Tesco-Lotus ในประเทศไทย น่าสนใจและชวนศึกษามากว่า ใช้กลยุทธอะไรจึงประสบความสำเร็จ ในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษ ที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย
(*รูปจาก http://www.tescolotus.net/new/tesco_format.php)
หลังจากเครือซีพีนำ Tesco เข้ามาลงทุนในไทย (เมื่อคราววิกฤต เครือซีพี) ได้ขายหุ้นโลตัส 75% ให้กับเทสโก้ ยักษ์ค้าปลีกจากอังกฤษ เมื่อปี 2541 ในปีถัดมา เทสโก้ ได้ขยายสาขาในไทย จำนวน 24 แห่ง มียอดขายรวม 21,740 ล้านบาท
จากนั้นจำนวนสาขาและยอดขายของเทสโก้ ก็ไต่อันดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปี 2543 มียอดขาย 33,340 ล้านบาท, ปี 2544 มียอดขาย 45,087 ล้านบาท, ปี 2545 ยอดขาย 54,340 ล้านบาท, ปี 2546 ยอดขาย 64,695 ล้านบาท และปี 2547 ยอดขาย 72,736 ล้านบาท
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทสโก้ ได้ทุ่มทุนปีละประมาณ 5,000 - 7,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อขยายสาขาให้ได้ตามเป้าหมาย ส่งผลให้เทสโก้ สามารถครองส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นประมาณ 39%
ปี 2554 Tesco-lotus มีมากกว่า 900 สาขา ยอดขายกว่า 1.37 ล้านบาท
และ ปี 2555 มีสาขา 1,092 สาขา ยอดขายคงนับไม่ถ้วน เครือซีพีเองก็คง พุดอะไรไม่ออกที่เห็น Tesco-lotus เติบโตไม่ 7-11 เป็นแรงเงา
ส่วน Tesco ที่อังกฤษ อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก ยอดขาย ณ เดือน เมย. 2012 อยู่ที่ 99.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวน กว่า 6500 สาขา ดำเนินงานใน 14 ประเทศทั่วโลก
สิ่งที่เป็นความสำเร็จ ในกลยุทธนั้น อยู่ที่ Business Model...(ค่อยมาว่าต่อวันหลังครับ)
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
No comments:
Post a Comment