Wednesday, March 7, 2007

A Strategic Intellectual Capital Model for Thai Enterprises

ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

บทเรียนที่เป็นเลิศ :
การสอบโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เรื่องตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด

การเรียนในระดับดุษฎีบัณฑิตหรือที่มักเรียกกันว่า เรียนปริญญาเอกหรือด๊อกเตอร์นั้น มีความยากง่ายในแต่ละช่วงที่แตกต่างกัน แต่รวมความแล้วก็ไม่ได้ “ง่ายๆ” อย่างที่คิดกันก่อนจะมาเข้าเรียนหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต

โดยเฉพาะสาขาการจัดการธุรกิจเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเห็นความสำคัญและมีความสนใจเพราะมีทุนเดิมที่ทำงานในการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ ก็อาจจะเบาหรือสบายขึ้นมานิดหน่อยหัวใจที่สำคัญในการเรียนระดับนี้จึงมุ่งไปที่ การจัดทำดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) วันที่ผู้เขียนขึ้นสอบ หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation Topic) เมื่อ 5 เมษายน 2548 ถือเป็นก้าวย่างแรกที่จะเดินไปสู่ก้าวที่ใหญ่กว่าและเมื่อผ่านการสอบหัวข้อเป็นที่เรียบร้อย โดยมาสรุปลงตัวตามคำชี้แนะและความเห็นของคณะกรรมการสอบหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ หลังจากสอบผ่านหัวข้อดุษฎีนิพนธ์แล้ว ก็ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาและดูงานที่ UC Berkely และอีกหลายๆ ที่ทั้ง Disneyland, Hollywood, บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ทำให้ปลอดโปร่งและมีเวลามานั่งคิดว่า“เราจะทำ
“โครงร่างดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation Proposal) อย่างไร”

ก้าวแรก:ขอแนวทางจากอาจารย์ที่ปรึกษา!!!

เมื่อผู้เขียน ได้เรียนหารือ ท่านคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (รศ.ดร.พยอม วงศ์สารศรี) ขอเชิญท่านเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ด้วยหลายๆ ปัจจัย

ดุษฎีนิพนธ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับ “ตัวแบบทุนทางปัญญา” (Intellectual Capital Model) เป็นเรื่องที่ยังถือว่าใหม่มากในเมืองไทย หาผู้รู้และเชี่ยวชาญค่อนข้างยาก

ผู้เขียนได้เลือกการศึกษาในลักษณะ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Re-search) โดยใช้กลยุทธการวิจัย (Research Strategy) ในรูปแบบการวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study Research)
จึงอยากได้ผู้ที่เชี่ยวชาญทางการวิจัยและเปิดกว้างในการวิจัยใหม่ๆ ที่ไม่อยู่ในกรอบของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)3) ผู้เขียนเลือกที่จะนำเสนอดุษฎีนิพนธ์แบบฟรีสไตล์ (Unformated Research Style) แต่ตอบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในการวิจัยได้ครบถ้วน เช่น คำถามในการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย เป็นต้นท่านอาจารย์ที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำในการจัดทำโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) หรือโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ ในรูปแบบของการจัดทำเต็มรูป

ถ้านึกถึงรูปแบบตาม Format คือ บทที่ 1-3 โดยประกอบด้วย

บทนำ : บทที่ 1-ความสำคัญของการศึกษา
-ความสนใจในการวิจัย/คำถามการวิจัย
-สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
-วัตถุประสงค์ของการวิจัย
-ขอบเขตการวิจัย
-ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-นิยามศัพท์เฉพาะ

บทที่ 2 : วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
-งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-กรอบแนวคิดในการวิจัย

บทที่ 3 : วิธีดำเนินการวิจัย
-ระเบียบวิธีวิจัย

ประเด็นที่เกิดเป็นคำถามของผู้เขียน คือ จะเริ่มยังไงดีล่ะครับ!

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
The Business-Knowledge Management Thailand

No comments: