ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีมูลค่า เช่น น้ำมัน เพชร ทอง หรือแร่ธาตุต่างๆ แม้กระทั่งน้ำ ต้องนับว่าเป็นความได้เปรียบที่มิอาจจะอธิบายได้ในเวลาสั้นๆ
เมื่อประเทศไทยเกิดวิกฤติค่าเงินบาทเนื่องจากการโจมตีค่าเงินของพวกกองทุนการเงินข้ามชาติ (Hedge Fund) หรือพ่อค้าโจรเสื้อนอก (Robber Baron) วงจรดังกล่าวก็ยังวนเวียนกลับมาที่บ้านเราอยู่ไม่ขาดสาย ซึ่งอาจจะมีคนทีมีเชื้อชาติไทยแต่ทำตัวแบบต่างชาติด้วย
ปัจจุบัน “น้ำมัน” ก็มีสภาพเดียวกับเรื่องของค่าเงินบาท แต่คนที่เกี่ยวกับค่าเงินจะมีแต่สถาบันการเงินกับบริษัทข้ามชาติและบริษัทที่นำเข้า-ส่งออก จึงจะได้ประโยชน์ในเรื่องค่าเงิน ในขณะที่ผู้ได้ประโยชน์จากการเก็งกำไร “น้ำมัน” ก็คงมีแต่คนที่ทำธุรกิจน้ำมันกับเฮจด์ ฟันด์ เท่านั้นจริงๆ
สำหรับประเทศไทยจะไปรอดตลอดปี’50 หรือไม่คงเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูเป็นพิเศษ ซึ่งหากพิจารณาสิ่งที่รัฐบาลดำเนินมาตรการในระยะสั้นถ้าสำเร็จคือการทุ่มเงินให้ราก ๆๆ ติดดินกู้แล้วเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจก ก็จะทำให้เราคนไทยรอดไปถึงปี’51 ก็อีกเพียง 7 เดือนเท่านั้นครับ
พูดถึง “พลังงาน” ต้องถือว่าเป็นปัจจัยยุทธศาสตร์ในระดับโลก
ใน พ.ศ.นี้เราคงต้องยอมรับกันว่า การที่จีนและอินเดียมีความร่ำรวยจากการมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทำให้ทั้ง 2 ประเทศพลิกก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียในระยะเวลาที่ไม่กี่ชั่วน้ำเดือด
1. ทั้ง 2 ประเทศต่างก็เลียนแบบชาติมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกาที่ใช้วิธีการ
วิธีการซื้อน้ำมันเข้ามาจากความร่ำรวยที่มีอยู่ แต่เป็นการซื้อในวัตถุประสงค์คือ เพื่อการบริโภคในประเทศเป็นประการแรก โดยไม่ต้องไปขุดเจาะหรือใช้แหล่งพลังงานของตนเอง ขณะเดียวกันก็ซื้อไปกักตุนไว้ด้วยเพราะในอนาคตใครจะไปรู้ ประเทศที่มีน้ำมันอาจจะเปลี่ยนจากตะวันออกกลางไปสู่เอเชียและอเมริกาก็ได้
2. การดำเนินยุทธศาสตร์ด้านการควบรวมกิจการ (M&A : Merger and Acqui-sition) เช่น บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับสามของจีนประกาศซื้อกิจการน้ำมันของยูโนเแคล ซึ่งถือเป็นการควบรวมกิจการที่ฮือฮามากว่าจะทำสำเร็จได้หรือไม่
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ยามใดที่บริษัทสหรัฐอเมริกาเข้าไปซื้อกิจการของบริษัทประเทศใดในโลก สิ่งนี้จะเรียกว่าเป็นการลงทุน แต่ในกรณีของจีนถือเป็นเรื่องการเมือง
3. ประเด็นใหม่คือ ญี่ปุ่นเองก็พยายามให้อาเซียนกักตุนปริมาณน้ำมันสำรองเพื่อป้องกันวิกฤตราคาน้ำมัน แต่ไม่ค่อยเป็นผลเท่าไหร่นักเพราะมาเลเซียและอินโดนีเซียสามารถผลิตน้ำมันรวมกันได้วันละ 2.5 ล้านบาร์เรลซึ่งเกินความต้องการใช้ทั้งอาเซียมากกว่า 50%
ประเทศร่ำรวยมียุทธศาสตร์ด้านพลังงานอย่างไร
สิ่งที่ผู้เขียนยกมาเป็นข้อเสนอเชิงประเด็นถกเถียงข้างต้น เป็นสิ่งที่เกิดมานานแล้วในสหรัฐอเมริกา หมายความว่า
สหรัฐอเมริกาจะใช้นำมันที่ตนมีเฉพาะในกรณีหน้าหนาวหรือกรณีที่น้ำมันจากแหล่งผลิตน้ำมันของโลกมีราคาแพง จึงนำน้ำมันที่สำรองไว้ขึ้นมาใช้เพื่อกดราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่ให้แพงเกินไป นอกจากนั้นก็จะซื้อใช้อย่างเดียว
แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ถ้าท่านผู้อ่านได้มีโอกาสไปต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ในเวลาค่ำคืนเมื่อมองจากฟากฟ้าหากบินจากเอเซีย (ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลี ฯลฯ ไปฝั่งแอลเอ (Los Angeles) ท่านจะเห็นแสงไฟฟ้าสว่างไสวราวกับกลางวันและแทบจะไม่มีที่ว่างให้ท่านเห็นความมืดได้เลย
ผู้เขียนเคยไปย่ำที่ LA และ Sanfrancisco พบว่าชีวิตความเป็นอยู่ของอเมริกันชนนั้น
1) ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ร้านค้าทั่วไป เชื่อหรือไม่ว่าจะปิดทำการการเวลา
21.00 น.หรือ 3 ทุ่มในบ้านเรา แทบจะทุกร้านจะมีเปิดก็เฉพาะร้าน 7-11 โรงแรม ฟู้ดเซ็นเตอร์บางแห่งหรือพวกบาร์และไนต์คลับแต่ไม่มาก
2) เมื่อร้านค้าปิดที่ 3 ทุ่มในสหรัฐอเมริกา ก็หมายความว่าผู้คนหรืออเมริกันชน
แบบชาวบ้านร้านตลาดก็จะอยู่ในบ้านหรือกลับถึงบ้านอยู่กับครอบครัว ไม่ไปไหนมาไหน ซึ่งจะทำให้คนอเมริกันไม่ใช้ชีวิตแบบบริโภคนิยมตลอด 24 ชั่วโมงหรือไม่มีเวลาหลับแบบประเทศกำลังพัฒนาทางเอเซีย
สิ่งที่เป็นผลที่ตามมาและเป็นคุณค่ามหาศาลด้านพลังงานของประเทศคือ
# เป็นการประหยัดพลังงานที่ได้ผลเป็นอย่างมาก เพราะธุรกิจ ห้างร้าน ปิดกันที่ 3 ทุ่มกว่าจะเปิดร้านอีกทีก็ 9 โมงเช้าหรือ 10 โมง โดยเฉพาะบรรดาห้างสรรพสินค้า ท่านผู้อ่านลองคิดดูว่าประหยัดพลังงานไปได้วันละอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
# สิ่งที่มีผลทางสังคมคือ เรื่องของการเกิดอุบัติเหตุ การชิงทรัพย์หรือมีปัญหาทางสังคมในยามค่ำคืนก็ลดน้อยลงไปด้วย
# แต่ในกรณีของเมืองลาสเวกัส ซึ่งเป็นศูนย์รวมความบันเทิง (การพนันและโชว์ต่างๆ) จะเปิด 24 ชั่วโมงเพราะคุ้มค่ากับเป็นแหล่งดูดเงินจากคนทั้งโลก
ทั้งหมดนี้จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย ต้องถือว่าเป็นการวางยุทธศาสตร์ด้านพลังงานที่แหลมคมมาก ซึ่งจะแตกต่างไปจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะมียุทธศาสตร์ด้านพลังงานแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เช่น
# การขอร้องหรือทุ่มโฆษณาให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน ซึ่งจะได้ผลในระยะสั้น แต่ระยะยาวไม่แน่ใจ
# การกำหนดปิดไฟหรือปิดบางช่วงกิจการบางประเภทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักที่บริโภคพลังงานสูงๆ ทั้งนี้เพราะเป็นสิ่งที่ทำแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย
# ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานอะไรที่กระทบกับธุรกิจหรือผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจวาสนาในประเทศกำลังพัฒนาก็จะหลีกเลี่ยงไปดำเนินการแบบอ่อนๆ แต่ถ้ากระทบกับผู้บริโภคโดยตรงก็จะทำทันที เช่น ขึ้นราคาน้ำมัน ขึ้นราคาสินค้า
ฉะนั้นแทบจะไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่ร่ำรวยกลับใช้พลังงานที่ประหยัดกว่าหรือคุ้มค่ากว่าประเทศที่กำลังพัฒนาหรือยากจน ทำไมโลกนี้จึงเป็นความแตกต่างที่ดูจะถ่างช่องว่างของความรวยและความจนให้มากยิ่งขึ้นทุกทีทุกที สุดท้ายคนจนหรือกลุ่มคนทำงานจะมีโอกาสไปยืนตรงมุมไหนในสังคมได้หรือถูกจำกัดให้ยืนได้ตามที่บอกหรือแสงไฟที่สาดส่องไปถึงเท่านั้น!
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
No comments:
Post a Comment