Tuesday, February 24, 2009

อย่าหลงกับดักในเรื่องนวัตกรรม โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

เรื่องของนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ผู้เขียนสนใจและให้ความสำคัญกับธุรกิจมาเป็นเวลา-นาน โดยเฉพาะการมองดูประเทศที่มีพัฒนาการไม่นานนักเช่น เกาหลีใต้ อินเดีย และจีนซึ่งผงาดขึ้นมาอยู่ในระดับโลกได้ใช่มาจากนวัตกรรมหรือไม่
แนวคิดดั้งเดิมดูเหมือนจะมีความเชื่อที่แพร่กระจายไปทั่วโลกว่า R&D (การวิจัยและพัฒนา) เป็นเสมือน “กล่องดำ” ที่ทำนายถึงการลงทุนด้านนวัตกรรมในวันนี้ของธุรกิจเพื่อนำไปสู่ผลกำไรในวันข้างหน้าหรือในอนาคต
ดังนั้น ธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงทุกท่านที่สนใจการเป็นธุรกิจแห่งนวัตกรรมอย่าได้หลงประเด็นไปกับเรื่องนวัตกรรมตามที่ฮือฮากัน ถ้าท่านได้พบความจริงจากการศึกษาบริษัทระดับโลกด้านนวัตกรรมดังต่อไปนี้


ประการแรก ธุรกิจจ่ายเงินทำ R&D มากมายผลได้นิดเดียว
จากผลการศึกษาของ Booz Allen Hamilton ใน The Global Innovation 1000 (ธ.ค.49) พบว่า
(1) การทุ่มเงินอย่างมหาศาลด้าน R&D ของบริษัทไม่สามารถที่จะได้มาซึ่ง
นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพได้ เพราะจากการศึกษาชี้ว่าค่าใช้จ่ายด้าน R&D กับความสำเร็จของบริษัท หรือผลลัพธ์ทางการเงินนั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์ต่อกัน เช่น R&D ไม่มีความสัมพันธ์กับการเติบโตของยอดขายและรายได้ ความสามารถในการทำกำไรด้านการดำเนินงาน การเติบโตของตลาดและผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น R&D จะมีความสัมพันธ์กับผลกำไรสุทธิแค่เปอร์เซ็นต์ของการขายเท่านั้น
(2) มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของ 1000 บริษัทระดับโลกที่เป็นบริษัทซึ่งมีนัก
นวัตกรรมยอดเยี่ยม โดยพบว่าข้อมูลจากการลงทุนด้าน R&D กับเปอร์เซ็นต์ต่อยอดขายของบริษัทอันดับ 1-5 ของโลกที่จ่ายถึงระดับ $ Million ($M) มีดังนี้ (จาก Booz Allen Hamilton Innovation 1000)
อันดับ 1 Ford ลงทุน 8,000 $M เป็น 5% ต่อยอดขาย
อันดับ 2 Pfizer ลงทุน 7,442 $M เป็น 13% ต่อยอดขาย
อันดับ 3 Toyota ลงทุน 7,178 $M เป็น 4% ต่อยอดขาย
อันดับ 4 Daimler-Chrysler ลงทุน 7,019 $M เป็น 4% ต่อยอดขาย
อันดับ 5 GM ลงทุน 6,700 $M เป็น 3% ต่อยอดขาย
หรืออย่างกรณีอันดับที่ 11 Samsung ลงทุน R&D เป็นเงิน 5,428 ($M) เป็น 7% จากยอดขาย อันดับที่ 18 Sony ลงทุน R&D เป็น 4,698 ($M) เป็น 7% ต่อยอดขาย
และผลการศึกษาพบว่ามีเพียง 94 บริษัทในระดับโลกด้านนวัตกรรมจาก 1,000 บริษัทเท่านั้นที่สามารถมีผลผลิตซึ่งมีนัยสำคัญที่ดีกว่าในด้านผลประกอบการจากค่าใช้จ่ายด้าน R&D ในช่วงที่ศึกษา
(3) สิทธิบัตรที่ได้มาไม่ได้ช่วยสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ
จากการศึกษาพบว่า การเพิ่มค่าใช้จ่ายและลงทุนด้าน R&D สามารถเพิ่มจำนวนสิทธิบัตรให้มากขึ้น แต่ไม่มีหรือแทบจะไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิบัตรกับผลประกอบการด้านการเงินโดยรวมของบริษัท


ประการต่อมา R&D คือวิถีทางที่นำไปสู่นวัตกรรมของบริษัทจริงหรือไม่
ตามที่กล่าวไว้ข่างต้นว่า “เป็นความเชื่อดั้งเดิมที่มองว่า R&D ถูกแปลความไปโดยอัตโนมัติว่า การลงทุนในนวัตกรรมวันนี้เพื่อผลกำไรในอนาคตโดยที่ไม่มีใครเข้าใจจริงๆ ว่า R&D นั้นทำให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างไร”
และบทเรียนในอดีตของธุรกิจพบว่า นวัตกรรมมักจะนำไปสู่การมีผลประกอบการที่สูงแต่กระบวนการที่จะไปสู่ผลดังกล่าวไม่เป็นไปอย่างอัตโนมัติ ด้วยสาเหตุที่ว่า
(1) มีความเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์สามารถนำไปสู่การเกิดนวัตกรรมใหม่ที่จะ
พรั่งพรูออกมาถ้ารู้จักวิธีการคิดนอกกรอบหรือวิธีการคิดใหม่ๆ ซึ่งในความจริงไม่เป็นไปอย่างที่คิด
(2) หลายบริษัทพยายามทำ R&D โดยไม่มีจุดมุ่งอย่างแท้จริง จึงไม่มีนวัตกรรม
ที่มีประสิทธิภาพออกมา
ด้วยเหตุผลของ 2 ประการหลักๆ นั้นทำให้การใช้เงินเป็นไปอย่างสูญเปล่าด้าน
R&D หรือ “วงล้อแห่งการประดิษฐ์คิดค้น” ดังนั้นความคิดดีๆ ได้ติดหล่มอยู่กับคอขวดของกระบวนการพัฒนา และนวัตกรรมส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าสู่ตลาดได้อย่างสำเร็จเนื่องจากความเข้าใจผิดในเรื่องความต้องการของลูกค้าและการวางแผนที่ยอดแย่ในด้านการตลาดหรือการลงทุน


ประการสุดท้าย กลยุทธนวัตกรรมแบบใดจึงถูกทาง
ในการศึกษาบริษัทระดับโลกด้านนวัตกรรมพบว่า อุตสาหกรรมที่สามารถลงทุนด้าน R&D และมีผลได้ต่อรายได้จากการขายที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอัตราส่วนเกิน 50% ของต้นทุนสุทธิ เช่น อุตสาหกรรมซอฟท์แวร์และอินเตอร์เน็ต (76%) และอุตสาหกรรมสุขภาพ (71%) ขณะที่มีบริษัทซึ่งมีผลได้จาก R&D ต่อรายได้จากการขายที่ต่ำมากๆ เช่น ใน อุตสาหกรรมอากาศยานและการป้องกันความมั่นคง (20%) อุตสาหกรรมรถยนต์ (20%) และอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (21%)
จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายด้าน R&D และต้นทุนสุทธิของหลายบริษัทมีความสำเร็จต่อเป้าหมายทางธุรกิจในระดับที่ไม่กว้างนัก
ดังนั้น กลยุทธนวัตกรรมต่อไปนี้จะทำให้ธุรกิจไม่ติดกับดักหรือหลงทางเสียเงินและเสียเวลาไปกับการลงทุนด้าน R&D หรือแม้แต่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่มีจุดหมายที่ชัดเจนต่อธุรกิจ
(1) ความสำเร็จของ R&D ที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมในธุรกิจนั้นต้องการวิธีการ
วางแผนกลยุทธข้ามฝ่ายงานเพื่อสร้างนวัตกรรมในโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่สามารถบูรณาการ R&D ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับฝ่ายงานการตลาด การขาย การปฏิบัติการและการจัดการด้านต้นทุน
(2) ไม่มีสูตรสำเร็จของการสร้างนวัตกรรม แต่ “โซ่คุณค่าของนวัตกรรม (Inno-
vation Value Chain)” ต่อไปนี้จะช่วยธุรกิจได้

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants