Sunday, November 22, 2009

ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการให้บริการด้านสาธารณสุข

ผมได้อ่านข่าวด้านล่างเกี่ยวกับ "ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการให้บริการด้านสาธารณสุข" (อ่านด้านล่าง)
ไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไรเลยเพราะว่า
1.เรื่องนี้มีการพูดกันมานาน และที่พูดแต่เดิมนั้นเป็นนโยบายการเมืองที่มีวาระซ้อนเร้น ในระบบสาธารณสุขของประเทศเกี่ยวกับการรักษาฟรีแบบ 30 บาท กับการสร้าง Medical Hub ซึ่งสุดท้ายแล้ว ผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลรัฐต้องเสีย"บุคลากรทางการแพทย์ไปให้ โรงพยาบาลเอกชน" และที่ลึกซึ้งกว่านั้นมีนายทุนจากพรรคการเมืองได้เข้ามากินรวบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่ได้"บุคลากรทางการแพทย์จาก รพ.รัฐ" และการใช้การเมืองเพื่อเข้าTakeover รพ.เอกชน กลุ่มใหญ่ ๆ เป็นที่เรียบร้อยเพื่อรอการเป็น Medical Hub
2.ที่น่าจะแปลกคือ สธ. ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านยุทธศาสตร์ของชาติในด้านการให้บริการสาธารณสุข กลับไม่ได้ทำหน้าที่ในด้านการจัดวางยุทธศาสตร์ด้านการให้บริการสาธารณสุข กลายเป็นว่าต้องให้
คนที่ไม่เคยทำงานด้านนี้มาเป็นผู้กำหนด "ยุทธศาสตร์ด้านการให้บริการสาธารณสุขของประเทศ"
3.ในการกำหนดด้านยุทธศาสตร์ชาติ หากต้องการให้เกิดยุทธศาสตร์ที่ดี ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะได้หรือไม่เพราะ ยังไม่ค่อยเห็นในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากนัก เช่น บริการด้านสาธารณสุขของไทยที่จะมีกลุ่มเป้าหมายจากผู้ใช้บริการจากต่างประเทศนั้น มีการจัดทำในเรื่อง "ทัศนภาพด้านสาธารณสุข (Health Care Scenarios)" ไว้หรือคิดจะทำหรือไม่ หวังว่าคงไม่ไปเริ่มด้วยการทำ SWOT Analysis ตามที่คุ้นเคย และใช้กลยุทธทะเลสีต่าง ซึ่งปัจจุบัน ได้ตายแล้ว( กลบุทธทะเลสี....เกิดปี 2005 ตาย ปี 2009)
แต่ที่แน่ๆ สิงค์โปร์ได้ก้าวล้ำหน้าเรื่องนี้ (ในเชิงรูปธรรมไม่ใช้แค่นโยบายสร้างความร่ำรวยให้กับกลุ่มทุนที่ซื้อ รพ.เอกชน) ก่อนไทยมาหลายปีแล้ว
....แต่ก็ดีครับที่จะเริ่มทำเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม แม้ว่าคนทำจะไม่ได้รู้เรื่องมาก่อน เป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ที่น่าติดตามทีเดียว


ตั้ง‘กนก’ปั้นไทยฮับสุขภาพ วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จาก โพสต์ทูเดย์ http://www.posttoday.com/business.php?id=77476

นายกฯ ตั้ง “กนก” ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพโลกบริการต่างชาติ หวังดึงเม็ดเงินพยุงเศรษฐกิจกว่าแสนล้าน เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวล้านคนต่อปี
นายกนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรี เพื่อพัฒนาให้ไทยเป็น ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะมีหน้าที่ในการจัดทำยุทธศาสตร์และวิธีการปฏิบัติในการให้บริการด้านสาธารณสุขให้กับต่างประเทศ
ทั้งนี้ หากยุทธศาสตร์ดังกล่าวสามารถดำเนินการได้สำเร็จ คาดว่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจไทยได้ โดยโครงการนี้มีเป้าหมายจะช่วยดึงเม็ดเงินภาคบริการให้ได้มากกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี

ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้สามารถเพิ่มปริมาณชาวต่างชาติ ให้เดินทางเข้ามา เพื่อเฝ้าไข้หรือติดตามผู้ที่เข้ามารับบริการมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี จึงเป็นการเพิ่มยอดนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวอีกทาง ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ ให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้อีกด้วย

นายกนก กล่าวอีกว่า หลังจากที่นายกฯ เดินทางหารือกับภาคเอกชนในสหรัฐ ได้หารือถึงการพัฒนาอนาคตและศักยภาพของการเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์การให้บริการสาธารณสุขของโลก ซึ่งภาคเอกชนของสหรัฐพร้อมที่จะสนับสนุนและส่งคนไข้เข้ามารับการรักษาในประเทศไทยจำนวนมาก เพราะไทย ถือเป็นประเทศที่มีความสามารถด้านการให้บริการด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับโรค ตติยภูมิ โดยมีแพทย์และเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน สามารถแข่งขันในเรื่องของราคาได้กับหลายประเทศที่เปิดบริการด้านสุขภาพ ด้านการบริการประเทศไทย ค่อนข้างมีจุดแข็งในเรื่องดังกล่าว เป็นที่ยอมรับระดับโลก หากผสมผสานจุดแข็ง ที่มีทั้งหมด เชื่อแน่ว่าไทยน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือฮับด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้ได้

สำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ในการให้บริการสาธารณสุขให้กับต่างชาติถือเป็น สิ่งที่ดี เพราะการบริการสาธารณสุขถือเป็นจุดแข็งด้านการแพทย์ของไทย

นายกนก กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ กำชับถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ในการให้บริการด้านสาธารณสุขขึ้นกับ ไทยเอง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะกรรมการชุดนี้จะต้องดำเนินการภายใต้การให้บริการคนไทยให้ได้มาตรฐานทัดเทียมต่างชาติ จึงต้องเตรียมการและแก้ไข หากยุทธศาสตร์นี้เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับคนไทยมากที่สุด

No comments: