับ ยิ่งแข่งขันมากกว่าแต่ก่อนดดยใช้ความรวดเร็วกว่า่ 


ชิงช้าไฮเทค ที่ สิงคโปร์


ขณะเดียวกันมีเจ้าของกิจการ ต่างจังหวัดบางท่าน ถามผู้เขียนในขณะบรรยายเชิงเปรียบเทียบว่า

..มีลุงคนหนึ่งไม่ได้ทันสมัย  ไม่ได้ไฮเทค อีเมล์ หรือ อะไรก็ไม่รู้จัก ใช้ชีวิต ตามประสาคนต่างจังหวัด 

เผอิญ วันหนึ่งมีหนุ่มนักเรียนนอกตรงกันข้ามกับลุง ได้ อาศัยลุงให้พายเรือข้ามฟาก หนุ่มนักเรียนนอก
พอนั่งเรือไปวักพอรู้สึกว่าสบายตัดขาดทุกอย่าง ก็บอกกับลุงว่า ผมได้ชีวิตคือกลับมาครึ่งหนึ่ง

ลุงเองก็เลยถามว่า ว่ายน้ำเป็นไหม หนุ่มฯ บอกว่าไม่เป็น...
ลุงก็เลยบอกว่า ถ้าเรื่อล่ม ชีวิตจะหายไปทั้งชีวิต... 

ผู้เขียนจึงตอบไปว่า อย่างแรก โลกาภิวัฒน์นี้ เทคโนโลยี และความเจริญไม่ได้หมายความว่า เราสามารถไม่รับหรือไม่รู้ แต่มันเข้าถึงตัวเรา อยู่ที่ว่าจะรู้จักใช้มัน หรือ เป็นทาสมัน ลุงเองไม่รู้จัก พลอยยินดีว่าไม่มีก็ไม่เห็นเป็นอะไร  แต่หากเรารู้จักใช้ประโยชน์ได้เราก็ได้ประโยชน์ ในการดำเนินชีวิต ทำมา
หากิน

ต่อมา เราเองไม่เข้าใจหรือไม่สามารถ จัดการความเจริญ ให้สามารถ อยู่ร่วมกันได้ในหลากหลายวัฒนธรรม ไม่ว่า จีน ญี่ปุน เกาหลี ใต้หวัน คนของเขา อยู่ร่วมกันได้ทุกวัฒนธรรม ขณะที่คนไทย
ไม่เข้าใจ ถ้าเป็นสังคมอุตสาหกรรมก็ต้องเลิกการเกษตร  พอเป็นยุคสารสนเทศ เทคโนโลยี่ ก็จะเลิอุตสาหกรรม  พอพูดกันเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็จะทิ้งเศรษฐกิจแบบเดิม กลับไปพูดกันเรื่องออกแบบ คิด  ๆๆๆ     สารพัด จากสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนแต่อยากมี อยากเป็นกับเขาบ้าง
แล้วก็มักอ้างต้องใช้ปรัีญญาเศรษฐกิจพอเพียง -ไม่แน่ใจว่าเข้าใจแก่นของปรัญญาหรือไม่ อาจรู้งู ๆ ปลา 
ว่าตามเขาให้ดูดี

เหมือนคำถามแบบตัวอย่างข้างต้น พูดให้เหมือนดูดี แต่อธิบายหาคำตอบไม่ได้

 Marina Bay Sands ที่ Marina bay ประเทศสิงคโปร์

กลยุทธ การจัดการความหลากหลายและซับช้อนของวัฒนธรรม ที่ต้องให้อยู่และใช้ร่วมกันได้ 
อย่างเข้าใจไม่ตกเป็นทาสของวัฒนธรรมระดับใด สังคมประเทศใด แต่ฉลาดในการเลือกใช้ และใช้ได้อย่างเพียงพอมีความสุข

การเรียนรู้ เทคโนโลยี กลยุทธ และ การจัดการใหม่ จึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่ที่สำคัญมาก ๆ 
"การปรับใช้"  "การพัฒนาต่อยอด" สุดท้าย "สร้างใหม่ให้มีขึ้นใช้ได้เองในสังคมและโลกธุรกิจ"
นี่ต่างหาก ที่เป็น ปรัชญาการจัดการธุรกิจ ที่เจ้าของธุรกิจ หรือ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาค้นคว้า ไม่อาจทำความเข้าใจ และอาจไม่มีวันเข้าใจได้เลย ถ้าหวังเพียงการอ่านจากหนังสือพิมพ์  ฟังบรรยายจากการสัมมนา ฟังเคล็ดลับเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย แต่ขาดวิธีการสร้างองค์ความรู้ และสามารถที่จะหยิบฉวยไปใช้ได้กับธุรกิจ

ทั้งหมดนี้ละครับ เป็นข้อคิดทางกลยุทธที่อยากให้ผู้บริหารธุรกิจได้คิดทบทวนในปี 2011 หากเป็นไปได้ลองขบคิดในแต่ละประเด็นท่านจะมีกลยุทธใหม่ที่ดีกว่าเดิมอย่างแน่นอน