Monday, December 31, 2007
“ในหลวง” พระราชทานพรปีใหม่
Thursday, May 24, 2007
ชาติจะล่มจม ข้าราชการไทยทำอะไรอยู่
....ท่านมีความรับผิดชอบที่จะทำให้บ้านเมืองไม่ล่มจม หรือ ตักเตือนประชาชนที่ไม่มีความรู้ ให้เกิดความรู้ขึ้นมาว่าบ้านเมืองควรที่จะไปทางไหน ท่านทำได้ ท่านพูดได้ ท่านคิดได้เพราะท่านมีความรู้ จึงขอร้องให้ท่านยายามที่จะแก้ไขสถานการณ์ต่อไป เพราะว่าสถาการณ์ปีนี้ไม่ดีเลย....
...แต่คนทุกคนต้องสามารถที่จะคิด เพราะว่าหวงแหนบ้านเมือง ไม่อยากให้ล่มจม...
นั่นคือพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 24 พค.50 ที่ผ่านมา
คำถามคือ ข้าราชการไทยท่านมัวทำอะไรกันอยู่ ไม่คิดว่าจะกู้วิกฤต หรือ ช่วยพื้นฟูประเทศชาติ หรือ พอใจกับเศษเงินที่นักการเมืองในอดีตโยนให้ในการปรับเงินเดือน โบนัส โดยเฉพาะโบนัส 2-300,000 บาทต่อปี สำหรับข้าราชการระดับสูง ที่นำมาจากภาษีของประชาชน ข้าราชการบางกลุ่มที่ทำตัวเป็น น้ำนิ่ง วางเฉย และ เกรงกลัวอดีตนักการเมือง กับอำนาจเงินมากเสียกว่า กลัวการที่ประเทศชาติจะล่มจม
และยิ่งฟังพระราชดำรัสเมื่อวานแล้วรู้สึกว่า เป็นเพราะพระบารมีที่กว้างใหญ่ไพศาลจริง ๆ และใชคดีมากๆ ที่มีพระองค์ท่านทรงเมตตาดูแลประเทศไทย และประชาชนของพระองค์
แต่ข้าราชการไทยนั้นนึกได้เพียงว่ามีข้าราชการในพระองค์ฯ ข้าราชการทางศาล และเหล่าทหารกล้ากับผู้เสียสละใน 3 จังหวัดภาคใต้เท่านั้น ที่ทำเพื่อประเทศไทย นอกนั้นยังสบายดีอยู่หรือ หรือไม่มีสำนึกอะไรเลย
Sunday, March 18, 2007
Saturday, March 10, 2007
จะทำ Thesis และ Dissertation ให้สำเร็จได้อย่างไร
จะทำ Thesis และ Dissertation ให้สำเร็จได้อย่างไร
การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา ไม่ว่าจะเป็นปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก
สิ่งที่เป็นปัญหาคาใจและไม่สามารถดำเนินไปได้จนสำเร็จภายในเวลาที่กำหนด หรือ
ยากมากที่จะลงตัวทำให้ได้ทั้งการหาหัวข้อการวิจัยการจัดทำProposal
การออกแบบวิธีการวิจัยฯลฯและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำดุษฎีนิพนธ์ยิ่งยากไปกว่า
วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
ดร.ดนัย เทียนพุฒ จะได้เล่าและให้แนวทางการทำใน The Business-Knowledge Management(KM) Thailand ที่นี่ครับ
คำถามหรือประเด็นที่ชอบพูดกันมากที่สุดเมื่อเข้ามาเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา
คงนี้ไม่พ้นจะถามเกี่ยวกับการวิจัย เช่น
- จะทำวิจัยเรื่องอะไร ?
-ได้หัวข้อวิจัยหรือยัง ?
-มีความสนใจในเรื่องอะไรอยู่ละ ?
ยิ่งในกรณีที่ต้องส่ง Proposal มาก่อนตอนสมัครเข้าเรียนโดยเฉพาะระดับ ป.เอก ด้วยแล้ว
พอเข้ามาก็-อยากจะเปลียนบ้าง - มีความสนใจใหม่ -เรื่องที่เสนอไว้เดิมยังมองไม่ชัดนักว่าจะทำอย่างไร ?-ไม่รู้จะเริ่มที่ไหนดี หรือ ใครจะมีคำตอบให้บ้าง ?ฯลฯ
เอาเป็นว่า "จะหาหัวข้อวิจัยให้โดนใจได้อย่างไร ?"จะเล่าให้ฟังเลยครับ
อย่างไรจึงจะเรียกว่า "หัวข้อวิจัย"
ลองพิจารณาข้อความต่อไปนี้
-ความสนใจของผู้วิจัยในเรื่อง "Event Marketing"
-การศึกษาจุดกำเหนิดของคลัสเตอร์ธุรกิจ (Business Cluster) ในประเทศญีปุ่นเพื่อนำมาปรับในใช้ประเทศอาเซียน
-วิธีการเก็บรวบรวมขัอมูลด้วยเทคนิคโฟกัสกรุ๊ป (Focus Group Technic)
-การจัดทำโมเดลวิเคราะห์สาเหตุเชิงโครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบในวิสัยทัศน์ธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เกี่ยวกับการจัดทำ Dissertation ของนักศึกษาปริญญาเอกโปรแกรมการจัดการธุรกิจ
-ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนรากหญ้าพบว่า "เน่า"
-เกิดรูปแบบความรู้ที่แท้จริงในการจัดการความรู้ (KM) ของเครือข่ายชุมชนในประเทศไทยจริงหรือ
หากใครสามารถตอบได้ว่า
1.อันไหนเป็นหัวข้อการวิจัย
2.อันไหนเป็นแค่ความสนใจของผู้ที่กำลังศึกษา
3.ไม่ใช่ทั้ง 1. และ 2.
ถ้าจะตอบคำถามให้ได้ว่า "อะไรคือ หัวข้อวิจัย"
1.ต้องรู้ก่อนว่า การวิจัยคืออะไรการวิจัย คือ การแสวงหาข้อความรู้หรือ
ข้อความจริงของปรากฎการณ์ทางธรรมชาติหรือธุรกิจ (ในกรณีด้านการจัดการธุรกิจ)
2.มีเกณฑ์อะไรจึงบอกได้ว่าเป็นการวิจัยที่ดี
-มีความใหม่(Original)
-มีความคิดริเริ่ม(Initiative)
-มีความเป็นปรนัย(Objectivity)
-เป็นการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ(Systematic)
-เป็นความรู้ทั่วไป(Generalize)
3.ในหัวข้อวิจัย บอกอะไรให้คนอื่นรู้/ผู้ทำวิจัยรู้บอก
1).ความสัมพันธ์ของตัวแปร
2).ตัวอย่าง/ประชากรในการวิจัย
3).ความลุ่มลึกของการวิจัยที่มาอย่างแท้จริงของ Research Topic
-Best Practices
-Academic School
-Professional
ถ้าจะว่าไปแล้วแหล่งที่ดีที่สุดของการหาหัวข้อวิจัยคือ"การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)"
มาจากไหนก็
-ค้นจากอินเตอร์เน็ต เช่นสุดยอดข้อมูลจากกูเกิ้ล
-อ่านวารสารระดับโลก ในสาขาหรือเรื่องที่ท่านสนใจ
-อ่านงานวิจัยจากวารสารระดับโลก พร้อมทั้งดูว่ามีข้อแนะนำที่ให้ทำวิจัยอะไรต่อ
-ถามหรือสนทนากับบรรดาสุดยอดผู้รู้ในสาขานั้น ๆนี่ละครับ คือแหล่งที่ท่านจะได้หัวข้อวิจัย
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com
Thursday, March 8, 2007
Research-To-Go
ข้อคิดสำคัญในการทำวิจัย
โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ
1 Be inclusive with your thinking
อย่าพยายามเลิกความคิดอย่างรวดเร็ว
สร้างความคิดและพยายาม
หาความแตกต่างของResearch Project / Research Topic ที่ท่านสามารถวิเคราะห์ได้
ทำให้ท่านเห็นว่าโชคดีในความคิดที่มีและหัวข้อวิจัย
ทำเดี๋ยวนี้ อย่าทำทีหลัง...พยายามและสร้างความคิดริเริ่ม
2.เขียนความคิดออกมาถ้าท่านไม่เขียนความคิดออกมาท่านจะเสียโอกาส
เพราะความคิดอาจจะเปลี่ยนไปและจะรู้สึกว่าไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหน
จงนั่งลงและพิจารณาความคิดที่เขียนออกมาแต่ละความคิด
3.พยายามอย่าคิดในสิ่งที่คนอื่นมีอิทธิพลกับท่าน หรือ
คาดหวังจากท่านท่านจะเปลี่ยนหัวข้อไปจนกระทั่งเป็นหัวข้อที่ท่านสนใจจริง ๆ
(ไม่ใช่ความสนใจของเพื่อน ผู้บริหาร อาจารย์)
จงเลือกหัวข้อที่ท่านสนใจจริง ๆ
4.จงตั้งเป้าหมายในการวิจัยอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง
-การวิจัยครั้งนี้จะทำให้ท่านสำเร็จตามเงื่อนไขของหลักสูตร
-ความจริงที่ยิ่งใหญ่ การกำหนดกระบวนการวิจัยอาจจะเป็นสิ่งสำคัญ กว่าผลได้ของการวิจัย
-ความคิดที่เป็นอันแรกและทั้งทมด ของโครงการวิจัย ควรจะเป็นประสบการณ์การเรียนสำหรับท่าน
5. ถ้าหัวข้อนี้ต้องทำวิจัย 10 ปี ท่านต้องถามตัวเองว่ามีเวลาขนาดนั้นหรือไม่ ?
สร้างResearch/Dissertation roadmap ขึ้นมา
แม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งแรกในความคิดของท่าน แต่ก็ไม่สายเกินไปที่จะทำ
6.สิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ ลงมือเขียนงานวิจัยได้แล้ว
(ร่างความสนใจในหัวข้อ เช่น ปรากฎการณ์ คำถามในการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย เอาเท่านี้ก่อนครับ )
Dr.Danai Thieanphut
Dissertation Roadmap
Stage 1 Thinking about it
Stage 2 Preparing the proposal
Stage 3 Conducting the research
Stage 4 Writing the research paper
Stage 5 Sharing the research outcomes with others
Stage 6 Revising the research paper
ประสบการณ์ในการจัดทำโครงร่าง Dissertation /Thesis Roadmap
เป้าหมายของทุกคนในการเข้ามาสู่การศึกษาระดับการจัดการดุษฎีบัณฑิต
คือภายใน 3 ปีจะต้องก้าวออกไปจากรั้ว "ม.ราชภัฎสวนดุสิต"
พร้อมปริญญา Doctor of Management -Major Business Management
จากวันแรกในเดือน พค.47 จนถึง กย. 47ผมคิดว่า
เราได้มีการพุดคุยอย่างไม่เป็นทางการในเรื่อง Dissertation
จนกระทั่งมีรูปแบบที่เป็นทางการมาพอประมาณ(แม้ว่าเพื่อน DM2/2 บางท่านยังมีความกังวลอยู่)
ในวันที่ 11 กย 47 เราได้มีการสรุปในกลุ่ม
ถึง ประเด็นการศึกษา/ความสนใจในการจัดทำ Dissertation Roadmap
ที่ลงตัวมากที่สุดโดยโครงสร้างการจัดทำ Dissertation Roadmap ในกลุ่มน่าจะเป็นดังนี้
1.กลุ่มความสนใจด้าน HR/Knowledge OrganizationAreas:
Human Resource
Human Capital
Knowledge Capital
Intellectual Capital
Career Development +OD/HRD
HR Scorecard
2.กลุ่ทความสนใจด้าน MarketingAreas:
Mkt Strategy
Mkt Mixed
Brand Building
Products Strategy & Development
Below the line Mkt
Distribution Channel
CRM / IMC /TIM
Mkting Research
3.กลุ่มความสนใจด้าน A/C -F/NAreas:
3D Bugeting
ABC/EVA/ROI
Venture Capital
Financial Engineering
Risk Mgt
4.กลุ่มความสนใจด้าน การจัดการ & ธุรกิจAreas:
Competitiveness of Nation /Business
Theory of Innovation
Business Strategy-BSC / Blue Ocean
Change Management
Process Control
Productivity
e-Business
Core Competency
สิ่งที่เราจะเดินต่อไปเมื่อรู้ว่ามีกลุ่มความสนใจแล้วคือการเตรียมตัวเตรียมใจในอนาคตที่จะมาถึงคือ
Step 1:เลือก Area ที่จะเข้าไปศึกษาวิธีการเลือก
1) เป็นเรื่องที่เราสนใจมาก ๆ และเชื่อว่าเราจะ "Go Ahead" ได้ตลอด 3 ปี
2)เป็นสิ่ง/เรื่อง หรือ ขอบเขตที่เรามีพื้นฐานในด้านต่อไปนี้ เช่น-การทำงาน/ธุรกิจ-การศึกษาทั้ง ป.ตรี ป.โท
3)พอจะรู้ แหล่งข้อมูล หรือ ใครเชี่ยวชาญ
Step 2: เมื่อได้ Area แล้วจงลงลึก " In Depth" ในเรื่องนั้นวิธีการที่จะลงลึก
1) บทความประจำภาคเรียนให้เขียนลงในเรื่องที่สนใจ
2)พยายามอ่าน/เขียนโดยศึกษาจาก-Theory-Research/Dissertation
3)เราจะพบเรื่องที่จะทำวิจัยได้ไม่ยากนัก
Step 3 : "All for One , One for All
"ผมเชื่อว่าทุกคนไม่อยากบอกว่าตนเองทำเรื่องอะไรเพราะกลัวถูกแย่งชิงหัวข้อ Dissertationความจริง !!!
1) ถ้าเราคิดว่า เราเป็นเพื่อนกันจริงขอให้ยึดหลักข้างตน การร่วมกันศึกษาจะประหยัดเวลา ยกเว้นว่าคนละเรื่องกันจริง ๆ
2) การที่ใครบอกว่าจะทำเรื่องอะไรเท่ากับลงทะเบียนในความคิดของทุกคนแล้ว
3) การแลกเปลี่ยนเรื่องที่จะทำจะมีประโยชน์ดังนี้
@ เพื่อน ๆ ที่คิดจะทำเรื่องเดียวกันจะได้คุยกันว่าซ้ำหรือไม่ จะได้ไม่เสียเวลา
@ ความสนใจจริง ๆ ที่แท้แล้วเป็นลักษณะ " Breadth" ถ้ายังไม่มีการศึกษาอย่างเป็นระบบ
@ องค์ความรู้ทั้ง 4 กลุ่มที่เราจะพิจารณามีขอบเขตมากพอสำหรับทุกคนครับ
There are many areas of Dissertation:
-Theoretical areas
-Methodology & Content areas
-Practical areas
ดังนั้น อย่าไปกลัวเลยครับว่าเรื่องจะซ้ำกัน หรือ บอกเพื่อนไม่ได้
Step 4 : บูรณาการความคิด จงจำไว้ว่า ต้องเป็นเรื่องที่ท่านสนใจอยากทำ (สนใจคือมีพื้นฐานทางความรู้ หรือ ประสบการณ์ )
ไม่ใช่เรื่องที่คนอื่นอยากทำโดยให้ท่านทำ แม้จะเป็นไปได้แต่ท่านต้องสนใจจริง ๆเมื่อก้าวเข้ามาแล้วต้องมุ่งมั่นที่จะก้าวเดินต่อไป
เขียนบทความในทิศทางของ Dissertation เท่านั้นครับ
อย่าวอกแวก !!!ท้อได้ แต่อย่าหมดกำลังใจ ครับบบบบบบบบบบบบ
เมื่อใดที่ท่านหมดกำลังใจ ขอให้นึกว่ายังมีผมอยู่อีกคนที่คอยช่วย และให้กำลังใจกับทุกท่าน
แต่สุดท้าย "Dissertation" ท่านเท่านั้นละครับที่จะเป็นผู้เขียนความรู้ใหม่ใน "Business Management"
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants
Instant KM By Dr.Danai T.
เจาะกึ๋น KM ในเมืองไทย โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กระแสของ KM หรือ Knowledge Management (การจัดการความรู้) ในบ้านเราดูจะเป็นเครื่องมือการจัดการที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วและสิ่งที่เกิดไปพร้อมๆ กันคือ กระจายไปบนความสับสนพอสมควร
มีส่วนราชการหลายแห่งได้เชิญให้ผู้เขียนไปบรรยายในเรื่องของ KM ติดต่อกันในช่วง 2-3 เดือน ผู้เขียนเลยถามว่าทำไมจึงสนใจกันมากขึ้นส่วนราชการที่ติดต่อมาได้ให้เหตุผลว่า เพราะจะต้องจัดทำแผนเรื่อง KM ส่งให้ส่วนกลางเพราะกำหนดให้ต้องส่งมิฉะนั้นตัวชี้วัดจะไม่ผ่านเพราะเขียนไว้ว่าจะทำในเรื่อง KM
มีคำถามเชิงสับสนมายังผู้เขียนว่า ระหว่าง KM กับ L/O (Learning Organization) หรือองค์การแห่งการเรียนรู้ ซึ่งในตอนหลังค่อยพบว่าเริ่มเข้าใจถูกต้องว่าอะไรต้องมีมาก่อนอะไร
ในช่วงที่มีน้ำท่วมถล่มบ้านเรือนในจังหวัดอุตรดิตถ์ทำให้ผู้เขียนนึกถึงว่าแต่ละจังหวัดต้องทำแผน KM แล้วอดนึกไม่ได้ว่า “ที่ป่าวประกาศว่ามีแผน KM มีภูมิปัญญาท้องถิ่น....ฯลฯ” สิ่งเหล่านี้บอกผลลัพธ์ที่ชัดเจนของเรื่อง KM ว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จ
KM ในภาคตำรา
ผู้เขียนเห็นว่าก่อนที่จะไปถึงเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ KM ซึ่งมีพัฒนากันหลายเวอร์ชั่นนี้ อยากสรุปนำให้เห็นถึงสิ่งที่โลกธุรกิจมีความเข้าใจเกี่ยวกับ KM นี้อย่างไรบ้าง
จากการสำรวจของ European Top 200 Companies (2000) พบว่า
1.KM ที่เข้าใจกันนั้นหมายถึงสิ่งต่อไปนี้
เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์การ ซึ่งสนับสนุนการแลกเปลี่ยนของสารสนเทศ ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างพนักงานและหน่วยงาน
เป็นวิธีที่บริษัทเน้นจริงจัง: ผลรวมของกระบวนทำงานที่กำหนดการสร้าง การกระจายและประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายองค์การ
2.โดยสรุปแล้ว KM หรือ การจัดการความรู้คือ
สิ่งที่สร้างนิยามขึ้นกันเองของธุรกิจ โดยให้นิยามว่า“ผลรวมของกระบวนทำงานที่สนับสนุนต่อการสร้าง การประเมิน การกระจายและการประยุกต์ความรู้เพื่อที่จะได้บรรลุเป้าหมายที่ได้นิยามไว้แล้ว”
3.ผู้เขียนจึงนำความรู้ดังกล่าวมาสรุปต่อยอดไว้ว่า
ความรู้เป็นกระบวนการด้านพลวัตของคนที่พิสูจน์ความเชื่อส่วนตนจาก “ความจริง”ความรู้ในองค์การหรือคนนี้จะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ แต่โดยทั่วๆ ไปจะมีอยู่ 2 ลักษณะโดยมีทั้งนิยามแน่ชัด (Explicit) และโดยปริยาย (Tacit) "เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงความรู้โดยปริยาย (Tacit Knowledge) บริษัทก็จะมีการปรับความรู้โดยนิยามแน่ชัด (Explicit Knowledge)Robert Buckman, CEO BUCKMAN LABS (1998)
ถ้าจะอ้างถึง Nonaka และ Takeushi (1995) ได้เปิดแนวคิดของ ความรู้ทั้ง 2 ลักษณะผ่านทางหนังสือ The Knowledge Creating Company ได้ให้ความหมายของความรู้ทั้ง 2 ลักษณะนี้ไว้ว่า
ความรู้โดยนิยามแน่ชัด (Explicit Knowledge) สามารถพูดได้อย่างชัดเจนในภาษาที่เป็นทางการ รวมถึงข้อความ ไวยากรณ์ ลักษณะตัวแบบคณิตศาสตร์ คุณลักษณะเฉพาะ คู่มือและอื่นๆ“ความรู้ชนิดนี้สามารถส่งถ่ายข้ามไปยังแต่ละบุคคลอย่างมีรูปแบบและง่ายๆ”
ความรู้โดยปริยาย (Tacit Knowledge) เป็นสิ่งที่มีภาษาเป็นทางการหรือรูปแบบ เป็นความรู้ส่วนบุคคลที่ฝังตรึงในประสบการณ์ของแต่ละบุคคล และเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความเชื่อของแต่ละคน มุมมองและระบบคุณค่า
การจัดการความรู้หรือ KM ตามที่ Nonaka และ Takeushi ให้นิยามไว้ดังนี้“การจัดการความรู้เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง การเผยแพร่ความรู้อย่างกว้างขวางโดยตลอดทั้งองค์การและการนำไปสู่ผลิตภัณฑ์/บริการ เทคโนโลยีและระบบใหม่อย่างรวดเร็วบางครั้งเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ”
และในการสร้างความรู้จะมีอยู่ 2 มิติดังภาพ
จากมิติของระดับความรู้ที่มีอยู่ในภาพ ความรู้จะถูกสร้างจากบุคคลเท่านั้น องค์การไม่สามารถสร้างความรู้โดยปราศจากบุคคล องค์การสนับสนุนการสร้างสรรค์ของบุคคลหรือจัดให้มีเนื้อหาเพื่อบุคคลจะได้นำไปสร้างความรู้ การสร้างความรู้ในองค์การควรจะมีความเข้าใจในกระบวนการที่เรียกว่า การขยายระดับความรู้ของบุคคลในองค์การ และการตกผลึกความรู้จะเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายความรู้ขององค์การ กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นภายในองค์การ เช่น ในรูปแบบของ “ชุมชนของการปฏิบัติ" ซึ่งเป็นการข้ามระดับหรือขอบเขตระหว่างกันหรือข้ามภายในองค์การ
สำหรับมิติด้านทฤษฎีความรู้นั้น โนนากะและทาเคอูชิ นำมาจากไมเคิล โพแลนยี (Polanyi’s 1996, อ้างจาก Nonaka & Takeuchi, 1995) ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่าง ความรู้โดยปริยาย (Tacit Knowledge) และความรู้โดยนิยามแน่ชัด (Explicit Knowledge) โดย โพแลนยี เห็นว่า มนุษย์จะได้มาซึ่งความรู้จากการสร้างและจัดการอย่างแข็งขันด้วยประสบการณ์ของตนเอง ความรู้จึงสามารถแสดงออกในรูป คำและจำนวน ซึ่งเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยขององค์ความรู้ (Body of Knowledge) ที่มีอยู่
ดังนั้นการสร้างความรู้จึงเป็นลักษณะของบันไดความรู้ขององค์การระหว่างความรู้โดยปริยาย และความรู้โดยนิยามแน่ชัด ผ่านวิธีการใน 4 วิธีคือ สังคมปะกิต (Socialization: S) การนำความรู้สู่ภายนอก (Externalization: E) การรวมเข้าด้วยกัน (Combination: C) และการรวมระหว่างกันโดยผ่านการเรียนรู้ (Internalization: I) ซึ่งมักจะเรียกกันว่า ตัวแบบทานากะเอสอีซีไอ (Tanaka’s SECI Model)
โดยรวมผู้เขียนให้ความหมายของการจัดการความรู้หรือKMว่าเป็นเครื่องมือ เทคนิคและกลยุทธที่รวบกระบวนการขององค์การ สารสนเทศ เทคโนโลยี กลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์การให้สามารถสนับสนุนการจัดการ และการเปลี่ยนแปลงความรู้และการเรียนรู้ของคนเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การปัญหาสำคัญของการใช้ KM ในเมืองไทยที่ผู้เขียนพบ จะมี
ความเข้าใจใน Tacit และ Explicit ไม่แน่ใจว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่
ที่ Nonaka และ Takeuchi บอกว่า Tacit Knowledge“เป็นสิ่งที่สามารถรู้มากกว่าที่เราจะสามารถบอกได้” (We can know more than we cal tell)” โดยอ้างมาจาก Polanyi (1983) เป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือไม่
มีงานวิจัยของ Tsoukas (2001) อธิบายว่า Tacit Knowledge ไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็น Explicit Knowledge และจะจัดการได้
นี่คือ สิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงภายหลังจากแนวคิดเรื่องนี้แพร่ขยายมากขึ้น ไว้คราวหน้าผู้เขียนจะเจาะกึ๋น KM ในเมืองไทยให้ลึกกว่านี้ครับ
Wednesday, March 7, 2007
A Strategic Intellectual Capital Model for Thai Enterprises
บทเรียนที่เป็นเลิศ :
การสอบโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เรื่องตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด
การเรียนในระดับดุษฎีบัณฑิตหรือที่มักเรียกกันว่า เรียนปริญญาเอกหรือด๊อกเตอร์นั้น มีความยากง่ายในแต่ละช่วงที่แตกต่างกัน แต่รวมความแล้วก็ไม่ได้ “ง่ายๆ” อย่างที่คิดกันก่อนจะมาเข้าเรียนหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต
โดยเฉพาะสาขาการจัดการธุรกิจเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเห็นความสำคัญและมีความสนใจเพราะมีทุนเดิมที่ทำงานในการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ ก็อาจจะเบาหรือสบายขึ้นมานิดหน่อยหัวใจที่สำคัญในการเรียนระดับนี้จึงมุ่งไปที่ การจัดทำดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) วันที่ผู้เขียนขึ้นสอบ หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation Topic) เมื่อ 5 เมษายน 2548 ถือเป็นก้าวย่างแรกที่จะเดินไปสู่ก้าวที่ใหญ่กว่าและเมื่อผ่านการสอบหัวข้อเป็นที่เรียบร้อย โดยมาสรุปลงตัวตามคำชี้แนะและความเห็นของคณะกรรมการสอบหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ หลังจากสอบผ่านหัวข้อดุษฎีนิพนธ์แล้ว ก็ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาและดูงานที่ UC Berkely และอีกหลายๆ ที่ทั้ง Disneyland, Hollywood, บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ทำให้ปลอดโปร่งและมีเวลามานั่งคิดว่า“เราจะทำ
“โครงร่างดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation Proposal) อย่างไร”
ก้าวแรก:ขอแนวทางจากอาจารย์ที่ปรึกษา!!!
เมื่อผู้เขียน ได้เรียนหารือ ท่านคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (รศ.ดร.พยอม วงศ์สารศรี) ขอเชิญท่านเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ด้วยหลายๆ ปัจจัย
ดุษฎีนิพนธ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับ “ตัวแบบทุนทางปัญญา” (Intellectual Capital Model) เป็นเรื่องที่ยังถือว่าใหม่มากในเมืองไทย หาผู้รู้และเชี่ยวชาญค่อนข้างยาก
ผู้เขียนได้เลือกการศึกษาในลักษณะ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Re-search) โดยใช้กลยุทธการวิจัย (Research Strategy) ในรูปแบบการวิจัยเชิงกรณีศึกษา (Case Study Research)
จึงอยากได้ผู้ที่เชี่ยวชาญทางการวิจัยและเปิดกว้างในการวิจัยใหม่ๆ ที่ไม่อยู่ในกรอบของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)3) ผู้เขียนเลือกที่จะนำเสนอดุษฎีนิพนธ์แบบฟรีสไตล์ (Unformated Research Style) แต่ตอบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในการวิจัยได้ครบถ้วน เช่น คำถามในการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย เป็นต้นท่านอาจารย์ที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำในการจัดทำโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) หรือโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ ในรูปแบบของการจัดทำเต็มรูป
ถ้านึกถึงรูปแบบตาม Format คือ บทที่ 1-3 โดยประกอบด้วย
บทนำ : บทที่ 1-ความสำคัญของการศึกษา
-ความสนใจในการวิจัย/คำถามการวิจัย
-สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
-วัตถุประสงค์ของการวิจัย
-ขอบเขตการวิจัย
-ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-นิยามศัพท์เฉพาะ
บทที่ 2 : วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
-งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-กรอบแนวคิดในการวิจัย
บทที่ 3 : วิธีดำเนินการวิจัย
-ระเบียบวิธีวิจัย
ประเด็นที่เกิดเป็นคำถามของผู้เขียน คือ จะเริ่มยังไงดีล่ะครับ!
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
The Business-Knowledge Management Thailand
The Business-Knowledge Management of Thailand
Our Mission:
- To create a Business-Knowledge by Business Researcher
- To share the knowledge within Business-Knowledge Management Professionals
- To assist Business-Knowledge Management implementation in Organizations
- To promote a Business-Knowledge Solutions in Thailand
- To guide budding Business-Knowledge Management Professionals
- To conduct Personal interaction among Knowlege worker of corporations
Our Activities:
"สถาบันการจัดการความรู้แห่งประเทศไทย"โดย Dr.Danai Thieanphut
กำลังเปิดรับผู้ที่สนใจจะร่วมสร้างสรรค์ เมล็ดพันธุ์แห่งความรู้ทางธุรกิจให้แตกกิ่งก้านสาขาไปทั่วประเทศ และโลกธุรกิจ
อาทิ
-ร่วมกันเป็นเครือข่ายการวิจัยสร้างความรู้ทางธุรกิจ
-แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจ และนวัตกรรมใหม่ๆ ทางธุรกิจและการจัดการ
-เฝ้าติดตาม และนำเสนอแนวโน้มใหม่ๆ ในด้าน " วิธีวิทยาการทาง Business- Knowledge Innovation "
ด้วยจิตสาธารณะ
Dr.Danai Thieanphut,
The Business-Knowledge Management Thailand