Tuesday, November 22, 2011

Scenario Analysis



    การจัดการกลยุทธแนวใหม่ (New Strategic Management) ผู้เขียนคิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
    -สิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ได้กลายเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้หรือวิเคราะห์ได้ยากขึ้นด้วยเครื่องมือทางกลยุทธแบบเดิม ๆ
    -ผู้บริหารธุรกิจในปัจจุบันยังต้องการหรือ แสวงหาเครื่องทางกลยุทธใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง บางครั้งทำให้เครื่องมือทางกลยุทธที่ใช้อยู่ดำเนินไปไม่บรรลุถึงความสำเร็จอย่างแท้จริง
    -ข้อจำกัดของ นักกลยุทธในปัจจุบัน ไม่ได้ศึกษาเชิงลึกในเครื่องมือทางกลยุทธที่ใช้อยู่อย่างดีพอ   อีกทั้งการวิจัยศึกษาเพื่อนำเครื่องมือใหม่ ๆ ทางกลยุทธมาทดสอบก็อย่างมีการทำกันน้อย

   การวิเคราะห์ทัศนภาพ หรือ Scenario Analysis เป็นเครื่องมือหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ ผู้บริหารธุรกิจ หรือนักกลยุทธในปัจจุบัน ยังรู้จักน้อย หรือ ไม่คุ้นเคยกับการนำมาใช้ อีกทั้งหาตัวอย่างศึกษาไมได้ง่ายนักในประเทศไทย
  ผู้เขียนได้นำมาใช้หลายปีแล้วในการวิเคราะห์และทบทวนการจัดทำแผนกลยุทธธุรกิจ  หรือ การประเมินสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมซึ่งไม่แน่นอนและสับสนวุ่นวาย เพราะผลที่ได้ทำให้
  -การวางวิสัยทัศน์ ภารกิจขององค์กรได้ดีกว่าเดิม รวมถึงการทบทวน วิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กรเดินไปถูกทางหรือไม่
  -สามารถนำไปสู่ผลสรุป ในด้าน จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค ที่เรียกว่า SWOT ได้อย่างถูกต้องมากกว่า (ใช้เป็นข้อสรุป - SWOT Summaries) การวิเคราะห์ SWOT แบบที่นิยมทำกัน (ใช้ SWOT Analysis เป็นเครื่องมือ )
-หากใช้ โมเดลธุรกิจเข้ามาช่วยประเมินกลยุทธ จะทำให้การจัดทำแผนกลยุทธธุรกิจมีความสมบูรณ์สูงมาก

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องราว ที่อยู่ในกระแสใหม่ของ "การจัดการเชิงกลยุทธ"  ซึ่งผู้เขียนเสนอไว้ในส่วนแรก ของ "การจัดการกลยุทธแนวใหม่"


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Wednesday, November 16, 2011

New Thailand จะเดินได้ยังไง


New Thailand จะเดินได้ไม่ยาก หากเริ่มแบบนี้
1.ต้องมีคนไม่ฝักใฝ่การเมืองเข้ามาทำงาน หากเป็นนักการเมือง เห็นชัดว่า "เล่นการเมืองจนประเทศวิกฤต"
2. เรียนรู้บทเรียนจากน้ำท่วม  ว่ารัฐบาลนี้บริหารผิดพลาดอย่างไร
3. นำพระราชดำรัส หรือ สิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งไว้เกี่ยวกับน้ำ-น้ำท่วมมาศึกษา
4.เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ มองทัศนภาพ (Scenarios) ทั้งเลวร้าย  พอไหว  ไปได้ดี
 5.กลยุทธต้องสอดคล้องกับทัศนภาพ และบทเรียนที่ผ่านมา ไปใช่เริ่มด้วยเงิน ๆๆๆๆๆ
 แต่ลองศึกษากลยุทธของ เนเธอร์แลนด์  (การมี 100 คลองในเมืองอัมสเตอร์ดัม) และสิงคโปร์ในการจัดการน้ำ (ที่อ่าวมารีนา)

ทั้งหมดนี้ต้องตอบได้ว่า น้ำจะไม่ท่วมประเทศอีก หรือ ถ้าน้ำท่วมจะจัดการอย่างไร  แค่ฟื้นฟูประเทศเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากไม่ป้องกัน New Thailand ก็ไม่มีประโยชน์

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
บันทึกแห่งผู้นำ
17 พ.ย. 54

Tuesday, November 15, 2011

ความเป็นผู้นำระดับประเทศ



        ความจริง เรื่องของผู้นำ ไม่ใช่เรื่องใหม่ และก็มีคนเขียนกันมากแต่บางครั้งไม่ตรงกับสภาพความเป็นไปของปัจจุบัน หรือมีเหตุวิกฤตการณ์ขึ้นมาอาจใช้ไม่ได้ผล
     
        เหตุการณ์ของบ้านเมืองเรื่องน้ำท่วม
        จากเหตุการณ์"มหาอุกภัย และอาเพศ วิกฤตของประเทศไทย ปี 2554" ในช่วง ก.ย.-พ.ย. เป็นสิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นและไม่สมควรจะหายนะเช่นนี้....ถ้าผู้บริหารบ้านเมือง มีความเป็นผู้นำที่มีความสามารถพอ
        เหตุการณ์ "ประชุมฟอก...น้ำเสีย-น้ำเลวให้เป็นน้ำขุ่นใส ของ ครม.ชุดมหาอุทกภัย และอาเพศฯ ไทย" ที่บอกว่า คนระดับ หัวหน้ารัฐบาล ไม่รู้เรื่อง

         ทั้ง 2 เหตุการณ์ทำให้นึกถึง เรื่องของ"ความเป็นผู้นำระดับประเทศ"

        ความเป็นผู้นำ หรือ Leadership เราไม่มีทฤษฎีที่เป็นของไทยเองซึ่งจะใช้อธิบายได้ จึงต้องเรียนรู้และยืมของฝรั่งมาใช้และอธิบายกัน
     
        อย่างแรก     มีเรือดี พายดีไม่ขี่ข้าม ไปเอาเรือรั่วน้ำมาข้ามขี่

        ผู้นำในการจัดการและแก้ปัญหาเรื่อง น้ำท่วมและอาเพศของประเทศ  พบว่า
        
          -ไม่มีความเป็นผู้นำในการตัดสินใจแก้ปัญหาระดับชาติได้  
         คนเป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐมาก่อน แต่ไม่น่าเชื่อว่าทำงานไม่เป็น แก้ปัญหาการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำไม่ได้   การรื้อผนังกั้นน้ำ  การไม่รู้ว่า พื้นที่ใดควรรักษาหรือพื้นที่ใดควรให้น้ำท่วม  หรือแก้กระทั่งของบริจาคก็ มีปัญหาความไม่โปร่งใส  ฯลฯ
        
            -การสื่อสารให้ คนเข้าใจ ไม่สามารถทำได้ ทั้งผู้นำสูงสุดของประเทส และ ผู้นำเฉพาะกิจในการแก้ปัญหา

          -ใช้คนไม่ตรงกับงาน เราไม่รู้ว่าคนที่รับผิดชอบ มีความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาหรือไม่ เช่น
           1) รู้จักภูมิประเทศ และสภาพแม่น้ำลำคลอง  และ ปากแม่น้ำดีเพียงพอหรือไม่
           2) ความสามารถในการควบคุมและระบายน้ำโดยเฉพาะ การเปิด-ปิดประตูน้ำ ระบายน้ำจากเขื่อน และ ประตูน้ำในคลองต่าง ๆ จนกระทั่งถึงอ่าวไทย
           3) ความสามารถในการเจรจาต่อรองเมื่อเกิดการขัดแย้ง ระหว่างผู้เสียประโยชน์จากน้ำท่วม และ การรักษาพื้นที่สำคัญ กับความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

           ซึ่่งตรงกับคำไทยที่ว่า "มีเรือดี พายดีไม่ขี่ข้าม ไปเอาเรือรั่วน้ำมาข้ามขี่"   แต่สิ่งที่เราพบ คือ ความเป็นผู้นำของทหาร หรือ กองทัพสามารถรับมือและจัดการปัญหาผู้ประสบภัยได้ดีกว่าหน่วยงานของรัฐทั้งหมด

        อย่างที่สอง   ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่ผู้เดียว
        บางคนอาจจะบอกว่า  เป็นคำพูดของผู้นำแบบเผ็จการ  แต่ผมมีข้อคิดให้ถกเถียงทางปัญญา
       ... ผู้นำย่อมต้องรับผิดชอบทุกอย่าง ทั้งการกระทำและคำพูดในสิ่งที่ตนเองได้พูด ได้ทำ  หรือไม่ว่าบรรดาเหล่าบริวาร  ข้าทาส สมุน ลูกกะจ๊อกคนใดทำในขณะที่ท่านเป็นผู้นำอยู่ จะมาบอกว่าไม่รู้ ไม่เห็น ไม่อยู่ คงทำไม่ได้พูดไม่ได้  อย่างนี้ต้องกลับไปอ่านตำราการบริหารใหม่ ยกเว้นว่าโง่ อาจไม่เข้าใจ ก็ถามคนที่รู้มากกว่า แต่อย่าไปถามโจรคงได้คำตอบที่ผิดศีลธรรม
         .....ผู้นำต้องไม่ภามว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นผิดกฎหมายหรือไม่  หรือ บอกว่าไม่เห็นมีใครว่าเลย เขาก็ทำกันอย่างนี้
               เพราะผู้นำที่มีความสามารถต้อง ทำและรับผิดชอบอยู่บนหลักการของการมีศีลธรรมอันดีงาม ไม่ทำในสิ่งที่คนปกติทั่วไปเขาไม่ปฏิบัติกัน
               อย่างนี้ถึงจะเป็นผู้นำที่สง่างาม

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Friday, September 23, 2011

ยูนิโคล่ -UNIQLO สร้างปรากฎการณ์ใหม่ทางการตลาด



การเปิดตัวของ UNIQLO เมื่อวันที่ 9 ก.ย.54 สำหรับแบรนด์เสื้อผ้าอันดับ 1 จากประเทศญี่ปุ่น ที่เซ็นทรัลเวิร์ล เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ได้สร้างสีสันเป็นอย่างมาก เพราะมีคนเข้าคิวรอเข้าร้านเพื่อเลือกซื้อ เสื้ิอผ้าในราคาถูก มาก ๆ (ตามที่ติดไว้ คือ หลักร้อยบาท) นำมาซึ่งความสำเร็จเพียงแค่ชั่วอาทิตย์เดียว มีคนกล่าวถึงกันมาก




Tuk Tuk Ad ...From Tokyo to Bangkok


















บรรยากาศหลังวันที่ 9 ก.ย.54  ก็ยังคึกคักอยู่ -บันทึก  18 ก.ย.54



วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com




Thursday, September 8, 2011

การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการภาครัฐ



เมื่อเดือน พ.ค.54 ที่ผ่านมาผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปบรรยายในโครงการฝึกอบรม"หลักสูตรการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการภาครัฐ" รุ่นที่ 1 ให้กับคณะทำงาน PMQA ของกรมธนารักษ์ ซึ่งมีโจทย์ว่าต้องการทำ PMQA ในระดับ PL (Professional Level) และอยากได้แนวคิด  ตัวอย่างและประสบการณ์จากธุรกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำเรื่อง Benchmarking & Best practices

สิ่งที่บรรยาย ในวันนั้นมีดังนี้
1.แนวคิดของการพัฒนาองค์กรด้วยวิธีการจัดการสมัยใหม่ พร้อมยกตัวอย่างความสำเร็จขององค์กรในต่างประเทศที่มีการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ  กับตัวอย่างบางบริษัทที่ได้รางวัลของ กพร.




















2.การปรับปรุงองค์กรด้วยกลยุทธ  Benchmarking  และการค้นหาและวิธีทำ Best practices  พร้อมยกตัวอย่างวิธีการ ของแนวคิด Toyota DNA   กับบทเรียนในการทำ Best practice ของผู้เขียนที่ทำให้กับธนาคารแห่งหนึ่ง

3. เทคนิคการสร้างไอเดียสู่นวัตกรรม  ซึ่งเป็นเรื่องราวใหม่สำหรับองค์กรและธุรกิจไทย โดยผู้เขียนให้แนวคิดของ Stage-gate Model  กับโมเดลใหม่ที่ผู้เขียนพัฒนาขึ้นเรียกว่า "SIAM Innovation Model" พร้อมตัวอย่าง "ไอเดียริมโขง ที่เชียงคาน" ว่าง่าย ๆ ก็เอาโมเดลข้างต้นไปทดสอบจนได้ข้อสรุปเป็น"โมเดลนวัตกรรมของไทย"

 
(หนังสือใหม่ "ไอเดีย & นวัตกรรมในธุรกิจ (2) : INNOVATION 3.01" สนใจคลิกที่รูปได้)


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Thursday, July 21, 2011

Marketing 3.0


ช่วงนี้มีคำถามและความสนใจกันมากว่า "การตลาด 3.0 หรือ Marketing 3.0 "  เป็นอย่างไร และร้อนแรงขนาดไหน 

ผู้เขียนได้เขียนเรื่องนี้ตั้งแต่ Kotler  ออกหนังสือเล่มนี้มาใหม่ ๆ ในเดือน มี.ค. 2010  เมื่อ นสพ. Global Business เชิญให้เขียนในคอลัมน์ Breakthrough Marketing  ผุ้เขียนเลยประเดิม ด้วย Marketing 3.0  ที่ครบแน่จัดให้เต็ม ๆ ว่า เป็นอย่างไร ใช้อย่างไร พร้อมกลยุทธครบถ้วน ....ลองอ่านได้ครับ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Saturday, July 2, 2011

12 ขั้นตอนในการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดได้สำเร็จ

ผู้เขียน ได้อ่านข้อเขียนที่ Nielsenwire , June 30, 2011 (http://blog.nielsen.com/nielsenwire/consumer/countdown-to-product-launch-12-key-steps/)  ได้สรุปบทเรียนจากการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดกว่า 600 ผลิตภัณฑ์ และทดแนวคิดกว่า 20000 แนวคิด สรุปได้เป็น"12 ขั้นตอนในการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดได้สำเร็จ"  น่าสนใจมากจึงนำมาเผยแพร่ต่อครับ




1.Distinct Proposition
Your product must offer true innovation; it must be something that people will actually want. What is its value? The first step is really evaluating if the product occupies a distinct niche.
2.Attention Catching
No matter how innovative and productive the item is, it needs to garner attention in order to be sold. Companies need to be focused on interest and recognition.
3.Message Connection
When the consumer is at the shelves deciding what to buy, the product needs to be able to market itself. Make your labeling/packaging create a kind of “mission statement” which will have the consumer clear on what the product does.
4.Clear Concise Message
People will not want to take too long to read your product’s label; therefore, you must create and convey a message that is short, sweet, and to the point.
5.Need/Desire
Especially with people tightening their belts in a recession, it is of the utmost importance for the product to serve a real consumer call for the product. Convenience, and ease of use are some of the more important attributes of a successful product.
6.Advantage
Explain why your product will continue to be different. In a store where a consumer has multiple similar choices, the advantage needs to be as clear and enticing it can be.
7.Credibility
Packaging, ads, and coupons can say virtually anything, but a consumer has to believe what they are reading and the product is worth their money. Where does your credibility come from? Do they trust your brand? Are consumers in your niche willing to trust a new brand?
8.Acceptable Downsides
Virtually every product has its downsides. Identify them, and make sure that you are ahead of them before the consumer has to point them out to you, and make sure that the downsides don’t hinder the success of the product.
9.Findability
The product can be the most innovative product the world has ever seen, but unless the consumer can see it, they won’t know. How visible will the product be? Who is your audience and what is the best way to put your product in their line of sight?
10Acceptable Costs
Similar to accepting downsides, the consumer must feel comfortable with the cost of purchasing and using your product. The cost in this sense can be anything from the actual retail price at which it is listed to the more obscure attributes like a calorie count, something you would only find out after having to look for it.
11.Product Delivery
After the consumer is exposed to, and even believes, your ad campaign and message, the product must deliver on its promises. Companies need to take the time to make sure their product will deliver results at least as well as the ads state.
12.Product Loyalty
Many companies can, and have, had a “one-hit-wonder” product, but in order to sustain the success of the product over a long period of time, companies need product loyalty. Even if the product delivers on its promises in the beginning, complacency will allow your competition to come back. Build loyalty to your product by continuing to stay ahead of the competition and you will find that a new household name will be very familiar to you.

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com

Wednesday, June 22, 2011

คิดใหม่เรื่องการวางแผนกลยุทธชั้นเทพ โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ


วันนี้ 22 มิ.ย.54 ได้ประชุมเตรียมงานเพื่อการประชุมปฏิบัติการทบทวนวิสัยทัศน์ พันกิจ และประเด็นยุทธศาสตร์ของกลุ่มภารกิจด้านการแพทย์ ของ 3 กรม  สังกัดกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งผู้เขียนจะเป็นวิทยากรนำการประชุม ในเดือนหน้า
สำหรับเรื่องที่จะบรรยาย คือ " Scenario Planning & Business Model Analysis"  ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับประเทศไทยเพราะมีการทำกันไม่มาก และโดยเฉพาะ ระบบราชการไทยยิ่งแทบไม่รู้จักในการใช้จัดทำแผนยุทธศาสตร์

สิ่งที่เป็นประเด็น หารือกันคือ  จะเปลี่ยนแนวคิดใหม่ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของระบบราชการ ตามที่เคยทำกันมาด้วยวิธีการของ Balanced Scorecard  ซึ่งมีจุดอ่อนในการนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ เช่น
 -ไม่สามารถวิเคราะห์ทัศนภาพ (Scenario Analysis) ในอนาคตได้ หรือ ไม่มีเครื่องมือในเรื่องดังกล่าวที่จะให้ธุรกิจหรือองค์กรใช้
-ไม่เคยพูดถึง ว่า  หากจะสร้าง โมเดลธุรกิจ (Business Model)  จะทำได้อย่างไร
-และที่เบี่ยงเบนไปมาก ๆ คือ ระบบราชการใช้ KPIs  ภายใต้โครงการตามตัวชี้วัด เป็นสิ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มากกว่าใช้ ตัวยุทธศาสตร์เป็นสิ่งขับเคลื่อน

ทำให้ ผลสุดท้ายออกมาชัดเจนว่า ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ปี 2011 เราถอยมาจากอันดับที่ 26 ตกลงมาเป็นอันดับที่ 27 (การจัดอันดับโดย IMD อ่านได้ที่http://thekmthailand.blogspot.com/2011/06/2011.html )

ดังนั้น สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ทั้ง 3 กรม จึงหาวิธีการใหม่ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ถือเป็นความท้าทายใหม่ในเรื่องนี้ ครับ ที่ผู้เขียนจะใช้  "ประสบการณ์ในการทำแผนกลยุทธจากภาคเอกชน มาเปลี่ยนวิธีการในภาคราชการ"  ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้บรรยายเรื่องนี้ใน "หลักสูตรนักยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขฯ  มา 2 รุ่น"

สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องราวใหม่ ๆทางกลยุทธ  เฉพาะ "นักยุทธศาสตร์ชั้นเทพ" ที่จะเสวนาและขบคิดทางปัญญากัน


Saturday, June 11, 2011

ความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของประเทศไทย ปี 2011

            
             ผมได้รับ email แจ้งผลการจัดอันดับ ความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของ IMD  ในปี 2011 น่ายินดีครับ ประเทศในเอเซียอย่าง ฮ่องกง แซงขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 ได้ แต่ สหรัฐ ปีที่แล้วอยู่อันดับ ที่ 2 กลับมาเป็นอันดับที่ 1 ด้วยเช่นเดียวกัน เรียกว่าทวงแชมป์คืน 
            ในขณะที่สิงค์โปร ปีที่แล้วอยู่อันดับที่ 1 ปีนี้ตกไปอยู่อันดับที่ 3 ส่วนอันดับที่ 5, 6,7, ...10 เป็นประเทศ สวีเด็น สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน แคนนาดา  กาตาร์ ออสเตรเลีย และเยอรมัน ตามลำดับ
            สรุปได้ว่า ปีนี้ เอเซีย ยังผงาด อยู่ 3 ชาติ ด้านความสามารถในการแข่งขันระดับโลก ส่วนประเทศไทยไม่ต้องบอกก็ทราบว่า เราไม่ไปไหนเพราะปัญหาการทะเลาะกันในประเทศและมีคนบางคนบางกลุ่มจ้องทำลายชาติ  รบกับพวกก่อการร้ายใน 3 จังหวัดภาคใต้หรือ รบกับข้างบ้าน ประเทศไทยในปีนี้ ตกมาอยู่ที่ อันดับ 27 
            แถมปีนี้มีของใหม่ คือ Competitiveness Road map : 2011-2050 (จะมาเล่าต่อภายหลังครับ)


  หมายเหตุ: ผมตัดมาเฉพาะ 38 อันดับ จาก IMD (IMD2011wcy) ครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Tuesday, May 17, 2011

Global Middle Class : ชนชั้นกลางระดับโลก


เคยบรรยายเรื่องการเปลี่ยนแปลงการตลาดในโลกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเรื่อง  "ชนชั้นกลางระดับโลก (Global Middle Class)" และคิดว่าได้นำเรื่องนี้มาใส่ใน บล็อกเรียบร้อย ปรากฎว่าค้นเท่าไหร่ก็ไม่เจอ จึงนำมาใส่เสียเลยครับThe Global Middle Class

Monday, May 16, 2011

After Japan's Aftershock in S+M April 2011



ทางนิตยสาร S+M  Vol 10 Issue 109 April 2011 ได้ขอให้ผู้เขียนวิเคราะห์เกี่ยวกับ "After Japan's Aftershock"  ว่าธุรกิจแบรนด์ระดับโลกที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติของญี่ปุ่นรับมืออย่างไร  กับกรณีของจีนคาดการณ์ว่าจะมีโอกาสเป็น Superpower ไหม ?
(พอดีเรื่องแรกตรงกับที่ นศ. พระปกเกล้าำลังทำกรณีศึกษาอยู่แต่เน้น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยานค์ในประเทศไทย ผู้เขียนเป็นที่ปรึกษาอยู่ ผลสรุปเป็นอย่างไรจะได้มาเล่าสู่กันฟังครับ)

ในฉบับ S+M ติดตามได้ครับ มี 4หน้า




ดร.ดนัย เทียนพุฒ 
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์

โทร 029301133

Saturday, April 16, 2011

Apple เบียดส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนและพฤติกรรมในSocial network ปีที่ผ่านมา



เร็วนี้เมื่อเดือน กพ.54 มีการเปิดเผยข้อมูลยอดขาย 5 อันดับมือถือโลกที่มีส่วนแบ่งมากที่สุด หรือพูดง่าย ๆว่าขายระเบิดไปเลย
       1) ส่วนแบ่งตลาดมือถือ และยอดขาย(ในตาราง)
         อันดับที่ 1 Nokia  มีส่วนแบ่งตลาด 32.6%
         ตามมาด้วย Samsung ส่วนแบ่งตลาด 23.3 %  
         และอันดับที่ 3 LG ส่วนแบ่งตลาด 8.4 %
         มีรายใหม่จาก จีนมาเป็นอันดับที่ 4 ZTE ส่วนแบ่งตลาด 3.7 %
          ในตารางเป็นการสำรวจของ บริษัท 2 แห่ง เปรียบเทียบกันแต่ตัวเลขไม่หนีกันมาก


       2) ที่กำลังน่าจับตาคือการเติบโตของ Smart Phone
          ผลปรากฎว่า  อันดับที่1 ในปีที่ผ่านมา เป็น  Nokia ส่วนแบ่งตลาด 33.1 %
                           อันดับที่ 2 เป็น RIM -Black Berry ส่วนแบ่งตลาด 16.1%
                           อันดับที่ 3 แซงโค้งเข้าป้ายมาเร็วจี Apple-iPhone ส่วนแบ่งตลาด 15.7 %
                            ส่วน Sumsung และ HTC ใกล้ ๆ กัน ประมาณ 7%


       3)  ผลสำรวจทั่วโลกพบว่า พฤติกรรมการใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก มีอยู่ 5-6 กลุ่มหลัก ๆ คือ “กลุ่มแม่บ้าน” อายุ 45 ปีขึ้นไป ใช้เพื่อหาซื้อของดีราคาถูก ส่วนแม่บ้านไทยเริ่มที่ 35 ปี “กลุ่มผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป” รายได้ต่ำกว่า 25,000 บาท ใช้เพื่อความบันเทิง “กลุ่มแฟนพันธุ์แท้” เล่นเพื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย อายุ 45 ปีขึ้นไป รายได้ตั้งแต่ 55,000 บาท กลุ่มเล่นเพื่อสร้างคอนเทนต์ของตัวเองขึ้นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา กลุ่มเล่นเพื่อต้องการให้รู้ว่าเราเป็น “กูรู” ในเรื่องนั้น ๆ และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุ 30 ปีขึ้นไป รายได้ตั้งแต่ 70,000 บาทขึ้นไป ในเมืองไทยพบว่า กลุ่มที่เล่นเพื่อ “ความบันเทิง” มีสัดส่วนสูงที่สุด 40% รองลงมาคือกลุ่มแม่บ้าน 20% ที่เหลือสัดส่วนเท่า ๆ กัน
(อ้างจาก  http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=310&contentID=132994 )

นั่นคือกระแสการเปลี่ยนแปลงของตลาดด้านคอนซูเมอร์อิเลคทรอนิกส์ ที่กำลังคืบคลานเข้ามาแทน สินค้าคอนซูเมอร์เข้าไปทุกที่ แม้ว่าในความเป็นจริงจะแทนไม่ได้โดยตรงแต่เข้ามามีอิทธิพลและดึง- เปลียนพฤติกรรมผู้บริโภค ครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com

Saturday, March 26, 2011

Imapct KPIs : ดัชนีวัดธุรกิจแบบโดน ๆๆๆ


เมื่อวันพฤหัส (24 มี.ค.54) ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยม ลูกค้าที่คุ้นเคย -กลุ่มบริษัทดัชมิลล์  (ตอนหลังปีใหม่ได้ไปบรรยายให้กับ "Delight Agent" เป็นที่ฮือฮามาก เหมือนได้กลับมายังบ้านที่คุ้นเคยแต่เป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ ในเครือของดัชมิลล์ -เกือบ 10 ปีแล้ว) 

ได้พูดคุยกันในหลายเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนา เอเย่นต์ของดัชมิลล์ (27 ปี ของดัชมิลล์)
มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนอยาก หยิบมาพูดเป็นการทั่วไป คือ เรื่องของ KPIs หรือดัชนีวัดผลสำเร็จของธุรกิจดังนี้

1. KPI s ที่ใช้วัดธุรกิจ ต้องเป็น "Impact KPIs" ไม่ใช่ "The KPIs List" 
    มิฉะนั้น จะไม่เห็นความสำเร็จของธุรกิจอย่างแท้จริง เพราะเป็นการวัด ที่ไม่ใช่"แก่นแท้ของธุรกิจ" 
อาทิ    - การวัดด้านยอดขาย  ว่าทั้งปีเป็นเท่าไหร่ ไม่วัดแต่ไปวัดว่า มี จำนวนพนักงานขาย เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของประชากร  อันนี้ให้นัยที่ไม่บอกความสำเร็จโดยตรง 
          - KPIs ไม่ได้วัดสิ่งที่เป็นผลต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น ไม่ดูค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน แต่ไปดูการเพิ่มของเขตการขาย  ทั้งที่ความจริงจำเป็นที่ต้องดูทั้ง 2 เรื่อง และการทำธุรกิจไม่ดูค่าใช้จ่าย ยิ่งอันตราย

2. การวัด สิ่งที่เป็น " Lag KPIs  VS  Lead KPIs" 
    ผู้เขียนมองในเรื่อง Lead KPIs  เป็นดัชนีนำ หรือการวัดทิศทางหรือสิ่งบอกอนาคต น่าจะทำให้องค์กรเร่งการเติบโตได้ดีกว่าการมอง Lag KPIs  หรือ ดัชนีตาม และยิ่งอยู่ในสถานการณ์ ของการเปลี่ยนแปลงด้านค้าปลีก และการแข่งขันที่สูงของสินค้่าด้านนี้ 

3. สิ่งที่น่าสนใจคือ การที่องค์กรเดินข้าม 2 ช่วง ของวัฏจักรธุรกิจมาแล้ว คือ การเริ่มต้น  และการขยายตัว เมื่องกำลังเข้าช่วงของการอิ่มตัว หรือ ดารเติบโตเต็มที่
     ธุรกิจต้องการ "นวัตกรรมใหม่"  สิ่งที่ว่านี้คือ  "นวัตกรรมใหม่ของโมเดลธุรกิจ"  กับการ "ส่งต่อหรือ สร้างธายาทธุรกิจ" 

เรื่องราวเหล่านี้น่าสนใจ เพราะเป็นสิ่งที่บอกว่าธุรกิจจะเดินสู่เส้นทางอนาคตที่ยังอีกยาวไกลได้อย่างไร 


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com

Thursday, March 10, 2011

Sweet Spot : การตลาดท่องเที่ยวไทย


ผู้เขียนจำได้ว่า เรามักพูดถึง "ตลาดท่องเที่ยวของไทย" ว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง และน่าสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง แต่บางที่ก็โชคไม่ค่อยช่วยเพราะมีเหตุการณ์ ดึงความเจริญและการเติบโตของประเทศอยู่ตลอดเวลา และดูท่าจะดึงต่อไปเรื่อย ๆ
ผู้ เขียนอยากให้มองใหม่ "ทำอย่างไรจะอยู่กับสภาพการณ์แบบนี้ให้ได้" ไม่ต้องไปรอฟ้ารอฝน รอเลือกตั้ง ว่าจะมีใครมาแก้ไขได้ (หากไม่แก้ที่ต้นตอ) เป็นความเชื่อเดิม ๆ และไม่มีอนาคต
ผู้เขียนเคยเสนอว่า แถวปากช่อง-โคราช น่าจะสร้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ได้ แต่ต้องระวังการบุกรุกที่ป่าจนน้ำท่วม ให้เห็นมาแล้ว
อ่านได้ครับ






ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133
email: drdanait@gmail.com

Saturday, January 15, 2011

โมเดลธุรกิจของ Apple


โมเดลธุรกิจ (Business Model) เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดทำกลยุทธของธุรกิจ แต่แทบจะไม่น่าเชื่อว่า ธุรกิจในเมืองไทยรู้จักและเข้าใจสิ่งนี้น้อยมาก  ยิ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กด้วยแล้ว ไม่ต้องพูดถึง ดร.ดนัย เคยให้ นศ.MBA สำรวจธุรกิจ SMEs ว่ามี โมเดลธุรกิจหรือไม่ ผลชัดเจนไม่มีเลย ลองมาศึกษา ตัวอย่างโมเดลธุรกิจของ Apple ว่า Steve  Jobs  คิดอย่างไรได้ครับ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ :โมเดลธุรกิจของ Apple

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com