Monday, April 21, 2008

The Future Organization

"องค์กร" แห่งอนาคต

การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจมีมากกว่าแต่ก่อน น่าจะพูดได้ว่าเป็นเลขยกกำลังเสียมากกว่าที่จะบอกว่าเร็วกว่าเดิมกี่เท่า
การกำหนดรูปแบบองค์กรในสมัยที่เราเรียนเรื่อง การออกแบบองค์กร (Organi-zation Design) มักจะพูดกันในเรื่องการพิจารณาตามหน้าที่ของหน่วยงาน ตามผลิตภัณฑ์ ตามเขตภูมิศาสตร์ หรือรูปแบบเมทริกซ์และอีกหลายๆ รูปแบบ แม้กระทั่งองค์กรแบบ Organigraph

สิ่งที่บ่งบอกถึงการมีแนวคิดในการออกแบบ “องค์กรแห่งอนาคต” (The Future Organization) อาจจะเนื่องมาจาก เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิทัศน์ใหม่ (New Landscape) ของประเทศต่างๆ ในโลกคล้ายๆ กับการกำหนดส่วนของตลาด (Market Segmentation) เช่น BRICs และ 11 ประเทศตลาดใหม่และมีการกำหนดตลาดเฉพาะสำหรับเอเซีย (Asia Segmentation) ที่นับรวมออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เข้ามาด้วยอาทิ
-กลุ่มที่มี GDP สูงมาก และมีส่วนของตลาดที่เฉพาะ เช่น ญี่ปุ่น
-กลุ่มที่มีเศรษฐกิจระดับพัฒนาสูงมีทุนสำรอง ร่ำรวยมาก พัฒนาด้านเทคโนโลยีล้ำหน้า เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้และไต้หวัน
-กลุ่มกำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและตลาดมีการเติบโต เช่น ปักกิ่ง,เซี่ยงไฮ้, บังกาลอร์, มุมไบ, มาเลเซีย (เดิมทีประเทศไทยอยู่ในกลุ่มนี้น่าจะตกไปอยู่อีกกลุ่ม)
- กลุ่มที่จน มีความต้องการด้านการบริโภคพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจที่เร็วขึ้น เช่น จีน (ที่เหลือ) อินเดีย (ที่เหลือ) ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา อินโดนีเซียและเวียตนาม
- กลุ่มประเทศพัฒนาที่เหลือ เช่น บังคลาเทศ เขมร เกาหลีเหนือ ติมอร์ตะวันออก ลาว พม่าและปากีสถาน

การเข้ามาลงทุนของกลุ่มทุนจากประเทศที่มีรูปแบบการจัดการและความเชี่ยวชาญ ด้านแบรนด์ระดับโลก เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์และดูไบ ซึ่งมีรูปแบบการจัดการที่แตกต่างไปจากธุรกิจในประเทศไทย

รูปแบบองค์กรแห่งอนาคตจะมีหน้าตาอย่างไร?
สิ่งที่เป็นแนวโน้มของการออกแบบองค์กรที่ต่อเนื่องมาจากองค์กรแบบออแกนิกราฟ (Organigraph) ที่ใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ เช่น เซท (Set) และเวบ เช่น ฮับ (Hub) หรือเสมือนจริง (Virtual) กลับมาสู่แนวคิดทางการตลาดที่สมบูรณ์มากขึ้น
(1) การใช้แนวคิดของแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ (Brand Portfolio) ในการออกแบบหรือกำหนดโครงสร้างองค์กรโดยเฉพาะตัวอย่างของกลุ่มพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทัพย์ กลุ่มธุรกิจค้าปลีก
(2) การใช้แนวคิดของ การกำหนดส่วนของตลาด (Market Segmentation) ซึ่งเป็นการกำหนดหรือแบ่งตลาดออกเป็น ส่วนของตลาดลูกค้าองค์กร และส่วนของตลาดลูกค้า บุคคล แล้วยังแบ่งส่วนของตลาดย่อย ตลาดไลฟ์สไตล์หรือรายได้ หรือพฤติกรรมในการทำธุร-กรรมของธุรกิจ ทำให้สามารถกำหนดโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนและตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ธนาคารชั้นแนวหน้าของประเทศไทย
(3) การใช้แนวคิดผสมระหว่างผลิตภัณฑ์ (Product) ช่องทางจำหน่าย (Market Channel) และเขตภูมิศาสตร์ (Geography) จะเป็นลักษณะการกำหนดโครงสร้างด้านคอนซูเมอร์ของธนาคารในระดับโลก

รูปแบบทั้ง 3 แบบกำลังส่งผลต่อการจัดองค์กรและการออกแบบองค์กรที่จะตอบ-สนองสิ่งที่เปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ ภูมิทัศน์ธุรกิจ เทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค
ซึ่งหากธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงไม่ศึกษาและเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มัวแต่รอให้ฝ่าย HR (บริหารตน) เป็นผู้ดำเนินการอาจทำให้ธุรกิจไม่มีโอกาสได้แข่งขันหรือปรับตัวในอนาคตก็เป็นได้

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNTConsultants Co.,Ltd.
Blogger @ http://biz2all.blogspot.com