การศึกษาในทางธุรกิจและการตลาดจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า พลังกระแสของโซเชียลมีเดีย หรือ โซเชียลเน็ตเวิร์ก แรงจัดมาก ๆ และมีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยที่ธุรกิจจะเพิกเฉยและไม่ให้ความสนใจนั้นอาจจะทำให้ธุรกิจตกเทรนด์โลกไปเลยก็ได้
ผู้เขียนเห็นบริษัทประกันรายหนึ่ง ลงทุนสร้างกิจกรรมทางการตลาดให้คนมาถ่ายรูปและบอกถึงการส่งความสุขให้กับทุกๆ คน ที่เซ็นทรัลเวิลด์ สิ่งที่เป็นคำถามเชิงกลยุทธการตลาด คือ โจทย์ที่ต้องการคำตอบคืออะไร
ในยุคเจนเนอเรชั่นเฟซบุ๊ค โซเชียลมีเดียได้เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในวิธีที่มนุษย์ ติดต่อหรือ เชื่อมโยงสื่อสารกัน เรียนรู้ และร่วมมือต่อกัน ซึ่งทำให้เกิดเป็น “วาระใหม่ที่ทำให้ผู้นำธุรกิจในทุก ๆ ที่กระหายต้องการ “ สิ่งต่อไปนี้
-ขับเคลื่อนธุรกิจจากตั้งรับไปเป็นเชิงรุก
-การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือ บริการ ให้เป็นสินค้าโภคภัณฑ์
-ต่อสู้กับความเป็นราชการในองค์กร
-สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับลูกค้า
-ยุยงส่งเสริมการรังสรรค์สิ่งที่ไม่ธรรมดา
-นำองค์กรไปสู่ศีลธรรมในอีกระดับ
-ดำเนินการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนแปลง
-สร้างบริษัทที่ ฟิตจริง ๆ กับอนาคต
นั่นคือสิ่งที่ ผู้นำธุรกิจต้องการ คำตอบและโซลูชันใหม่ของ การบริหารจัดการ กลยุทธธุกิจและการตลาด ซึ่งคงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ผู้เขียนคิดว่า Gary Hamel ได้ให้คำตอบไว้ในหนังสือเล่มใหม่ “What Matters Now” (เพิ่งวางตลาด มกราคม 2555 นี้เอง) มีคำตอบที่น่าสนใจครับ
อยากยกตัวอย่างให้เห็น เกี่ยวกับ “ลำดับขั้นในโซ่ประสบการณ์ของลูกค้า” ที่เปลี่ยนใหม่เพื่อให้ได้คำตอบแก่ธุรกิจดังนี้
Discovering : ลูกค้ามีวิธีการอย่างไรที่จะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ บริการของเรา และอะไรที่ทำให้เกิดการตระหนัก และแพร่ขยายไปได้อย่างรวดเร็ว
Learning : ลูกค้ารู้จักผลิตภัณฑ์หรือ บริการของเราและคู่แข่งได้อย่างไร ที่ไหนที่ลูกค้าจะไปเพื่อการเรียนรู้และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ
Buying : ลูกค้าทำการ(สั่ง)ซื้อหรือ ทำรายการ กับบริษัทของเรา อะไรคือพลวัตของกระบวนการซื้อ
Acquiring : ลูกค้านำสินค้าไปได้ (ขนส่ง) อย่างไร การขนส่งเช่นไรที่ลูกค้าทำจากบริษัท หรือ ร้านค้าไปยังบ้านของลูกค้า
Using: ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการในชีวิตประจำวันอย่างไร อะไรที่ลูกค้าทำจนได้ประโยชน์สูงสุดจากผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ
ส่วนคำตอบใหม่ เป็นเรื่องของคุณค่า (Values) นวัตกรรม (Innovation) การปรับตัว (Adaptability) ความหลงใหล (Passion) และอุดมคติ (Ideology) ท่านใดอยากรู้เร็วก็หาซื้ออ่านได้ หรือ เจอกันฉบับหน้าจะเก็บคำตอบมาให้ครับ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
No comments:
Post a Comment