Sunday, May 10, 2009

ผู้ประกอบการไทย :วิธีแข่งขันที่ไร้อนาคตแบบเดิม ๆ

ผู้ประกอบการไทย :วิธีแข่งขันที่ไร้อนาคต

ทุกครั้งของประเทศไทย ที่เราเห็นเมื่อมีการแข็งค่าของค่าเงินบาท จะมีผู้ประกอบการ รวมทั้งสภา ฯ หอการค้าฯ ชมรมหลาย ๆ ธุรกิจ ออกมาบอกให้ รัฐบาลหรือ ธปท. เข้ามาแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลง

 (เงินที่ใช้แทรกแซงก็คือทุนสำรองนั่นเองโดยที่ครั้งหนึ่ง ธปท.ก็แทรกแซง ตอน ปี '39 จนหมดทุนสำรอง แล้วประเทศก็เจ๊ง ล่มสลายทั้งชาติ เพราะช่วยพวกส่งออกนี่ละครับ แต่ที่แปลกมากยามที่ธุรกิจเหล่านี้ทำกำไรไม่เห็นทำอะไรให้ประชาชนที่รับกรรมจากผลค่าเงินบาทลอยตัว หรือ ลดราคาสินค้าให้กับผู้บริโภค)

ความจริงในเรื่องการแข็งค่าของเงินบาท เท่าที่มีข้อสรุปจะมาจาก
1. เงินไหลเข้ามา ลงทุนในตลาดหุ้น หรือ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือการมาเก็งกำไรระยะสั้น และกอบโกยผลประโยชน์ พร้อมสิทธิพิเศษ ที่ไม่ต้องเสียภาษี  ออกไปนอกประเทส แล้วก็หมุนเวียนเข้ามาเก็งกำไร อย่างนี้ (ตอนที่ หม่อมอุ๋ย สกัดการเก็งกำไร ด้วยการให้นักลงทุนต่างชาติต้องสำรองเงิน 30% โดยไม่ให้เงินไหลออกทันที่ บรรดา โบรเกอร์(ที่ส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติแต่คนไทยเป็นผู้บริหาร) ทั้งหมดต่างร้องออกมาว่านักลงทุนต่างชาติหนี ไม่มีใครจะมาลงทุนในตลาดหุ้น(เก็งกำไร) แต่ได้ผล หยุดการไหลเข้าของเงินเก็งกำไรในตลาดหุ้น แต่ หม่อมอุ๋ยหยุดการ่วมรัฐบาล และก็ถอยมาตรการนี้ในภายหลัง)
2. การที่ดอลล่าร์อ่อนตัว ซึ่งอาจจะมาจากเป็นความตั้งใจของสหรัฐที่ค้าขายสู้ ประเทศ จีน ไม่ได้จึงปล่อยให้ค่าเงินอ่อนตัว เพื่อสินค้าจีน หรือ ทั้งโลกแพงขึ้นคนอเมริกาจะได้ซื้อน้อยลง

ทั้ง 2 อย่างนี้เป็นสัจจธรรมที่วนเวียนในตลาดการเงินของโลก แต่ถ้ามีปัจจัยอื่น เช่น การเก็งกำไรด้าน น้ำมัน  หรือ ทองคำ ก็จะยิ่งทำให้ค่าเงินแกว่งตัวสูงขึ้น หรือ ปัจจัยสุดท้ายเกิด จาก คนพเนจรที่อยู่นอกประเทศใช้เงิน โจมตีค่าเงินบาท หรือ เข้ามาปั่นราคาหุ้นผ่านนักลงทุนต่างชาติจากประเทสใกล้บ้านเราไม่ทางเหนือ ก็ทางใต้ ให้ป่วน ซึ่งตอนหลังคงละเลยปัจจัยนี้ไม่ได้ แต่ยังมีอีแอบที่ทำกำไรตามน้ำของเหตุการณ์คือ  พ่อค้าส่งออกที่เก็งกำไรค่าเงินที่มีอยู่ในสำนักงานนอกประเทศ กับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงิน ที่มีเงินในมือและตามแห่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงและฟันกำไรโดยที่ไม่มีใครรู้ว่าอีแร้ง 2 ตัวนี้เป็นอีแอบรวยเงียบ ๆ

 กลับมาที่ผู้ประกอบการไทย หาก ยังคงจะส่งออกด้วยวิธีการแบบเดิมๆ  คือเมื่อยามกำไรเอาเข้ากระเป๋า ยามขาดทุนให้รัฐบาทแทรกแซงค่าเงิน เป็นธุรกิจที่น่าทำจริงๆ


ทั้งที่ความจริงแล้วการทำธฑุรกิจในตลาดโลกไม่มีทางที่จะแข่งขันได้ต้องปรับตัวตามที่พูดกันแต่ไม่ใช่วิธีที่เอาเปรียบคนทั้งชาติ
1.ต้องลดต้นทุนในการแข่งขัน เพราะอุตสาหกรรมในดลกนี้เขาทำอย่างนี้กันทั้งนั้น
2.ต้องลงทุนใข้เทคโนโลยีใหม่ในการแข่งขัน เรากลับคิดกลับกัน โดย  ซ่อมเครื่องจักรเก่าเพื่อจะแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งไม่มีทางที่จะผลิตสินค้าได้คุณภาพที่สูงขึ้นราคาถูกลง (ในประเทศไทยมีเครื่องจักรประมาณ 80000 เครื่อง  ตกยุคแล้ว 40000 เครื่อง ทั้งๆ ที่เครื่องจักรใหม่ราคาถูกกว่า(แต่แพงเพราะบ้านเราเก็บภาษีการนำเข้าเครื่องจักรที่สูงมาก) ผลิตได้ดีกว่า อาจจะใช้แรงงานที่ทักษะสูงขึ้นโดยลงทุนพัฒนา

 ไม่มีวิธีอื่นที่จะแข่งขันได้ หากอุตสาหกรรมส่งออกยังใช้วิธีรวยเอาขาดทุนโยนให้คนทั้งชาติ แล้วทำไม่เราต้องช่วยคนพวกนี้ แลกกับการจ้างแรงงานราคาถูกเพียง 1 ล้านคน  แต่คนอีก 60 กว่าล้านคนต้องใช้ของแพง ต้องเสี่ยงกับการล่มจมจากพวกส่งออกที่รัฐบาลเอาทุนสำรองไปแทรกแซงค่าเงินบาท ให้อ่อนค่า กลับทำให้ น้ำมันราคา ของแพง ทุก ๆ อย่างแพง คุ้มหรือไม่ ใครช่วยตอบที ??

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNT Consultants

No comments: