Saturday, August 16, 2008

INNOVATION Scorecard

พูดถึง "นวัตกรรม" ในธุรกิจบ้านเรายุคนี้ดูจะเป็นสายทางเส้นใหม่สู่ความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า ใช่เลย!
แต่ประเด็นที่พูดคุยกันในเรื่องนวัตกรรมกลายเป็นมุ่งความสนใจเพียงด้านวิทยา-ศาสตร์และเทคโนโลยี หรือพูดง่ายๆ คือ ด้าน R&D ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เป็นเทคโนโลยีที่เรามีหรือต้องการหาใหม่ หรือไม่มีทางมีเทคโนโลยีที่จะไปใช้ในการแข่งขันกับประเทศที่เจริญแล้วพัฒนามากๆ ดังชาติตะวันตก เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้...อินเดีย กับจีนที่กำลังเป็นกบกระโดด

ประเทศไทยโชคดีที่เปลี่ยนรัฐบาลบริโภคทุนนิยมกับรากหญ้าประชานิยมได้แต่โชคร้ายที่มีรัฐบาลขิงแก่ชราภาพ ออกแต่กฎหมายด้านทฤษฎีเอ็กซ์อย่างเดียว ทั้งๆ ที่กฎหมายเดิมๆ ล้านสมัยเป็น 100 ฉบับไม่คิดจะแก้ไข นี่แหละครับ! เห็นชัดว่าเราขาด "นวัตกรรมทางการเมือง" ที่ชัดเจนมาก


ดัชนีวัดนวัตกรรม : I-Scorecard(Innovation)
หลายๆ ครั้งที่เราได้ยินเรื่องนวัตกรรม CEO/MD หรือผู้บริหารระดับสูงมักจะสนใจฟังในตอนแรกจากนั้นจะรู้สึกเฉยๆ ลงเพราะเป็นเรื่องของ R&D หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเราทุกคนล้วนรู้ดีว่า ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในชาติเราแบบชั่วข้ามคืน

อย่างนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจเรากำลังเดินไปสู่ธุรกิจแห่งนวัตกรรม (Innovation Enterprises) ได้หรือไม่

การวัดว่าธุรกิจท่านเป็นธุรกิจแห่งนวัตกรรม พิจารณาได้จาก I-Scorecard เราลองมาเริ่มต้นดูใน
มิติแรกคือ ภาวะผู้นำ (Leadership) ซึ่งสามารถพิจารณานวัตกรรมที่เกิดจากภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงและวิถีชีวิตองค์กรดังในภาพ
มิติต่อมา ของ I-Scorecard คือ การวางแผน (Planning) ประเด็นที่พิจารณานวัตกรรมในเรื่องวางแผน ได้แก่ การพัฒนาและการถ่ายทอดกลยุทธ
มิติที่ 3 ในดัชนีวัดนวัตกรรมคือ สารสนเทศ (Information) ในการวัดด้านนี้เราพิจารณาใน 2 เรื่องได้แก่ A การจัดการนวัตกรรม และ B การเปรียบเทียบ+การเทียบวัด ซึ่งมีรายละเอียด เช่น

A การจัดการนวัตกรรม เช่น
- องค์กรนวัตกรรม คัดเลือกและคว้าจับสารสนเทศเกี่ยวกับนวัตกรรม
- องค์กรแบ่งปันสารสนเทศเพื่อกระตุ้นนวัตกรรมและการเรียนรู้
- องค์กรวิเคราะห์และใช้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กับนวัตกรรม
- องค์กรรักษาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม

B การเปรียบเทียบและการเทียบวัด เช่น
- องค์กรพัฒนาเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกเพื่อเปรียบเทียบและเทียบวัดสารสนเทศเพื่อปรับปรุงผลงานเชิงนวัตกรรม
- และองค์กรใช้การเปรียบเทียบและการเทียบวัดสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการมุ่งนวัตกรรม


มิติที่ 4 ด้านคน (People) ของ I-Scorecard คือ การบริหาร HR ทั้งหมดต้องมุ่งไปยังกลยุทธนวัตกรรมองค์กร วัดผลงานที่สามารถสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้
มิติที่ 5 คือ กระบวนการ (Processes) และ มิติที่ 6 คือ ผลลัพธ์ (Results) ที่มุ่งนวัตกรรมในเรื่องหลักๆ




โดยทั้งหมดนี้เราจะพิจารณาวิธีการสู่ความเป็นเลิศในนวัตกรรมของทั้ง 5 มิติได้แก่ 1) เชิงรุก 2) นิยาม 3) บูรณาการ 4) ปรับใหม่ 5) นวัตกรรม




ทั้งหมดนี้คงไม่ยากเกินไปหากธุรกิจสนใจที่อยากจะวัดความเป็นธุรกิจแห่งนวัตกรรมด้วย I-Scorecard


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์

โทร 029301133

No comments: