Thursday, December 11, 2014

ไปนำประชุมและทบทวน "แผนพัฒนาจังหวัดตรัง"



        การไปบรรยายและนำประชุมการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดตรัง (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๑) และแผนปฎิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ห้องประชุมพระยารัษฎา ศาลากลางจังหวัดตรัง 
        ผุู้เขียนได้รับการประสานงานให้ไปช่วยในการ ทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดตรัง ฯ โดย  อจ.ธนาธิป  บุณยรัตน์  มสด. ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง (ในวันที่ 4 ธ.ค.57)

       เช้า รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวเปิด และนำสิ่งที่ผู้ว่าฯ ฝากมาให้ถึง คณะทำงานยุทธศาสตร์จังหวัด ว่ามีเรื่องสำคัญอะไรที่ควรเพิ่มในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด
      หลังจากนั้น หน.กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สน.จังหวัดตรัง ได้สรุปว่าทำอะไรมาบ้างและต้องทำอะไรต่อ กำหนดการที่ต้องส่ง กนจ.  แล้วที่เหลือ ขอให้ผู้เขียน (ดร.ดนัย เทียนพุฒ) ช่วยดำเนินการให้ความรู้ และประชุมกลุ่มในช่วงบ่าย 
       
           


                             

     

             ผุู้เขียนเปิดฉากด้วย แนวคิดของแผนพัฒนาจังหวัด ที่ต้องสอดคล้องเชื่อมโยง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใน 4 เป้าหมายรวม คือ การเพิ่มรายได้จากฐานเดิม   การสร้างรายได้จากโอกาสใหม่ การลดรายจ่าย และการเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน
             และมี 4 ยุทธศาสตร์ คือ
               -ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Growth & Competitiveness)
               -ยุทธศาสตร์การลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Growth)
               -ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth)
               -ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ (Internal Process)

              แผนบริหารราชการแผ่นดิน เป็นเรื่องแผนปฎิบัติราชการ 4 ปี ของแต่ละ กระทรวง/กรม
ที่มีเข้ามาใหม่ เมื่อมีรัฐบาลใหม่ คือ นโยบายรัฐบาล 11 ข้อ
             และการบูรณาการทั้งหมด เพื่อไปสู่การปฎิบัติ ทั้ง ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ





         เรื่องการบูรณาการทั้งหมด โดย มีวิสัยทัศน์  เป้าประสงค์รวม ประเด็นยุทธศาสตร์ 
และคิดยุทธศาสตร์เป็น คลัสเตอร์ และการลงสู่การปฎิบัติ ด้วย จะมียุทธศาสตร์ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อย่างไร ค่อยแปลไปสู่ แผนงานโครงการ พร้อมทั้งนำแนวคิดของสภาพัฒน์มาใช้ (ตามรูป) ที่มีจังหวัดเป็นจุดประสานทั้งบนและล่าง




         ผู้เขียนมีข้อสังเกต ว่า แผนพัฒนาจังหวัดที่ทบทวนมา ค่อนข้างเป็นเชิงรับ ไม่ใช่เชิงรุก
         พร้อมกับสร้างความท้าทาย  ยุทธศาสตร์จังหวัดตรัง จะไปทางไหน ไปอย่างไร มีอะไรสนับสนุน และวัดความสำเร็จอย่างไร
        เสนอให้มอง SWOT ใหม่ด้วย Scenarios ในอนาคต อีก 5ปี 10 ปี ข้างหน้าแบบ ดีและเลวร้าย  Digital Economy  และคิดเรื่องBusiness Model  พร้อมกับการวัดการเติบโตและแข่งขันของสภาพัฒน์  ใน 4 ด้านตามกราฟข้างล่างตามยุทธศาสตร์ 4 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น







           สุดท้ายในก่อนจบภาคเช้า เสนอแนวคิดใหม่ "Strategies for City Markets" สังเคราะห์มาจากของ Kotler "Winning Global Market" (2014)  ในการทำตลาดเมือง จะมีปัจจัยทางกลยุทธอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา และ ปัจจัยการดึงดูดนักลงทุน ทั้ง  Hard & Soft Attraction Factors
                                                 

         เป็นประสบการณ์ของผู้เขียน ทั้งการทำกลยุทธในภาครัฐ ภาคธุรกิจ และการศึกษาดูงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ของเมืองต่าง ๆ  สกัดเป็นองค์ความรู้ออกมาให้กับการทบทวน "แผนการพัฒนาจังหวัดตรัง"  
         ท้าทายคิดเชิงกลยุทธ (Straetgic Thinking) และ ศิลปะของการใช้กลยุทธ (The Art of Strategy)  
         ในช่วงบ่าย สนุกมากครับ คือ การทบทวนวิสัยทัศน์จังหวัด ว่า จะใช้อย่างเดิม "ตรังเมืองแห่งความสุข" ซึ่งวัดยาก แล้ววิสัยทัศน์ใหม์ น่าจะเป็นอะไร  เราจบกันได้ใน 3 ชั่วโมงแบบมติเอกฉันท์  (มาเล่าต่อคราวหน้าครับ) 
         : บันทึก 11 ธ.ค.57 



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081