Tuesday, December 15, 2015

ความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธ ปี 2559


          ต้อนรับปีใหม่ 2559  ด้วยความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธ อ่านหรือ โหลดได้ครับ
                                           


ดร.ดนัย เทียนพุฒ 
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
 รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552  ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
www.drdanai.blogspot.com
www.facebook.com/Strategy.th
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
         Line ID: thailand081       

Friday, May 22, 2015

ยกเครื่ององค์กรปรับทิศทางธุรกิจใหม่

          การปรับเปลี่ยนองค์กรเป็นเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยสำหรับทุกองค์กรธุรกิจ  ผู้เขียนได้อัพเดทและปรับใหม่ลองอ่านดูครับ




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
         Line ID: thailand081       




Wednesday, April 1, 2015

การวางแผนงานด้วย PDCA



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

Tuesday, February 10, 2015

การหยั่งเห็นเชิงกลยุทธ




                       



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

Thursday, January 22, 2015

บทเรียนอนาคตจากธุรกิจ 2020



เริ่มปีใหม่เรามาเรียนรู้ ธุรกิจ อนาคต จากของจริงกันดีกว่าครับ





ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

Tuesday, January 13, 2015

ก้าวจากตลาดอีเวนต์สู่ตลาดจุดหมายปลายทาง


                   อีเวนต์ หรือ Event ภาษาไทยใช้คำว่า “กิจกรรม”  การตลาดกิจกรรม (Event Marketing)  ถ้าใช้ทับศัพท์อาจจะฟังดูดีกว่าการตลาดอีเวนต์
ในระหว่างที่ผู้เขียนได้เดินถนนคนเดินหน้าวัดหัวเวียงใต้ จ.น่านและเปรียบเทียบกับถนนคนเดินเชียงใหม่  มีความรู้สึกที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
                    ถนนคนเดินหน้าวัดหัวเวียงใต้ จ.น่าน  แม้ว่าที่ตั้งและภูมิทัศน์จะเป็นถิ่นย่านการค้าเก่าของ อ.เมือง จ.น่านก็ตาม  แต่รูปแบบยังคงเป็นเพียง “ตลาดนัด (Bazaar)” ขายของกินหรือสินค้าอุปโภค-บริโภคจากร้านค้า 2 ฝั่งถนนกับเปิดพื้นที่ให้เช่าขายสินค้าแบบเดียวกัน แทบจะไม่มีศิลปะ วัฒนธรรมอะไรมาแสดงให้ปรากฏ ยกเว้นการมีพื้นที่นั่งทานอาหารเย็นแบบพื้นเมืองซึ่งเรียกว่า ขันโตก กับการแสดงร้องเพลงถัดไปตรงทางเข้าตลาดติดกับวัดหัวเวียงใต้




                   ลักษณะของถนนคนเดินหน้าวัดหัวเวียงใต้ อาจเรียกได้ว่าเป็น “Special Event” หรืออย่างดีที่สุดคงเป็น “Hallmark Event” ของ จ.น่านได้
                   ถนนคนเดินเชียงใหม่โดยเฉพาะถนนคนเดินท่าแพ ไปจนถึงถนนราชดำเนิน 
                   ในวันอาทิตย์ตอนเย็นเวลา 17.00-20.00 น. มีความหลากหลายกว่าคือมีทั้งการแสดง ศิลปวัฒนธรรม การขายของพื้นบ้าน อาหารการกินไม่ต้องพูดถึง  ขณะเดียวกันบริเวณย่านที่จัดถนนคนเดินมีวัดและมรดกทางวัฒนธรรมเข้ามาเดินเรื่องราวอยู่ด้วย
                    มีความได้เปรียบซึ่งเป็นสถานที่ เช่น  วัดพระสิงห์ ซึ่งคนต่างชาตินิยมมาดูจิตกรรมฝาผนังและประตูไม้แกะสลัก
                    ถนนคนเดินเชียงใหม่มีความยาวเกือบ 2 กิโลเมตร  ลักษณะนี้เรียกได้ว่า “เป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว (Tourist Destination)”

            พัฒนาการตลาดเข้าไปใน ตลาดนัดถนนคนเดิน (Walking Street Market) ด้วยแนวคิดของการตลาดอีเวนต์
                   
                    การทำตลาดอีเวนต์หรือกิจกรรม  เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับการสื่อสาร  ทำให้มีผลต่อการพัฒนา “วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธอีเวนต์”  ซึ่งกลายเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการภายในสำหรับ   แผนเชิงกลยุทธการตลาด
                    ดังนั้น “พื้นที่ของการตลาด” จึงเป็นหัวใจของแนวคิดในการปรับสภาพแวดล้อมที่โดดเด่นของการสร้างกิจกรรมการตลาด  ซึ่งไม่เหมือนกับการสร้างรูปแบบการสื่อสารการตลาดวิธีอื่นๆ
                     การทำตลาดอีเวนต์ เรื่องพื้นที่ของการตลาด จะมีคุณค่ามาก ดังรูปที่ 1 


มีโอกาสเปิดขึ้นสำหรับนักการตลาด ซึ่งมีทั้งศักยภาพที่สูงและความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน     โมเดลหลักสำหรับพื้นที่ของการตลาดได้สร้างให้มีประสบการณ์ภายในเกิดขึ้นทั้งด้านเวลาและพื้นที่ของกิจกรรม
                  ดังนั้นในวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธอีเวนต์  ต้องคำนึงถึงกรอบแนวคิด ซึ่งออกแบบไว้ในช่วงตลอดวัฏจักรของการทำตลาดอีเวนต์ โอกาส และความท้าทาย
                  สรุปแล้ววัตถุประสงค์ของการทำตลาดอีเวนต์ เช่น
                  - ยอดขาย
                  - การสื่อสารและพัฒนาแบรนด์
                  - สื่อและคำพูดปากต่อปาก
                  - ความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง (ลูกค้าที่มีอยู่และหุ้นส่วนในแนวกว้าง)
                  - ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ด้านลูกค้าและตลาด (ขนาดเล็ก/ใหญ่)

                   แพลตฟอร์มของการทำตลาดอีเวนต์ เพื่อให้นักการตลาดตัดสินใจเลือก เช่น
                    * นิทรรศการ         * การสัมมนา (กิจกรรมการเรียนรู้)
                    * การนำเสนอผลิตภัณฑ์ * สปอนเซอร์
                    * กิจกรรมการกุศล         * โรดโชว์/เทรดโชว์
                    * พิธีมอบรางวัล
                   ก่อนที่จะส่งมอบกิจกรรมหรืออีเวนต์ให้ผู้เข้ามาร่วมงาน

               
           การปรับตลาดถนนคนเดินให้เป็นตลาดจุดหมายปลายทางของประเทศ

                   ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น  ถนนคนเดินเชียงใหม่โดยเฉพาะถนนคนเดินท่าแพถึง ถ.ราชดำเนิน มีขนาดและความน่าสนใจ  ผู้เขียนเห็นว่าหากมีการปรับให้เป็น  “ตลาดจุดหมายปลายทางของประเทศ”  น่าเป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างยิ่งจะได้ใช้เป็นต้นแบบให้ตลาดถนนคนเดินอื่นๆ ได้มีรูปแบบในการพัฒนาตามอย่าง   
                   ความจงรักภักดีในจุดหมายปลายทางและลูกค้าที่จงรักภักดีเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจในธรรมชาติของการมาเยี่ยมเยือนซ้ำ ในตลาดถนนคนเดิน ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลาย  แต่ตามรูปแบบที่จะนำเสนอนี้เป็นพฤติกรรมของผู้มาเยี่ยมหรือร่วมงานแบบระยะยาว 
                   1) การกำหนดส่วนของตลาดของผู้มาเยี่ยมเยือนซ้ำบนฐานความจงรักภักดี  ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและทัศนคติ ดังนี้
                    • ทัศนคติที่จงรักภักดีเป็นการผูกพันทางอารมณ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์  ซึ่งไม่สำคัญว่าลูกค้าทำอะไรแต่อยู่ที่ลูกค้ารู้สึกอะไร มีอยู่ 2 ลักษณะคือ จงรักภักดีลักษณะผิด-ถูก แบบระยะยาว
                    • ความจงรักภักดีเป็นตัวแทนทั้งทัศนคติที่สูงและพฤติกรรมที่สูง
                    • ความจงรักภักดีแฝงตัวเป็นความสัมพันธ์กับทัศนคติที่สูงแต่พฤติกรรมจงรักภักดีที่ต่ำ
                    • ความจงรักภักดีที่ถูกกระตุ้นเป็นตัวแทนทัศนคติที่ต่ำและพฤติกรรมจงรักภักดีที่สูง



                       2) วิธีการและข้อมูลในการกำหนดตำแหน่งด้วยโมบายแบบเชิงรับ
                        มีวิธีการหลายวิธีที่จะวิเคราะห์ สถานที่หรือตำแหน่งโทรศัพท์มือถือ (โมบาย) โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ใช้ SIM Card โดยการเปลี่ยนซิมเมื่อมาถึงสนามบินในแต่ละประเทศ
จะทำให้หน่วยงานหรือผู้จัดงานใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวกำหนดนโยบายการตลาดจุดหมาย ปลายทาง
เช่น เมื่อนักท่องเที่ยวเดินในถนนคนเดิน ณ จุดใด เวลานานหรือมีการกำหนดเช็คอินสถานที่ การถ่ายรูป

                       ทั้งหมดนี้สามารถสรุปให้เห็น  รูปแบบของการตลาดบูรณาการสำหรับการตลาดจุดหมายปลายทางของประเทศได้ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย

                        ขั้นที่ 1  การกระตุ้นลูกค้า(Instigate)  ด้วยศิลปะและวัฒนาธรรมของไทย  ล้านนา หรือที่ตะวันตกและเอเชียไม่มี  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์และบริการจุดหมายปลายทางที่เข้าถึงและดึงดูดลูกค้า (นักท่องเที่ยว)

                        ขั้นที่ 2  การผูกพันลูกค้า(Engage)   ลูกค้ามีความตั้งใจและเริ่มต้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นความเฉพาะตรงซึ่งกับความต้องการของลูกค้า (คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ ราคา ความสะดวก ฯลฯ) โดยผู้จัดต้องนำส่งสารสนเทศเหล่านี้ไปทุกช่องทางถึงนักท่องเที่ยว

                        ขั้นที่ 3 เปลี่ยน (Convert) เมื่อลูกค้าเข้าสู่ขั้นที่ 3 ก็พร้อมที่จะซื้อหรือใช้บริการ  หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านนี้ต้องตระเตรียมวิธีการซื้อขาย การชำระเงิน  โดยเฉพาะการสั่งซื้อออนไลน์  ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีโมเดลธุรกิจที่จะอำนวยให้ลูกค้าแต่ละคนพึงพอใจ

                        ขั้นที่ 4  การสนับสนุน (Support) โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ผลิตภัณฑ์หรือบริการ และในเรื่องการส่งพัสดุไปยังบ้านหรือสถานที่ซึ่งลูกค้าต้องการ  หากมี Call Center ก็จะอำนายความสะดวกให้กับลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น

                        ขั้นที่ 5  การรักษา (Retain)  เป็นธรรมดาสำหรับลูกค้า  หากซื้อแล้วกระบวนการทั้งหมดต้องทำให้มั่นใจได้ว่า  ลูกค้าจะไม่ผิดหวังและสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต้องถึงมือลูกค้าแน่นอน

                       ดังนั้นการจัดประสบการณ์ของลูกค้าผ่านตามโมเดลนวัตกรรม 5 ขั้นตอนข้างต้น  จะช่วยผลักดันให้ ตลาดถนนคนเดินมีลูกค้าที่จงรักภักดี และยกระดับขึ้นเป็น “ตลาดจุดหมายปลายทางของประเทศ” ที่จะมีผู้มาเยือนด้วยความจงรักภักดีและทำการมาซ้ำด้วยความถี่ที่มากขึ้น

                                                   ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081





Sunday, January 11, 2015

ความสำเร็จของการทำตลาดอีเวนต์


                 ในแต่ละปีเราจะพบว่าประเทศไทยจะมีการประมาณตัวเลขนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างชาติ  จำนวนเท่านั้นเท่านี้และก็เพิ่มขึ้นทุกปี
ขณะเดียวกันทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัดมีการโปรโมทกิจกรรมหรือการส่งเสริมการท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมากตามเทศกาลหรือวันหยุดประจำชาติ งานกีฬา งานดนตรี ฯลฯ  ตลอดจนการสร้างอีเวนต์ขึ้นมาก็มี
แต่ชัดเจนมีบางงานประสบความสำเร็จ  และมีการลอกเลียนแบบ  บางงานก็ล้มเหลวฯลฯ ทำให้เกิดความสนใจและเกิดข้อสงสัยในกิจกรรมเหล่านี้ อาทิ
                 • มีการใช้หลักวิชาทางการตลาดทั้งในด้าน Destination Marketing, Event Marketing, Sport Marketing, Sponsorship หรือการตลาดในรูปแบบใดบ้างจึงทำให้ประสบความสำเร็จ
                 • ความสำเร็จและล้มเหลวที่เกิดขึ้นในกิจกรรมด้านธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นความสำเร็จที่แต่ละครั้งไม่อาจลอกเลียนแบบกันได้  เพราะหาทฤษฎีและตำราทางการตลาดมาพิสูจน์ได้ยาก
                 • หรือเป็นเพียงการว่าจ้างให้ออแกไนเซอร์ (Organizer) เป็นผู้รับไปดำเนินการให้  กับชุมชน หรือ หน่วยงาน ไม่ได้มีรูปแบบโมเดลทางกลยุทธการตลาดอะไร  แค่เป็นอีเวนต์ครั้งๆ หนึ่งเท่านั้น
อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา  อีเวนต์ (Events) ในชุมชน หรือ องค์กรต่างๆ  มีผลสำเร็จในทางการตลาดและการจัดการท่องเที่ยว  จึงเป็นที่มาให้ได้เกิดความแตกต่างระหว่างคำ “อีเวนต์ (Event)”  “การตลาดอีเวนต์ (Event Marketing)”  และ “การจัดการอีเวนต์ (Event Management)”
                ความหมายของการตลาดอีเวนต์
                ในเริ่มแรกเราเข้าใจได้ว่า  อีเวนต์ เป็น “สิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว”  ซึ่งมีทั้งการวางแผนและไม่ได้วางแผน  เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นโดยการวางแผนและไม่วางแผน หากเติมคำว่า “พิเศษ” เข้าไปในอีเวนต์  ดังนั้นอีเวนต์พิเศษ (Special Event) เป็นสิ่งสามารถเข้าใจได้ว่า  เป็นการเกิดขึ้นครั้งเดียวหรือเป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก  อีเวนต์ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยก็จะทำให้เข้าใจได้ในเทอมนี้ ตัวอย่างเช่น การจัดแบ่งประเภทอีเวนต์แบบมิติเดียวใน “ฮอลล์มาร์ค (Hallmark Events) (อีเวนต์แบบดั้งเดิมซึ่งจัดขึ้นในสถานที่อันแน่นอน ตัวอย่างเช่น Pattaya Music Festival Event) และ “เมก้าอีเวนต์ (Mega Events) (ตัวอย่างเช่น The Olympic Games)

               หากพิจารณาตาม International Events Group ได้ให้นิยามการตลาดอีเวนต์ว่าเป็น “กลยุทธการส่งเสริมการตลาดที่เชื่อมโยงระหว่างบริษัทกับอีเวนต์  การเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนการแข่งขันกีฬา  งานเทศกาล ฯลฯ บางครั้งก็ใช้คำเดียวกับการเป็นสปอนเซอร์ (Sponsorship)  แต่ไม่ใช่การเป็นสปอนเซอร์ทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับอีเวนต์”
                การตลาดอีเวนต์เป็นการรวมคนรอบๆ อีเวนต์ซึ่งสามารถเป็นทุกๆ สิ่งจากการเกิดขึ้นขนาดเล็กๆของกลุ่มคน  หรือเป็นการเข้าร่วมของคนเป็นจำนวนพันๆ
กลุ่มเป้าหมายอาจเป็นลูกค้าโดยตรง  ตัวแทนธุรกิจหรือพนักงานภายในบริษัท  อีเวนต์สามารถเป็นได้ทุกๆ สิ่งตั้งแต่การเปิดตัว  การนำสินค้า/ผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาด  การนำเสนอผลิตภัณฑ์และการเป็นสปอนเซอร์
               การจัดแบ่งประเภทของอีเวนต์
การจัดแบ่งประเภทอีเวนต์ในแบบหลากมิติ  สามารถใช้การจัดแบ่งประเภทตาม “กลุ่มเป้าหมาย (Target Group)”  “แนวคิดของงาน (Concept)” และ “ลำดับชั้นของอีเวนต์ (Staging of the Event)” ดังรูป
                                                             
                                                        รูปที่ 1 การจัดประเภทของอีเวนต์
                             


              ในกลุ่มแรกมุ่งความแตกต่างของอีเวนต์ในลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย  ซึ่งพบโดยทั่วไปในการทบทวนวรรณกรรม เช่น ความแตกต่างระหว่างอีเวนต์สาธารณะ (บริษัท-ภายนอก)และอีเวนต์องค์กร (บริษัท-ภายใน)  โดยใช้อีเวนต์นิทรรศการ (รูปแบบผสม) ตัวอย่างเช่น นิทรรศการและเทรดแฟร์ 

             อีกลักษณะสามารถจัดอีเวนต์ในกลุ่มที่สอง  เน้นที่งาน (Work-oriented) และเน้นกิจกรรมสบายๆ (Leisure-oriented) หรืออาศัยวิธีในลำดับขั้นของอีเวนต์  โดยใช้อีเวนต์สาระบันเทิง (Infotainment=information +entertainment) ที่จัดลักษณะอีเวนต์ในระหว่างทั้ง 2 ลักษณะ

             กลุ่มประเภทที่ 3 อ้างอิงโดยขึ้นอยู่กับแนวคิดของอีเวนต์เป็นหลัก (Concept of the event)
ดังเช่นที่นักการตลาดมักถามเพื่อหาว่า  การตลาดอีเวนต์สามารถเป็นการนำเสนอแบรนด์หรือโอกาส  หรือทั้ง 2 ลักษณะ  ดังนั้นกิจกรรมของอีเวนต์ที่เชื่อมโยงทั้งการวางแผนและการควบคุมอีเวนต์เป็นการ
สรุปโดยทั้งๆ ไปภายใต้เทอมของคำว่า “การตลาดอีเวนต์” หรือ “การจัดการอีเวนต์”

             โดยสรุปการตลาดอีเวนต์ (Event Marketing) เป็นการใช้พื้นฐานของทฤษฎีการตลาดสำหรับการจัดอีเวนต์ เช่น การจูงใจผู้เยี่ยมชมและการรับรู้หรือสิ่งที่มีผลต่อภาพลักษณ์  ขณะที่การจัดการอีเวนต์ (Event Management) เป็นไปในทางตรงกันข้าม มุ่งต่อการถามในเรื่องการวางแผนโดยเฉพาะสนใจปริมาณ ลักษณะส่วนบุคคล และการจัดการความเสี่ยงสำหรับอีเวนต์

               ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนผสมทางการตลาดกับการตลาดอีเวนต์
              ผู้บริหารธุรกิจและนักการตลาดส่วนใหญ่เข้าใจดีอยู่แล้วเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาดหรือ The 4Ps of Marketing (Product, Price, Place, Promotion) ความสำเร็จในการใช้การตลาดอีเวนต์  นักการตลาดต้องเข้าใจความสอดคล้องระหว่างการตลาดอีเวนต์กับส่วนต่างๆ ของกลยุทธการตลาด

              การตลาดอีเวนต์สอดคล้องภายใต้การส่งเสริมการขายในส่วนผสมการตลาด  เครื่องมือการตลาดอื่นๆ ที่ใช้ในส่วนนี้ เช่น การโฆษณา  การส่งเสริมการขาย  การขายโดยพนักงาน  การขายตรง  ประชาสัมพันธ์และการเป็นสปอนเซอร์  การตลาดอีเวนต์ไม่ได้แทนองค์ประกอบอื่นๆที่กล่าวมา  แต่เป็นสิ่งช่วยให้กลยุทธการตลาดประสบความสำเร็จ
  
                                   รูปที่ ส่วนผสมทางการตลาด
                   


                 การตลาด “ถนนคนเดิน (Walking Street Marketing)”  กับการตลาดอีเวนต์

                สิ่งที่น่าสนใจในทางการตลาดคือ  การตลาดถนนคนเดิน  ซึ่งในประเทศไทยมีพัฒนาการเริ่มแรกเมื่อปี 2544 จากถนนคนเดินที่ถนนสีลม ซึ่งจัดขึ้นในกิจกรรมสาธิตเรื่องการประหยัดพลังงาน ลดมลพิษและส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้วมีการพัฒนาไปทั่วประเทศไทย  เป็นตลาดนัดถนนคนเดิน (Walking Street Market)
                ความสำเร็จของตลาดนัดถนนคนเดินนั้นใช้หลักการตลาดอะไร  มีองค์ประกอบหรือปัจจัยอะไรซึ่งมีอิทธิพลต่อการดึงดูดคนหรือแม้กระทั่งนักท่องเที่ยวให้มาเดินเที่ยวหรือ ใช้เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริงหรือไม่
ประเด็นต่อไปนี้ ชวนให้ขบคิดและพัฒนาด้านองค์ความรู้ที่เป็น การตลาดถนนคนเดินในบริบทของประเทศไทยอย่างยิ่ง อาทิ 
                กลยุทธการตลาดที่ใช้ใน ”ตลาดนัดถนนคนเดิน”  น่าจะมีหลายแนวคิด เช่น
                     • การตลาดอีเวนต์ (Event Marketing)
                     • การตลาดจุดหมายปลายทาง (Destination Marketing)
                     • หรือเป็นแค่การจัดการอีเวนต์ (Event Management) หรืองานเทศกาล (Festival) ประจำปีหรือตามช่วงวันสำคัญ
                สามารถพัฒนาเป็นโมเดลการตลาดถนนคนเดิน ที่บูรณาการระหว่าง ส่วนผสมการตลาดกับ BCG Matrix ได้หรือไม่  หรือ พัฒนาให้เป็น การตลาดจุดหมายปลายทางได้ด้วยองค์ประกอบของปัจจัยอะไรบ้าง สำหรับประเทศไทย  คงต้องมาวิเคราะห์กันถึงตลาดนัดถนนคนเดินที่ติดตลาด เช่น ถนนคนเดินเชียงใหม่  ถนนคนเดินชายโขงเชียงคาน  ถนนคนเดินนาเกลือ พัทยา ฯลฯ  พบกันในตอนต่อไปครับ

                                                   ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081