Saturday, March 10, 2007

จะทำ Thesis และ Dissertation ให้สำเร็จได้อย่างไร

Research-To-Go (1)

จะทำ Thesis และ Dissertation ให้สำเร็จได้อย่างไร
การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา ไม่ว่าจะเป็นปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก
สิ่งที่เป็นปัญหาคาใจและไม่สามารถดำเนินไปได้จนสำเร็จภายในเวลาที่กำหนด หรือ
ยากมากที่จะลงตัวทำให้ได้ทั้งการหาหัวข้อการวิจัยการจัดทำProposal
การออกแบบวิธีการวิจัยฯลฯและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำดุษฎีนิพนธ์ยิ่งยากไปกว่า
วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
ดร.ดนัย เทียนพุฒ จะได้เล่าและให้แนวทางการทำใน The Business-Knowledge Management(KM) Thailand ที่นี่ครับ

คำถามหรือประเด็นที่ชอบพูดกันมากที่สุดเมื่อเข้ามาเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา
คงนี้ไม่พ้นจะถามเกี่ยวกับการวิจัย เช่น
- จะทำวิจัยเรื่องอะไร ?
-ได้หัวข้อวิจัยหรือยัง ?
-มีความสนใจในเรื่องอะไรอยู่ละ ?
ยิ่งในกรณีที่ต้องส่ง Proposal มาก่อนตอนสมัครเข้าเรียนโดยเฉพาะระดับ ป.เอก ด้วยแล้ว
พอเข้ามาก็-อยากจะเปลียนบ้าง - มีความสนใจใหม่ -เรื่องที่เสนอไว้เดิมยังมองไม่ชัดนักว่าจะทำอย่างไร ?-ไม่รู้จะเริ่มที่ไหนดี หรือ ใครจะมีคำตอบให้บ้าง ?ฯลฯ
เอาเป็นว่า "จะหาหัวข้อวิจัยให้โดนใจได้อย่างไร ?"จะเล่าให้ฟังเลยครับ

อย่างไรจึงจะเรียกว่า "หัวข้อวิจัย"
ลองพิจารณาข้อความต่อไปนี้
-ความสนใจของผู้วิจัยในเรื่อง "Event Marketing"
-การศึกษาจุดกำเหนิดของคลัสเตอร์ธุรกิจ (Business Cluster) ในประเทศญีปุ่นเพื่อนำมาปรับในใช้ประเทศอาเซียน
-วิธีการเก็บรวบรวมขัอมูลด้วยเทคนิคโฟกัสกรุ๊ป (Focus Group Technic)
-การจัดทำโมเดลวิเคราะห์สาเหตุเชิงโครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบในวิสัยทัศน์ธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เกี่ยวกับการจัดทำ Dissertation ของนักศึกษาปริญญาเอกโปรแกรมการจัดการธุรกิจ
-ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนรากหญ้าพบว่า "เน่า"
-เกิดรูปแบบความรู้ที่แท้จริงในการจัดการความรู้ (KM) ของเครือข่ายชุมชนในประเทศไทยจริงหรือ

หากใครสามารถตอบได้ว่า
1.อันไหนเป็นหัวข้อการวิจัย
2.อันไหนเป็นแค่ความสนใจของผู้ที่กำลังศึกษา
3.ไม่ใช่ทั้ง 1. และ 2.
ถ้าจะตอบคำถามให้ได้ว่า "อะไรคือ หัวข้อวิจัย"
1.ต้องรู้ก่อนว่า การวิจัยคืออะไรการวิจัย คือ การแสวงหาข้อความรู้หรือ
ข้อความจริงของปรากฎการณ์ทางธรรมชาติหรือธุรกิจ (ในกรณีด้านการจัดการธุรกิจ)
2.มีเกณฑ์อะไรจึงบอกได้ว่าเป็นการวิจัยที่ดี
-มีความใหม่(Original)
-มีความคิดริเริ่ม(Initiative)
-มีความเป็นปรนัย(Objectivity)
-เป็นการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ(Systematic)
-เป็นความรู้ทั่วไป(Generalize)
3.ในหัวข้อวิจัย บอกอะไรให้คนอื่นรู้/ผู้ทำวิจัยรู้บอก
1).ความสัมพันธ์ของตัวแปร
2).ตัวอย่าง/ประชากรในการวิจัย
3).ความลุ่มลึกของการวิจัยที่มาอย่างแท้จริงของ Research Topic
-Best Practices
-Academic School
-Professional

ถ้าจะว่าไปแล้วแหล่งที่ดีที่สุดของการหาหัวข้อวิจัยคือ"การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)"
มาจากไหนก็
-ค้นจากอินเตอร์เน็ต เช่นสุดยอดข้อมูลจากกูเกิ้ล
-อ่านวารสารระดับโลก ในสาขาหรือเรื่องที่ท่านสนใจ
-อ่านงานวิจัยจากวารสารระดับโลก พร้อมทั้งดูว่ามีข้อแนะนำที่ให้ทำวิจัยอะไรต่อ
-ถามหรือสนทนากับบรรดาสุดยอดผู้รู้ในสาขานั้น ๆนี่ละครับ คือแหล่งที่ท่านจะได้หัวข้อวิจัย

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com