Thursday, December 17, 2009

Controversial Marketing การตลาดแบบคาบลูกคาบดอก โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ


Controversial Marketing การตลาดแบบคาบลูกคาบดอก

ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่่ นักการตลาดในต่างประเทศนิยมใช้ เพราะ ถ้าประสบความสำเร็จก็จะดังได้ชั่วพริบตา สำหรับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ตัวนั้น แต่หากไม่ประสบความสำเร็จสินค้านั้นก็จอดแบบไม่ต้องแจว แถมพ่วงให้ธุริกจนั้นติดลบไปด้วย

การตลาดแบบคาบลูกคาบดอก หมายถึงการทำตลาดสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่เน้นการโฆษณาผลิตภัณฑ์ หรือส่งเสริมการขายในลักษณะที่ ไม่ขาวก็ดำ ไม่ชอบก็เกียจ หรือ ดีกับเลว ให้สังคมหรือผู้บริโภคตัดสินเอาเอง

1.กรณีตัวอย่าง ชัดเจนใน -กรณีของลูกเกด ซึ่งชอบทำ "การตลาดในแนวคาบลูกคาบดอก หรือ Controversial marketing" ซึ่งถ้าทุกท่านที่สนใจลูกเกด คงจะจำได้ว่า ตอนที่ลูกเกดโฆษณาผลิตภัณฑ์สบู่อาบน้ำยี่ห้อหนึ่ง โดยการขึ้นรถ แล้วอาบน้ำ ให้เห็นบางส่วน พร้อมการตะเวนไปตามถนนหลัก แถวสยามสแควร์ จนที่"ที่ฮือฮาทั้งเมือง ( Talk of the Town)" เป็นหัวข้อที่ทุกคนพูดถึง ลูกเกด และ ผลิตภัณฑ์ แต่ จริง ๆ คนวิจารณ์ว่า ผิดกฎหมายอนาจารหรือไม่

นั่นคือตัวอย่างที่นักการตลาดยำจำกันได้ ซึ่ง Case ดังกล่าว ไม่ติดลบแต่เป็นบวกกับลูกเกด มาก ๆ

2. กรณี ของ Leo กับ ปฏิทินบอดี้เพนท์ ซึ่งคงไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็น การตลาดแบบคาบลูกคาบดอก บังเอิญ สังคมกระแสต่อต้านเหล้า-เบียร์มาแรง และมีนักวิชาการสายนิเทศศาสตร์ ใช้โอกาสนี้สร้างชื่อผสมแบบ On Top Promotion มาด้วย จึงเข้าทาง Controversial marketing พอดี

*ภาพบวกที่ได้มีอะไร
- หากวิเคราะห์แบบตื้น ๆ ก็บอกว่า Leo ได้การโฆษณาฟรีไม่เสียเงิน เป็นร้อยล้านตาม นัก นสพ.บางฉบับ เพราะได้เป็น" Talk of the Town"
แต่ถ้าค่ายเบียร์ยีห้อนี้วิเคราะห์ให้ลึก ไม่ได้แน่นอนแถมติดลบกับกลุ่ม สธ. และ เครือข่ายต่อต้านเหล้า-เบียร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายทางสังคมที่ ไม่อาจประเมินต่ำไปได้
-ลูกเกด ได้ positioning ที่ชัดเจน ในการเป็น presenter การตลาดแบบคาบลูกคาบดอก

*ภาพลบมีไหม
-ชัดเจนกระทบค่ายเบียร์นี้ทั้งกลุ่ม ในแง่ติดลบกับสังคม และโดยเฉพาะ เรื่อง CSR & Good Governance
-ต้องเสียเงินอีก หลาย 100 ล้านในการดึงภาพค่ายเบียร์กลุ่มนี้กลับมา และไม่แน่ใจว่าจะบวกได้หรือไม่
-เปิดเป็นโอกาสให้คู่แข่ง ได้คะแนนทางบวกโดยไม่ต้องทำโฆษณาอะไรเลย แค่ชูภาพ รักษ์โลก ไม่ทำให้โลกร้อนก็ลอยรำไปไกลหลายน่านน้ำ
-สำหรับผู้ที่วาดเส้นทางอนาคตในด้านการเมืองไว้ ปฏิทินลูกเกด 2010 นี้ เท่ากับเป็นการเปิดบาดแผลให้คู่แข่งทางการเมืองได้ เลือกตี่ ได้ตลอดเส้นทางชีวิตการเมือง และไม่อาจปิดบาดแผลนี้ได้ และข่าวล่าสุดก็ได้ปิดเส้นทางการเมืองด้วยการลาออกไปแล้วเมื่อ 17 ธ.ค.52 นี้เอง

นี่คือตัวอย่างของ การตลาดแบบคาบลูกคาบดอก หรือ Controversial marketing ที่ทำแล้วไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะไม่รู้ว่าสังคมจะตอบรับแบบไหน ถ้าออกหัวก็ เฮ บังเอิญออกก้อย ก็เกม

ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อ ปฏิทินLeo ของสวนดุสิตโพล


สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ปริมณฑลที่มีต่อ การจัดทำปฏิทินดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,160 คน ระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นของประชาชน กรณี ที่บริษัทสิงห์ คอร์เปอเรชั่น จัดทำปฏิทินวาบหวิวเพื่อแจกให้กับประชาชนที่ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่
อันดับ 1เป็นกลยุทธ์ด้านการตลาดของบริษัท 31.14%
อันดับ 2เป็นการสมนาคุณให้กับลูกค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปี21.31%
อันดับ 3ไม่สมควรจัดทำออกมาในลักษณะนี้เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ และมีวัฒนธรรมอันดีงาม16.39%
อันดับ 4เป็นการยั่วยุทางอารมณ์ อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา13.11%
อันดับ 5ควรเปลี่ยนรูปแบบสิ่งของที่ต้องการแจกให้กับลูกค้าเป็นอย่างอื่นแทน11.47%
อื่นๆเช่น ทำให้เยาวชนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ,เป็นการสร้างค่านิยมที่ผิด ฯลฯ 6.58%
2. ประชาชนมองภาพในปฏิทินลีโอที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้เป็นอย่างไร ?
อันดับ 1โป๊45.86%
เพราะ มีเสื้อผ้าน้อยชิ้น มองเห็นเนื้อหนังมังสา ,นำนางแบบที่เป็นผู้หญิงมาโชว์เรือนร่างวาบหวิว ฯลฯ
อันดับ 2ไม่โป๊38.85%
เพราะ เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ,ไม่แตกต่างจากการถ่ายชุดว่ายน้ำตามปกหนังสือ ให้ความรู้สึกในลักษณะเดียวกัน ฯลฯ
อันดับ 3ไม่แน่ใจ15.29%
เพราะ ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์และมุมมองของแต่ละคน ฯลฯ
3. จากภาพที่สื่อออกมาเป็นการยั่วยุอารมณ์หรือก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงโดยเฉพาะ เรื่องการรณรงค์ต่อสิทธิสตรีหรือไม่?
อันดับ 1เป็นการยั่วยุอารมณ์43.94%
เพราะ เป็นการเสื่อมเสียเกียรติ มองผู้หญิงว่าเป็นสินค้าหรือเป็นวัตถุทางเพศ ,เพศหญิงคือเพศแม่ที่ควรเคารพ ฯลฯ
อันดับ 2ไม่เป็น34.39%
เพราะ เป็นภาพศิลปะไม่ได้น่าเกลียดอะไร ,เป็นเรื่องปกติที่มีการถ่ายปฏิทินทุกปี ,บนอินเทอร์เน็ตมีภาพที่ไม่เหมาะสมมากกว่านี้ ฯลฯ
อันดับ 3ไม่แน่ใจ21.67%
เพราะ เป็นอาชีพอย่างหนึ่งของผู้หญิง ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่าเหมาะสมหรือไม่? จากที่มีการนำปฏิทินเบียร์ไปแจกให้กับบรรดาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาล
อันดับ 1ไม่เหมาะสม 59.87%
เพราะ เป็นสถานที่ราชการที่ควรให้เกียรติ ไม่ควรไปแจกอย่างเปิดเผย ฯลฯ
อันดับ 2เฉยๆ 36.28%
เพราะ เป็นเพียงปฏิทินไม่ใช่ของผิดกฎหมายอะไร ,เป็นเรื่องปกติที่คนส่วนใหญ่สนใจอยากดูอยากชม ฯลฯ
อันดับ 3เหมาะสม 3.85%
เพราะ เป็นช่วงเทศกาลที่มักมีการแจกปฏิทินให้กันทุกปี ฯลฯ
5. กรณี เกี่ยวกับปฏิทินวาบหวิวที่เกิดขึ้นแทบทุกปี ประชาชนคิดว่าควรมีวิธีป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นอีก คือ
อันดับ 1มีกฎหมายบังคับใช้และต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและเข้มงวด47.06%
อันดับ 2ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการในการจัดทำปฏิทินหรือของสมนาคุณที่เหมาะกับสังคมไทย25.49%
อันดับ 3ไม่ควรนำมาแจกตามสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะ19.61%
อันดับ 4ผู้ที่นำปฏิทินออกมาแจกควรระมัดระวังและมีจิตสำนึกให้มากกว่านี้ 7.84%


ถามว่ายังมีอีกไหมการตลาดแบบนี้ มีครับ เพราะถ้าออกมาแล้ว บวก พูดกันสนั่นเมืองก็คุ้ม ซึ่งต้องเป็นนักการตลาดแบบ Gamesman จึงจะกล้าทำ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ

Wednesday, December 16, 2009

Coming Trends….Marketing 2010 By Dr.Danai Thieanphut

Coming Trends….Marketing 2010

ดร.ดนัย เทียนพุฒ ให้สัมภาษณ์ กับ นสพ. inMarketing ฉ. ปักษ์หลัง 16-31 ธ.ค.52 หน้า 2 ภายใต้กรอบ "Trend & Move จับคลื่นตลาดปีเสือดุ..!!




แนวโน้มการตลาดของ “ปีเสือ” จะเป็นอย่างไร ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ยังหาความแน่นนอนไม่ได้นั้น
ดร.ดนัย เทียนพุฒ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์ จำกัด ในฐานะนักยุทธศาสตร์และที่ปรึกษาธุรกิจได้ให้มุมมองพร้อมทั้งข้อสังเกตถึงแนวโน้มการตลาดในปี 2010 อย่างน่าสนใจ เพื่อที่จะให้นักการตลาดหรือองค์กรธุรกิจได้นำไปขบคิดหรือต่อยอด เพื่อวางยุทธศาสตร์และกลยุทธของตนเองได้อย่างถูกต้อง
“ประเด็นแรก ผมมองเห็นแนวโน้มของการทำตลาดกับสมาร์ทโฟนที่มาแรงอย่างทุกวันนี้ที่จะเห็นได้จามแคมเปญของซิตี้แบงก์กับ BB Curve ซึ่งแม้จะมีรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น จะต้องใช้บัตรเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ต้องมียอดค่าใช้จ่ายผ่านบัตรไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 หมื่นบาท หรือแม้แต่ล่าสุดที่ทั้งค่ายเอไอเอส ทรูมูฟ และดีแทคเข้ามาทำตลาด BB และ iPhone ตอนนี้ก็มือค่ายแอลจี ซัมซุงที่มาเล่นในส่วนของสมาร์ทโฟน โดยซัมซุงก็ลงโฆษณามือถือรุ่นล่าสุดของตัวเองว่าเป็นมือถือ 3G แม้ว่าจะเสียเปรียบค่ายที่เป็นโอเปอเรเตอร์อยู่บ้างที่ต่างก็โดดมาทำตลาด iPhone และ BB
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของ Content และ Data น่าจะต้องมีการขบคิดกันพอสมควรว่าจะทำอะไรตรงนี้ได้อีก เนื่องจากปัจจุบัน Social Networking มาแรง ซึ่งจะทำให้ตลาดตรงนี้เติบโตมากขึ้นไปอีก”
ประเด็นต่อมา ดร.ดนัย มองแนวโน้มของกลยุทธ์ “ตลาดความดี/ตลาดบารมี” หรือ CSR เป็นแนวโน้มของกลยุทธที่จะมาแรงในปี 2010 ดังจะเห็นได้จากกรณีของการฟ้องร้องกรณีมาบตาพุดที่กลุ่มเอ็นจีโอเป็นฝ่ายชนะ จึงจะทำให้เห็นว่า “ตลาดความดี/ตลาดบารมี” น่าจะเข้ามาหรือที่เรียกกันว่า White Ocean
“ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือไต้หวัน ซึ่งกลยุทธดังกล่าวแรงมาก โดยมีมูลนิธิหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อนำของรีไซเคิลไปขายทำรายได้เพื่อบริจาคกับคนยากไร้ ผู้ประสบเหตุอุทุกภัย วินาศภัย และบริจาคเพื่อร่วมโครงการลดโลกร้อน ด้วยจำนวนสถานีรีไซเคิลทั้งหมด 3,000 สถานี แต่ละสถานีรีไซเคิลของมูลนิธินี้สามารถทำรายได้ประมาณ 5-8.4 แสนบาทต่อเดือนต่อสถานี มูลนิธิดังกล่าวมีสมาชิกร่วม 10 ล้านคนและมีการจ่ายค่าสมาชิกด้วย ขณะที่มีนักธุรกิจประมาณ 3 หมื่นรายร่วมบริจาคคนละ 1 ล้านเหรียญไต้หวัน ดังนั้นจึงเป็น “บารมี” ของผู้นำองค์กร ซึ่งแนวคิดดังกล่าวก็สอดคล้องกับแนวคิดของปีเตอร์ ดรักเกอร์ กูรูทางด้านการบริหารจัดการที่ว่า การผลักดันองค์กรนั้นเป็น “บารมี”
ฉะนั้นประเด็นของ “จิตอาสา” หรือ Social Volunteer ของไต้หวันจึงแรงมาก และผมคิดว่าในประเทศไทยเองตรงนี้ก็จะเป็นประเด็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากเป็นแนวทางที่จะทำให้ธุรกิจปลอดภัยด้วย
นี่จึงเป็นตลาดแห่งการแผ่บารมี ตลาดแห่งความดี หรือที่เรียกกันว่า Whilte Ocean เพราะสุดท้ายแล้วในโลกของธุรกิจก็จะกลับมาที่โลกของจริยศาสตร์ เช่นเดียวกับที่สังคมไทยขณะนี้ที่กำลังสับสนวุ่นวาย สุดท้ายก็จะกลับมาที่ความดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องใช้เวลา ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่นใช้เวลาถึง 40 ปีในการให้ความรู้กับผู้ผลิตทั่วโลกให้รู้จักกับ “วินัยในด้านคุณภาพ” (Quality Discipline) ขณะที่ญี่ปุ่นใช้เวลาถึง 50 ปีในการสอนวินัยและให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีในระดับอาชีวศึกษาให้กับไต้หวัน ในช่วงที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันก่อนยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อที่จะป้อนคนไต้หวันเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมของตนเอง” ดร.ดนัยกล่าว
นอกจากแนวโน้มเรื่องสมาร์ทโฟน, Social Networking และ CSR แล้ว ดร.ดนัยมองถึงแนวโน้มการวิเคราะห์และการใส่มุมมองแบบทัศนภาพ (Scenarios) จะเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นทัศนภาพในเชิงของสังคม วัฒนธรรมหรือธุรกิจโดยเฉพาะในยุคนี้ที่กล่าวได้ว่าเป็นยุคแห่งความโกลาหล วุ่นวาย โดยเฉพาะปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งสะท้อนถึงระดับของจริยธรรมที่อยู่ในระดับที่ต่ำมาก(ของการเมืองไทย) ดังนั้นการเขียนทัศนภาพให้ชัดจึงเป็นเรื่องจำเป็น
ส่วนปัญหาทางด้านเศรษฐีที่ยังผันผวนนั้น ดร.ดนัยยังมองในแง่ดีว่า
“แม้จะตกต่ำสุดอย่างไรก็จะสามารถกลับ (Recover) ได้ หรือแม้แต่กรณีของดูไบเวิลด์ก็เชื่อว่าไม่กระทบกับประเทศไทยมากนัก ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจในปีหน้ายังไปได้ไม่ตกอย่างปัจจุบันอุตสาห-กรรมรถยนต์หรือกลุ่ม OEM ก็เริ่มมีออร์เดอร์กลับเข้ามาแล้ว”
ประเด็นท้ายสุด ดร.ดนัย หยิบยกขึ้นมาน่าจะเป็นประเด็นที่น่าตกใจสำหรับผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจ เป็นประเด็นที่อาจารย์เรียกว่า “Nearly Free”!!
Nearly Free เป็นแนวโน้มที่เป็นผลพวงมาจากการเติบโตของ Social Networking ที่คนรุ่นใหม่ใช้เวลาและฝังตัวเองกับโลกไซเบอร์มากขึ้น เพื่อพูดคุย แชร์ภาพ แชต หรือหาข้อมูลหรือแม้แต่การถามปัญหากันเองใน Social Networking จึงทำให้มีสินค้ามากมายหลายชนิดปรับตัวเข้าไปในโลก Social Networking ด้วยรูปลักษณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอเนื้อหาประเภท Content, Data หรือส่วนลดจนเกือบจะเรียกว่า เกือบจะเป็นของฟรี
เนื่องจากโลกไซเบอร์สร้างความเคยชินกับผู้ใช้บริการว่า อะไรก็ตามที่อยู่บนโลกออนไลน์นั้นคือ ของฟรี หรือเกือบฟรี
ทว่า ความน่ากลัวที่เกิดขึ้นนั้น ดร.ดนัยชี้ให้เห็นว่า
ป้จจุบันสินค้าที่จับต้องได้และวางขายในร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เกือบจะเรียกได้ว่า ของฟรี หรือของเกือบฟรี ที่เห็นตัวอย่างได้มากมายเช่น การให้สวนลด 25-50% หรือ 70% หรือมีส่วนลด On Top ฯลฯ
“ที่น่ากลัวสำหรับผู้ประกอบการคือ ต่อไปจะไม่มีใครสามารถขายราคาเต็มได้ ตอนนี้แนวคิดเรื่องของฟรีที่ติดมาจากโลกออนไลน์มาสู่โลกกายภาพ (Physical) แล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า สินค้าที่คุณซื้อวันนี้อาจจะมีราคา 3,000 บาท แต่เมื่อถัดไป 2 สัปดาห์ราคาก็จะลดลงเหลือ 1,500 บาท เนื่องจากผู้ผลิตจัดรายการลดราคากันถี่มาก ซึ่งจุดนี้แหละที่จะทำให้เกิดการชะลอการตัดสินใจของผู้บริโภคเนื่องจากผู้บริโภคเองก็จะรอให้มีการลดราคาก่อนค่อยตัดสินใจซื้อจริง
ที่สำคัญแนวโน้ม Nearly Free นี้เราเองไม่สามารถตั้งราคาเผื่อตอนที่ลดราคา (Cover Discount) เนื่องจากจะถูกบล๊อกโดยระบบ เพราะหากคุณขายสินค้าของคุณราคาสูงก็จะไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะขายแพงกว่าคู่แข่งขัน
ยกตัวอย่างกรณีเป็นหนังสือ หนา 150 หน้า ต้นทุนจริง 40 บาท แต่เราตั้งราคาขายเผื่อไว้ที่ 200 บาทก็ถือว่าเป็นหนังสือแพงแล้ว เมื่อวางขายช่องทางการจัดจำหน่ายจะหักเปอร์เซนต์ตามสัดส่วนของราคาปก ตลอดจนมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งท้ายที่สุดอาจจะไม่เหลืออะไรเลยด้วยซ้ำ”
ฉะนั้น การที่จะอยู่รอดในตลาดได้ในยุคที่ “คุณค่า” และ “ราคา” ไม่มีความหมายแล้ว กลยุทธที่จะใช้กับภาวะนี้คือ “แบรนด์” “การสร้างแบรนด์” และ”การสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์” เป็นกลยุทธที่จะทำให้นักการตลาดทะยานไปเหนือภาวะดังกล่าวได้..

Monday, December 14, 2009

SWOT Analysis & Making Scenario Planning

SWOT Analysis and Making Scenario Planning เป็นหัวข้อที่ผู้เขียนไปบรรยายมาไม่นานนัก แต่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญต่อธุรกิจ และน่าสนใจทั้ง 2 เรื่อง
แล้วจะมาเล่าให้ฟังต่ิอว่าสนุกและสำคัญอย่างไรครับ




Friday, December 4, 2009

วิเคราะห์ทัศนภาพ(Scenario Analysis) คือคำตอบ

"......คนส่วนมากเก่งวิเคราะห์บทเรียนจากอดีต แต่ถามว่าโลกข้างหน้ามาจากสิ่งที่เป็นข้างหลังมากน้อยขนาดไหน หลายอย่างที่เกิดขึ้นวันนี้ทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ วิกฤติเศรษฐกิจไม่ซ้ำหน้า หรือปัญหาการเมือง ไม่มีบทเรียนข้างหลัง ถึงเวลาต้องฝึกคนให้มองไปข้างหน้า กล้าที่จะไปก่อน กล้าที่จะเป็นผู้นำ รู้จักอ่านเกมให้ขาด และเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า”
...... ในมุมมองแม่ทัพ SCG chemicals"
จากกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 2 ธันวาคม 2552 http://www.bangkokbiznews.com

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำพูดข้างต้นทั้งหมด
1.อาจจะไม่จริงครับที่บอกว่าคนของเราเก่งการวิเคราะห์บทเรียนจากอดีตเพราะ นร. นศ. ของประเทศไทยในปัจจุบันขาดความสามารถทางการวิเคราะห์ และสอบตกกันอย่างมาก ยิ่งผู้เขียนเจอหลาย ๆ ธุรกิจในการวิเคราะห์ทางกลยุทธอดีตก็วิเคราะห์ไม่เก่ง ปัจจุบันและอนาคตยิ่งไม่ต้องพูดถึง
แต่คงอาจจะเป็นจริงเฉพาะองค์กรของผู้ที่ให้สัมภาษณ์ ก็ได้หากสามารถวิเคราะห์อดีตได้แต่วิเคราะห์อนาคตไม่เป็น

2.ในการวิเคราะห์ทัศนภาพ(Scenario Analysis) เป็นการ มองอนาคตก็จริงแต่ก็ต้องวิเคราะห์อดีตเก่งด้วย
-อดีตเป็นบทเรียนสอนไม่ให้เราทำผิดซ้ำเดิม
เช่น เราพบว่าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาตินับจากแผน 8 เป็นต้นมาจะมีแต่กรอบยุทธศาสตร์ และแผนยุทธศาสตร์หลักไม่ชัดเจน กลายเป็นแผนยุทธศาสตร์เฉพาะกิจ หรือ มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจกระแสรองในแผนชาติแต่ละรอบ
ผลทำให้การพัฒนาประเทศไม่ไปไหนย่ำอยู่กับที่

-ขณะที่ทิศทางการพัฒนาประเทศไม่ชัดเจนเพราะ วิสัยทัศน์ของประเทศไทยไม่มีความชัดและเป็นที่ยอมรับในทุกมิติของประเทศ และไม่แน่ใจว่ามีหรือไม่ มีอย่างไร หาคนบอกยาก และไม่ได้กลายเป้นสิ่งที่คนทั้งชาติจะยึดถือปฏิบัติ
อีกทั้งปัญหาหลักของชาติคือการขาด"ผู้นำ" ที่จะมีภาวะผู้นำในการขับเคลื่อน หรือ แก้ปัญหา เหลียวไปมอง ผู้นำองค์กรเอกชนก็ไม่กล้าชี้นำการพัฒนาประเทศได้แต่่วิจารณ์หรือแค่ให้ความเห็น หรือชุกภายใต้ปีกของ สภาอุตสาหกรรมฯ ที่รอแต่ว่ารัฐบาลจะให้ทิศทางอย่างไร

ผลจึงไม่มีใครมาร่วมมือกันอย่างจริงจังในการพัฒนาประเทศเพราะต่างคิดว่าธุระไม่ใช่

นั่นคือ ปัจจุบันที่กำลังกลายเป็นอดีตที่ต้องทำความเข้าใจ ไม่มีทางเลยครับที่ไม่วิเคราะห์อดีต แล้วจะก้าวไปข้างหน้าได้

แล้วการมองอนาคต ก็ต้องอาศัยข้อมูลจากอดีต และเครื่องมือในอดีตหรือปัจจุบันที่จะทำนายอนาคต คงไม่มีใครหาเครื่องมือในอนาคตมาบอกอนาคตได้

สิ่งที่เป็นอนาคตมีอยู่ 2 อย่างเท่านั้นคือ อนาคตที่เกิดขึนอย่างแน่นอน (แล้วเราตรวจจับได้) กับอนาคตที่เกิดขึ้นแต่เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และยากที่จะตรวจเจอ แต่ก็พยายามวิเคราะห์ให้รอบคอบที่สุด

ตย. กรณีมาตาพุด ที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งระงับชั่วคราว 65 โครงการ ถ้าอุตสาหกรรมไทยที่ทำโครงการดังกล่าวมองอนาคตได้ดี คงไม่เกิดปัญหา และถ้าวิเคราะห์อดีตเก่งก็ต้องรู้อยู่แล้วว่า สิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นรุนแรงมากยิ่งขึ้น และในอดีตเราก็มีปัญหาเรื่องนี้มาอย่างยาวนานแล้วไม่ใช่เพิ่งมี

แสดงให้เห็นว่าไม่ได้เก่งทั้งวิเคราะห์อดีต และคาดการณ์อนาคต ตามที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวอ้างไว้ข้างต้น

ด้วยความเคารพผู้เขียนเห็นด้วยบางส่วนแต่ไม่เห็นด้วยทั้งหมด หากให้ชี้ความเห็นประเด็นที่เป็นปัญหาคือ ธุรกิจไม่มีเครื่องมือที่ดีในการทำให้คนมองหรือวิเคราะห์อนาคต หรือ ผู้นำองค์กรอาจจะรู้แต่ไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจังในเครื่องมือดังกล่าว เพราะเราไม่เก่งทั้งการคิดวิเคราะห์ และใช้เครื่องมือทางกลยุทธที่ถูกต้อง ..การวิเคราะห์ทัศนภาพ เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้แต่ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ให้เป็น