บางคนบอกว่า นวัตกรรม ก็คือ การคิดสร้างสรรค์ มีความคิดใหม่ หรือไอเดียใหม่ๆ แต่ผมคิดว่า ความคิดสร้างสรรค์ หรือ การมีความคิดใหม่หรือไอเดียใหม่ๆ ยังไม่ใช่นวัตกรรม เพราะจะเป็น “นวัตกรรมทางธุรกิจ” ได้ ต้องเป็น “ไอเดียใหม่ๆ ที่สามารถขายได้” หรือ “การทำให้ไอเดียใหม่ๆ นั้นมีมูลค่าเชิงพาณิชย์”
แล้ว "แหล่งที่มาของนวัตกรรมอยู่ที่ใด"
ถ้าจะพูดแบบถูกทุกคำตอบก็อาจจะบอกว่า “มีอยู่ได้ทุกหนทุกแห่ง” และสามารถทำให้เกิดขึ้นได้อย่างนั้นจริงๆ
แหล่งที่สำคัญที่สุดของการเกิดนวัตกรรมอยู่ที่ “ลูกค้าหรือตลาดการแข่งขัน” เพราะว่าลูกค้าและในตลาดการแข่งขัน มีสิ่งที่เรียกว่า ความต้องการของผู้บริโภค มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คู่แข่งนำเข้ามาสู่ตลาดอยู่อย่างต่อเนื่อง และคนหน้าใหม่ที่เห็นโอกาสทางธุรกิจจะเสนอนวัตกรรมใหม่เข้าสู่ตลาดการแข่งขันเช่นเดียวกัน
แหล่งต่อมาของนวัตกรรมอยู่ที่ ฝ่ายงานการตลาดและการขาย หรืองานบริการลูกค้า ฝ่ายโรงงานผลิต หรือ บางธุรกิจจะมีฝ่ายงานด้าน R&D ที่ทำหน้าที่คิดค้นและรวบรวมสิ่งใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ ความต้องการของผู้บริโภค ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้เลยอาจจะมาจากผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
ธุรกิจไทยมีนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องหรือไม่
จริงๆ แล้วธุรกิจไทยมีความสามารถในการคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมาได้ แต่อาจจำกัดอยู่ที่ระดับของการลงทุน เทคโนโลยีหรือข้อจำกัดในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและความรู้ที่จะก้าวทันและแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยเห็นนวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่คิดใหม่ๆ ออกมา “โดนใจตลาดโลก” จนติดขึ้นเป็นแบรนด์ชั้นนำ เช่น Sony, Samsung, Nike, Disney หรือแม้กระทั่ง Dior และ Hello Kitty
เราจะสร้างอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทยได้อย่างไร
ประการแรก ความก้าวหน้าใน “องค์ความรู้และเทคโนโลยี”
ธุรกิจไทยมีการสร้างความรู้ในลักษณะ “วัฒนธรรมการเรียนแบบรับรู้” (Re-ceiving Learning Culture)” เพราะเราไม่มีองค์ความรู้ของเราเองจึงต้องตามความก้าวหน้าใน “องค์ความรู้และเทคโนโลยีของชาติตะวันตก” ที่มีการพัฒนาต่อยอดความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างต่อเนื่องจากการสร้างพื้นฐานมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะสถาบันการศึกษาและธุรกิจเอกชนที่เป็นบรรษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ทำให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาดโลกได้อย่างสม่ำเสมอ ขณะที่ธุรกิจไทยไม่สามารถเข้ามาแข่งขันในเรื่องนี้ได้
ประการที่สอง การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของธุรกิจ
ธุรกิจไทยมักเข้าใจการสร้างนวัตกรรมบนมุมมองแบบนักอุตสาหกรรมคือ คิดว่านวัตกรรมต้องมาจากการสร้างเทคโนโลยีหรือความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรมจากนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์จึงจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาดได้ ซึ่งในความเป็นจริงจากธุรกิจระดับโลกพบว่า มิติของนวัตกรรมมีดังต่อไปนี้
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) เป็นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงหรือความรู้ใหม่เพื่อผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาสู่ตลาด
นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) ซึ่งไม่ใช่แค่กระบวนการผลิต (Production Process) แต่เป็นกระบวนการธุรกิจ (Business Process) ที่สามารถใส่หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจมีความแตกต่างเหนือคู่แข่งขันได้ตลอดเวลา
นวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้ (Business-Knowledge Innovation) คือการที่ ธุรกิจมุ่งสนใจในนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการมาอย่างยาวนาน จึงเกิดความคิดใหม่ที่จะแสวงหานวัตกรรมใหม่ทางธุรกิจ เช่น นวัตกรรมการตลาด (Marketing Innovation) และนวัตกรรมการจัดการ (Management Innovation) ซึ่งอาจเรียกว่า นวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้ (Business-Knowledge Innovation) เพราะเป็นสิ่งที่ครอบคลุมประเด็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและนักคิดทางธุรกิจกำลังศึกษากันอยู่
ประการที่สาม เราจะเพิ่มอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทยได้อย่างไร สรุปได้ดังนี้
1.เร่งการเรียนรู้ ความรู้ใหม่-เทคโนโลยีใหม่ โดยมุ่งให้คนรุ่นใหม่ของประเทศดูดซับความรู้ใหม่-เทคโนโลยีใหม่จากทุกแห่งทั่วทุกที่จากทุกมุมโลก ลำพังจะให้ธุรกิจพัฒนาบุคลากรให้เป็น องค์กรนวัตกรรมอาจเป็นสายธารเดียวที่มีโอกาสสำเร็จได้ยากหรือใช้เวลานานมากแบบไกลเกินเอื้อม
2.ธุรกิจคงต้องทบทวนความคิดใหม่ว่า การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) นั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นการศึกษาและเรียนรู้แบบ “วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบการรับรู้” (Receiving Learning Culture)” ไม่ใช่ “วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบการผลิตภาพ (Producing Learning Culture) หรือการเรียนรู้แบบนวัตกรรมและผลิตภาพ (Innovative and Productive Learning)
3.ธุรกิจต้องต้องเรียนรู้และเข้าใจทั้งนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการและนวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้
การเป็นองค์กรแบบใหม่ที่เรียกว่า “องค์กรนวัตกรรมและผลิตภาพ (Innovative & Productive Organization)” จะทำให้ธุรกิจไทยเป็น “ธุรกิจแห่งนวัตกรรม” (Innovative Enterprises)” ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน
นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์
แล้ว "แหล่งที่มาของนวัตกรรมอยู่ที่ใด"
ถ้าจะพูดแบบถูกทุกคำตอบก็อาจจะบอกว่า “มีอยู่ได้ทุกหนทุกแห่ง” และสามารถทำให้เกิดขึ้นได้อย่างนั้นจริงๆ
แหล่งที่สำคัญที่สุดของการเกิดนวัตกรรมอยู่ที่ “ลูกค้าหรือตลาดการแข่งขัน” เพราะว่าลูกค้าและในตลาดการแข่งขัน มีสิ่งที่เรียกว่า ความต้องการของผู้บริโภค มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คู่แข่งนำเข้ามาสู่ตลาดอยู่อย่างต่อเนื่อง และคนหน้าใหม่ที่เห็นโอกาสทางธุรกิจจะเสนอนวัตกรรมใหม่เข้าสู่ตลาดการแข่งขันเช่นเดียวกัน
แหล่งต่อมาของนวัตกรรมอยู่ที่ ฝ่ายงานการตลาดและการขาย หรืองานบริการลูกค้า ฝ่ายโรงงานผลิต หรือ บางธุรกิจจะมีฝ่ายงานด้าน R&D ที่ทำหน้าที่คิดค้นและรวบรวมสิ่งใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ ความต้องการของผู้บริโภค ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้เลยอาจจะมาจากผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
ธุรกิจไทยมีนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องหรือไม่
จริงๆ แล้วธุรกิจไทยมีความสามารถในการคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมาได้ แต่อาจจำกัดอยู่ที่ระดับของการลงทุน เทคโนโลยีหรือข้อจำกัดในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและความรู้ที่จะก้าวทันและแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยเห็นนวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่คิดใหม่ๆ ออกมา “โดนใจตลาดโลก” จนติดขึ้นเป็นแบรนด์ชั้นนำ เช่น Sony, Samsung, Nike, Disney หรือแม้กระทั่ง Dior และ Hello Kitty
เราจะสร้างอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทยได้อย่างไร
ประการแรก ความก้าวหน้าใน “องค์ความรู้และเทคโนโลยี”
ธุรกิจไทยมีการสร้างความรู้ในลักษณะ “วัฒนธรรมการเรียนแบบรับรู้” (Re-ceiving Learning Culture)” เพราะเราไม่มีองค์ความรู้ของเราเองจึงต้องตามความก้าวหน้าใน “องค์ความรู้และเทคโนโลยีของชาติตะวันตก” ที่มีการพัฒนาต่อยอดความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างต่อเนื่องจากการสร้างพื้นฐานมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะสถาบันการศึกษาและธุรกิจเอกชนที่เป็นบรรษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ทำให้มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาดโลกได้อย่างสม่ำเสมอ ขณะที่ธุรกิจไทยไม่สามารถเข้ามาแข่งขันในเรื่องนี้ได้
ประการที่สอง การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของธุรกิจ
ธุรกิจไทยมักเข้าใจการสร้างนวัตกรรมบนมุมมองแบบนักอุตสาหกรรมคือ คิดว่านวัตกรรมต้องมาจากการสร้างเทคโนโลยีหรือความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรมจากนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์จึงจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาดได้ ซึ่งในความเป็นจริงจากธุรกิจระดับโลกพบว่า มิติของนวัตกรรมมีดังต่อไปนี้
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) เป็นการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงหรือความรู้ใหม่เพื่อผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาสู่ตลาด
นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) ซึ่งไม่ใช่แค่กระบวนการผลิต (Production Process) แต่เป็นกระบวนการธุรกิจ (Business Process) ที่สามารถใส่หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจมีความแตกต่างเหนือคู่แข่งขันได้ตลอดเวลา
นวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้ (Business-Knowledge Innovation) คือการที่ ธุรกิจมุ่งสนใจในนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการมาอย่างยาวนาน จึงเกิดความคิดใหม่ที่จะแสวงหานวัตกรรมใหม่ทางธุรกิจ เช่น นวัตกรรมการตลาด (Marketing Innovation) และนวัตกรรมการจัดการ (Management Innovation) ซึ่งอาจเรียกว่า นวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้ (Business-Knowledge Innovation) เพราะเป็นสิ่งที่ครอบคลุมประเด็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและนักคิดทางธุรกิจกำลังศึกษากันอยู่
ประการที่สาม เราจะเพิ่มอัตราเร่งสู่นวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทยได้อย่างไร สรุปได้ดังนี้
1.เร่งการเรียนรู้ ความรู้ใหม่-เทคโนโลยีใหม่ โดยมุ่งให้คนรุ่นใหม่ของประเทศดูดซับความรู้ใหม่-เทคโนโลยีใหม่จากทุกแห่งทั่วทุกที่จากทุกมุมโลก ลำพังจะให้ธุรกิจพัฒนาบุคลากรให้เป็น องค์กรนวัตกรรมอาจเป็นสายธารเดียวที่มีโอกาสสำเร็จได้ยากหรือใช้เวลานานมากแบบไกลเกินเอื้อม
2.ธุรกิจคงต้องทบทวนความคิดใหม่ว่า การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) นั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นการศึกษาและเรียนรู้แบบ “วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบการรับรู้” (Receiving Learning Culture)” ไม่ใช่ “วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบการผลิตภาพ (Producing Learning Culture) หรือการเรียนรู้แบบนวัตกรรมและผลิตภาพ (Innovative and Productive Learning)
3.ธุรกิจต้องต้องเรียนรู้และเข้าใจทั้งนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการและนวัตกรรมธุรกิจ-ความรู้
การเป็นองค์กรแบบใหม่ที่เรียกว่า “องค์กรนวัตกรรมและผลิตภาพ (Innovative & Productive Organization)” จะทำให้ธุรกิจไทยเป็น “ธุรกิจแห่งนวัตกรรม” (Innovative Enterprises)” ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่กรรมการผู้จัดการ
บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์
โทร 029301133