เรามักมองอะไรด้านเดียวหรือ ถูกข่าวสารชักจูงจนไม่เคยมองด้านอื่น ๆ ลองมาพิจารณาด้านของค่าเงินบาทที่แข็งค่าแต่เราไม่เคยมองและก็ไม่ได้อะไรเลย หรือได้น้อยมากสำหรับประชาชนคนไทยทั่วไป
วิวัฒนาการของค่าเงินบาท
1.ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่โดยผูกค่าเงินบาทกับเงินปอนด์สเตอลิงเพียงสกุลเดียว คือ 1 ปอนด์ เท่ากับ 11 บาท
พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมาก เกิดตลาดมืด รัฐบาลไม่สามารถควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้ได้อย่างมีเสถียรภาพ
ในปี 2490 เราได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่แบบหลายอัตรา คือ 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 12.50 บาท
2.การเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบตะกร้าเงิน ข้อมูลจาก http://www.settrade.com ระบุว่า เราใช้เมื่อ 2 พ.ย.2527
(ขณะที่ เวบไซท์อื่น ๆ ระบุ 1 พ.ย. 21 : คงต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ครับ!) กับเงินสถุลของประเทศคู่ค้าสำคัญ 7 ประเทศ เช่น สหรัฐ อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกง และสิงค์โปร์ โดย 1 ดอลล่าร์ เท่ากับ 20-25 บาท
ในปี 2524 เราย่ำแย่มากทางระบบการเงินสำรอง ทำให้ต้องกู้จาก IMF เป็นครั้งแรก 81.45 ล้าน $US
ปี 2526 เรามีเงินทุนสำรอง2,500 ล้าน $ US ทำให้เราต้องกู้จาก IMF อีก 150 ล้าน $ US
เพราะผลจากระบบการเงินที่ไม่แข็งแรงทำให้เมื่อ 4 เม.ย.27 เกิด "โครงการ 4 เม.ย.27" กู้วิฤกตไฟแนนซ์ เน่า
เราลดค่าเงินบาท ในเดือน พ.ย. 27 เพราะ ธนาคารและสถาบันการเงินเราปล่อยสินเชื่อที่ขาดคุณภาพ เกิด NPL และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
ปี 2528 เรากู้จาก IMF อีกเป็นครั้งที่ 3 จำนวน 400 ล้าน $ US และเพื่อชดเชยรายได้จากการส่งออก อีก 185 ล้าน $US รวมแล้ว 585 $ US
ช่วงก่อนวิกฤตทางการเงินอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 31 บาท
3. ปี 2540 เราเกิดวิกฤตทางการเงิน (เริ่มตั้งแต่ ปี 2539 แล้ว) จึงได้เปลี่ยนมาใช้ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวกึ่งจัดการได้ (Managed Float) คือ ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ กับบาทเป็นไปตามอุปทาน และอุปสงค์ของตลาด ทำให้ค่าเงินบาท เทียบแล้ว คือ 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 50 กว่าบาท ทำให้เศรษฐกิจล้มตายเป็นจำนวนมากเพราะเรากู้ระยะสั้นมาลงทุนระยะยาว เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงินปล่อยให้ค่าบาทลอยตัว ฝรั่งเรียกเงินกู้คืนเราไม่มีชำระหนี้ เพราะยอดหนี้เพิ่มเกือบเท่าตัว จึงเป็นอันจบสิ้นของธุรกิจไทย
(ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.dailynews.co.th)
อีกด้านของค่าเงินบาท
ยามที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเรามักจะมองว่าจะเกิดเหตุการณืวิกฤตทางการเงินเพราะเรามีบทเรียนที่เลวร้ายในด้านค่าเงินบาทมาตั้งแต่ในอดีตหากทุกท่านจำกันได้
-แต่เดิมทีค่าเงินบาทของเราสมัยปี โน้นตอนผมยังเด็ก ๆ 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 20 บาท ยังมีความรู้สึกว่าโอ้เรานี่ยังห่างไกลนะกับประเทศในโลกนี้
แล้วหลังจากนั้น ช่วงนานทีเดียว กว่าที่จะมาเป็น 1 ดอลลาร์เท่ากับ 25 บาท แสดงให้เห็นว่า ประเทศเรายิ่งพัฒนายิ่งถอยลง และในช่วงวิกฤตทางการเงิน ตอนที่ปลดผบ.ทบ. สมัย พล เอก.เปรม ท่านเป็น นายกรัฐมนตรี ผมจำได้ว่า เราไม่กระทบมากนัก เพราะเศรษฐกิจ เราไม่ใหญ่โตอะไร ที่ปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว คือ 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 31 บาท ธุรกิจที่ได้กำไร คือ คนที่รู้ก่อนว่าจะลดค่าเงินบาท จะมีธุรกิจ 2 ธุรกิจ (อุตสาหกรรม เกี่ยวกับก่อสร้าง และ การเงิน)
ที่ได้ประประโยชน์จากความใกล้ชิดกับรัฐมนตรีคลัง หรือ เคยมีส่วนในธุรกิจนั้นมาก่อน จึงรีบชำระหนี้ต่างประเทศ รอดพ้นวิกฤตทำกำไรมหาศาล
ปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนของเรา กับดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นมาเรื่อย จาก 51 กว่าบาทต่อ 1 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 34 บาท หรือ น้อยกว่านี้น ซึ่งมีทั้ง 2 อย่างคือ เศรษฐกิจค่อย ๆ ปรับตัว กับ การแทรกแซงของ ธปท. และ มีบางครั้งจากการโจมตีค่าเงินของคนนอกประเทศที่ต้องการป่วนประเทศ
เราได้อะไรจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า
อย่างแรกครับ ต้องยอมรับว่าสินค้าต่าง ๆ ของเรานำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้สินค้าเหล่านั้นราคาถูกลง แต่เราไม่เคยได้ยินว่าพวกพ่อค้า ลดราคาสินค้าให้เราเลย
อีกทั้งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่นำเข้าวัตถุดิบ จะมีราคาถูกลง ทำให้ต้นทุนสินค้าราคาต่ำลง และ กำไรมากขึ้น แต่คนไทยหรือ ผู้บริโภคก็ไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งนี้เลย
ทั้งราคาน้ำมัน(ปรับลงช้ามากกว่าการขึ้นราคา) ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และ คอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งควรจะถูกลงกลับไม่มีการลดราคา
อย่างต่อมาที่สำคัญมาก คือ อุตสาหกรรมไทยควรฉวยจังหวะนี้ เปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่มีเทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิม ลงทุนพัฒนาคนให้ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพราะจะทำให้ผลิตสินค้าและต้นทุนที่ตำลง มิฉะนั้นก็ไม่มีทางสู้กับ ประเทศจีน อินเดีย เวียตนาม ที่คุณภาพการผลิตดีกว่าในขณะนี้
(เราเข้าใจผิดว่าเขาแรงงานถูกกว่าซึ่งความจริงแล้ว เขาผลิตได้คุณภาพแล้ว และ ยิ่งขายมากคุณภาพยิ่งสูงขึ้นเพราะเขามีช่องทางจำหน่าย แต่เราไม่มีเพราะเรายังคิดและทำแบบเดิม คือ รับจ้างผลิต กับ แค่ไปออกงานแสดงสินค้า หรือ จับคู่ธุรกิจ ขณะที่ประเทศอื่นเปลี่ยนวิธีการแข่งขันใหม่ในตลาดโลกแล้วโดยเฉพาะ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ขณะที่ ญี่ปุ่นเริ่มพูดดัง ๆ มา 2-3 ปีแล้วว่าให้คนไทยในอุตสาหกรรมของเขาต้องหาวิธี ลดต้นทุนให้ต่ำเพราะต้นทุนพัฒนาให้ต่ำยากแต่ต้องทำให้เร็ว ขณะที่ประเทศที่อุตสาหกรรมต้นทุนต่ำ แรงงานถูกสามารถพัฒนาทักษะให้ดีได้)
เนื่องจากถ้าเราปรับปรุงเครื่องจักรใหม่ (ไม่ใช่ซ่อมเครื่องจักรเก่า เทคโนโลยี่ล้าหลัง) คุณภาพสินค้าจะดีขึ้นและแข่งขันได้ในตลาดโลก แต่ผู้ประกอบการเราห่วงกำไรและเงินที่ร่ำรวยทู้ซี้ใช้เครื่องจักรเก่า กับแรงงานราคาถูก เพื่อจะได้กำไรมาก แล้วมาร้องทีหลังว่าส่งออกยาก ราคาเราแพงขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการแบบเดิม ๆ เพื่อให้รัฐบาลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงด้วยการแทรกแซงค่าเงินบาทจากทุนสำรองของประเทศ
อย่างสุดท้าย การไปซี้อสินค้าในตลาดโลกจะถูกลง ผู้เขียนเพิ่งกลับมาจากสิงคโปร์ เราสบายมากครับ 1ดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับ 22บาท เศษ ผู้เขียนซื้อความรู้ใหม่ ๆ เข้ามาเต็มเลย สำหรับการใช้เพื่อธุรกิจด้านที่ปรึกษาของบริษัท ขณะที่บ้านเรายังไม่เข้ามา หรือ มาแล้วไม่ยอมลดราคาตามค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
แต่เชื่อไหมครับ ราคารถไฟฟ้าที่บ้านเราปรับขึ้นตลอดเวลา บ้านเขา 3 ปี ยังเท่าเดิม เพราะ ผู้เขียนนั่งรถไฟฟ้าจากสนามบินชางฮี เดิม 44.20 บาท เดี๋ยวนี้เหลือ 37.74 บาท ยิ่งเสื้อผ้าโดยเฉพาะ แบรนด์ดังอย่าง PUMA ราคาบ้านเราไม่เคยลดราคาเลย ที่นั่นลดราคาสินค้าใหม่ หรือ บางรายการจาก 15 -30 %
ความจริงแล้ว ค่าเงินบาทมีทั้งดีและไม่ดี ครับมอง 2 ด้านบ้างก็ดี แต่ถ้าดูสถิติแล้ว จะบอกว่าบาทแข็งค่าจะเทียบกับอะไร ตอนไหน เพราะในอดีตเราแข็งกว่านี้อีก แต่เราก็ยังอยู่กันได้ดีด้วย
จึงกลายเป็นว่า ค่าบาทแข็งใครได้ประโยชน์ มากกว่าแต่ประชาชน คนไทยรับกรรมทั้งขึ้นทั้งล่อง ผลบุญไม่ค่อยถึงหรอกครับ จริงมั๊ยดูจากประวัติศาสตร์ได้
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNT Consultants