ความจริงระบบ"แอดมิชชั่น" หรือสอบเข้ามหา'ลัย ขอเรียกแบบนี้แล้วกันนะครับ เมื่อมีการประกาศผลทีไร
เป็นธรรมดาที่ต้องมีผู้ผิดหวังและเสียใจ จะด้วยเหตุใดก็ตาม แต่ละมหา'ลัยก็รับได้ตามงบประมาณที่
มีเท่านั้น ขณะที่เด็กนักเรียน จบจริง ๆ แล้วผู้ที่เหนื่อยยากคือผู้ปกครองต้องวิ่งหาที่เรียนให้ลูกหรือ เตรียมเผื่อพลาดกันทั้งนั้น
อย่างไร ปีนี้มีอะไรที่น่าสนใจ คือ
-คนที่สอบได้ที่ 1 ของประเทศเลือกเรียน นิติศาสตร์ เพราะแรงบันดาลใจที่คุณพ่อเป็นตุลาการ และอยากเข้า
มาช่วยแก้ไขปัญหาบ้านเมือง
-มีเด็กฆ่าตัวตายจากการพลาดหวังในระบบกลางการรับ นิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชั่น
กรณีนายจิรัตน์ฐากร สุขเกษมพงษ์ อายุ 19 ปี นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนสามัคคีวิทยา
ใช้เข็มขัดผูกคอตายภายในบ้านพักเลขที่ 248 หมู่ 2 ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
สาเหตุเพราะผิดหวังที่สอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ได้ แม้จะสอบติดคณะเดียวกันที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเลือกไว้เป็นอับดับ 2 และครอบครัวโจมตีระบบเอเน็ต และ โอเน็ต
ผมคิดว่าน่าสนใจก็เพราะว่า
1.ในกรณีแรกค่านิยมที่จะต้องเรียนหมอ และ วิศวะ อาจจะดูว่า ลดลง เพราะอาชีพ ทางด้านกฎหมายในปัจจุบันได้รับการยอมรับมาก และช่วยแก้ปัญหาบ้านเมืองให้พ้นทางตันมาได้หลายเรื่อง ยกเว้น พวกที่ขายวิชาชีพรับใช้เงินเป็นประดุจดังพระเจ้า
2.แต่พอพบข่าวที่ 2ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวสุขเกษมพงษ์ด้วย ในเรื่องดังกล่าวกับกลายเป็นว่าค่านิยม
ในบาง คณะ บาง มหา'ลัย ก็ยังคงดำรงอยู่
ผมอยากฝากเป็นทัศนะว่า ปัจจุบันนี้ มหา'ลัย ไม่ได้แตกต่างกันมากนักในประเทศถ้าเป็นการเรียนการสอน
ด้วยภาษาไทย เพราะเมื่อจบไปแล้ว เราต่างหากที่ต้องพิสูจน์ตัวเองว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่
และเราต่างหากที่ขีดเขียนชีวิตเราเอง มหา'ลัย ไม่ได้ให้ทุกอย่างกับชีวิตเราหรอกครับ
มหา'ลัย ชีวิตมีบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ให้เราได้เรียนรู้และค้นหาความจริง และหากเราค้นพบตัวตนเราได้
นั่นคือความสำเร็จที่สูงค่ายิ่งกว่าใบปริญญาไม่ว่าจะเป็นระดับการศึกษาสูงสุดเพียงใดก็ตาม
เยาวชนที่รัก ชีวิตนี้มีค่านัก จะใช้ชีวิตอย่างไรให้คุ้มค่า คิด ๆๆ คิดให้มากอีกหน่อย
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
No comments:
Post a Comment